วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

ความหมายของบุคลิกภาพ


 แนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ


ความหมายของบุคลิกภาพ

         คำว่า บุคลิกภาพ” เป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายจนเกือบกล่าวได้ว่าแต่ละบุคคลที่ใช้คำว่าบุคลิกภาพ” สำหรับนักจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับ บุคลิกภาพ” มีความจำเป็นที่จะใช้คำจำกัดความของคำว่าบุคลิกภาพที่ตนเองเลื่อมใสด้วย

         บุคลิกภาพ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Personality มาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ Persona (Per Sonar) ซึ่งหมายถึง Mask แปลว่าหน้ากากที่ตัวละครใช้สวมใส่ในการเล่นเป็นบทบาทแตกต่างกันไปตามได้รับ

         ความหมายหรือคำจำกัดความของคำว่า บุคลิกภาพ” ที่ยอมรับโดยทั่วไป คือคุณลักษณะ ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลแสดงออกโดยพฤติกรรมที่บุคคลนั้นมีต่อสิ่งแวดล้อมที่ตนกำลังเผชิญอยู่ และพฤติกรรมนี้จะคงเส้นคงวาพอสมควร สำหรับแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพที่จะกล่าวถึงเฉพาะแนวความคิดที่ได้รับความนิยมมีดังต่อไปนี้


1.แนวความคิดตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ ซักมัน ฟรอยด์ 

ฟรอยด์ ซักมัน ฟรอยด์  เป็นจิตแพทย์ชาวเวียนนา ฟรอยด์ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพไว้ดังต่อไปนี้
โครงสร้างของบุคลิกภาพ ฟรอยด์เชื่อว่าบุคลิกภาพของมนุษย์นั้นแบ่งเป็น 3 ส่วน
       1.อิด
       2.อีโก้
       3.ซูเปอร์อีโก้
ความสัมพันธ์ระหว่างกันและผสมผสานกันบุคคลที่มีบุคลิกภาพปกตินั้นเกิดจากการทำงานของอิด อีโก้ และซูเปอร์ที่เป็นไปอย่างสมดุลกัน กล่าวคือ อิดกับอีโก้จะทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่าง ส่วนอีโก้ทำหน้าที่ประสานการทำงานของระบบทั้งหมด อิดแสวงหาความสุขความพอใจให้แก่ตนเอง ซูเปอร์อีโก้เป็นการควบคุมให้เกิดการกระทำในสิ่งที่ดี อีโก้เป็นส่วนที่ทำให้บุคลิกมีชีวิตอยู่ในสังคมเพื่อรับผิดชอบสิ่งต่างๆ
ขั้นพัฒนาการของบุคลิกภาพ ฟรอยด์ได้แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพของมนุษย์ออกตามวัย ฟรอยด์เชื่อว่าพัฒนาการทางบุคลิกภาพเด็กแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของร่างกายโดยร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงบริเวณแห่งความพึ่งพอใจเป็นระยะๆ
ฟรอยด์ได้แบ่งพัฒนาการเป็น 5 ระยะได้แก่
      1.ขั้นปาก ช่วงอายุแรกเกิด - 12 หรือ 18 เดือน ความสุขและความพึ่งพอใจของเด็กจะอยู่ที่ปาก
      2.ขั้นทวารหนัก ช่วงอายุตั้งแต่ 1 หรือ 1 ½ -3 ขวบ ความสุขและความพึ่งพอใจของเด็กจะอยู่ที่บริเวณทวารหนัก
      3.ขั้นเพศ ช่วงอายุ 3-5 ขวบ ความสุขและความพึงพอใจของเด็กจะอยู่บริเวณอวัยวะเพศ
      4.ระยะแฝง ช่วงอายุระหว่าง 6-13 ปี เป็นระยะที่เด็กกดความพึงพอใจทางเพศไว้จะไม่มีบริเวณใดในส่วนต่างๆ
      5.ขั้นพัฒนาการทางเพศ ช่วงตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป เป็นระยะที่เด็กกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะทางเพศ
ฟรอยด์เชื่อว่าพัฒนาการทางบุคลิกภาพจะไม่มีอีกต่อไปเมื่อมนุษย์อย่างเขช้าสู่วัยผู้ใหญ่ คืออายุประมาณ 20 ปี หรือถ้ามีการพัฒนาก็จะมีน้อยมากำ ขั้นของพัฒนาการที่สำคัญที่สุดก็คือ ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3

2.แนวความคิดตามทฤษฎีบุคลิกภาพของอีริคสัน อีริค อีริคสัน
       

       มีความคิดเห็นว่าอีโก้ มีความสำคัญมากกว่าอิด และซูเปอร์อีโก้ ในการพัฒนาบุคลิกภาพนั้นอีโก้จะเป็นตัวหกลางระหว่างมนุษย์กับสังคม บุคลิกภาพของบุคคลจะมีการพัฒนาตลอดชั่วชีวิตไม่ใช่สิ้นสุดลงในวัยรุ่นเหมือนกับทฤษฏีของฟรอยด์ อิทธิพลที่สำคัญที่สุดคือการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมหรือการมีความสัมพันธ์กับบุคลิกอื่นๆอีริคสันได้จำแนกพัฒนาการทางบุคลิกภาพของมนุษย์เป็น 8 ขั้น
ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจหรือความไม่ไว้วางใจผู้อื่น ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต ในช่วงนี้ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่จากพ่อแม่ เด็กจะพัฒนาความรู้สึกไว้วางใจผู้อื่นซึ่งจะทำให้เด็กไว้วางใจตนเองและโลกภายนอกด้วย
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองหรือความละอาย สงสัย ในช่วงขวบปีที่ 2 ของชีวิต ถ้าเด็กมีโอกาสสำรวจและลงมือกระทำสิ่งต่างๆ เข้าก็จะพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง
ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่มหรือความรู้สึกผิด ช่วงเวลา 3-5 ขวบซึ่งตรงกับขั้นพัฒนาการทางเพศ ของฟรอยด์ ใ นช่วงนี้ถ้ามีการกระตุ้นให้เด็กได้แสดงความสามารถที่มีอยู่ออกมาอย่างมีเป้าหมายและทิศทางที่แน่นอน
ขั้นที่ 4 ความขยันหมั่นเพียรหรือความรู้สึกมีปมด้อย ในช่วงอายุ 6-11 ปี เด็กจะสนใจและเอาใจใส่กับการศึกษาเล่าเรียน รู้จักปฏิบัติตนตามกฎเกณฑ์ต่างๆ
ขั้นที่5 ความมีเอกลักษณ์ของตนเองหรือความสับสนไม่เข้าใจตนเอง ในช่วงอายุ 12-19 ปี ช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงที่เด็กมีบทบาทต่างๆ สร้างเอกลักษณ์ให้กับตัวเอง
ขั้นที่ 6 ความรู้สึกผูกพันและการแยกตัว เป็นช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นช่วงของการมีเพื่อนร่วมงาน เพื่อนต่างเพศ การมีความรักความผูกพันกับผู้อื่น
ขั้นที่ 7 ความรู้สึกรับผิดชอบแบบผู้ใหญ่หรือความเฉื่อยชา เป็นช่วงวัยกลางคนเป็นช่วงของการมีความรักผิดชอบในตนเองและรับผิดชอบต่อผู้อื่น
ขั้นที่ 8 ความรู้สึกมั่งคงในชีวิตและความสิ้นหวัง เป็นช่วงที่บุคคลเข้าสู่วัยชรา ในระยะนี้บุคคลจะคิดถึงอดีตที่ผ่านมาคิดถึงความสมหวังหรือความล้มเหลวในหลายด้าน มีความรู้สึก สิ้นหวัง ท้อแท้ เป็นขั้นสุดท้ายซ่องอยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่




3 ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของ แฮรี่ สแต็ค ซัลลิแวน (Harry Stack Sullivan)

       เป็นจิตแพทย์ที่ใช้ในการบำบัดรักษาคนไข้โดยวิธีจิตวิเคราะห์ ต่อมาก็ได้เปลี่ยนวิธีการบำบัดรักษาโดยเน้น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล Interpersonal Theory โดยมีความเห็นว่าตลอดเวลาที่มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่นั้นจำเป็นต้องมีความสัมพันธภาพกับสิ่งแวดล้อมและสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นนั้นคือรากฐานของบุคลิกภาพทั้งนี้เพราะคนเราเกิดมาไม่สามารถอยู่ได้โดยลำพังต้องเกี่ยวข้องความสัมพันธ์กับบุคคลตั้งแต่มารดาเป็นต้นไป
แฮรี่ สแต็ค ซัลวิแวน (Harry Stack Sullivan) เชื่อว่าบุคลิกภาพของคนเป็นผลมาจากสังคมไม่ว่าจะเป็นมโนมติเกี่ยวกับตัวเอง (Self-Concept) ซัลลิแวนชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของบุคคลกับสังคมในระยะต่างๆ ของชีวิตซึงมีผลต่อบุคลิกภาพและการเติบโตดังนี้ 
   1. ระยะวัยทารก เริ่มตั้งแต่ แรกเกิดถึง 2 ปี วัยนี้เป็นวัยแห่งความต้องการความสบายกาย ความพอใจของเด็กจะอยู่ที่การใช้ปากดูด อม และมีปฏิกิริยาแบบเดียวกับที่ผู้ใหญ่ให้ปฏิบัติต่อตนโดยตรง เช่น ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูลูกด้วยความเครียด เด็กก็จะเป็นเด็กที่งอแง เพราะมีความเครียดไปด้วย เป็นต้น
   2. ระยะวัยเด็กตอนต้น คือ ระยะตั้งแต่ ประมาณ 2-4 ปี ระยะนี้เด็กจะเริ่มเรียนรู้ภาษา เริ่มพูดได้ เดินได้ก็เริ่มที่จะเรียนรู้ว่า ทำอย่างไรจะทำให้ผู้ใหญ่รักตนเอง
   3. ระยะวัยเด็ก อายุ 4-11 ปี เด็กวัยนี้ จะเริ่มปลีกตัวออกจากพ่อแม่และสนใจที่จะไปร่วมกิจกรรมกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะกับเพื่อนวัยเดียวกัน เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการแข่งขัน การร่วมมือ และรู้จัดควบคุมพฤติกรรม
   4. ระยะอย่างเข้าสู่วัยรุ่น มีอายุประมาณ 11-13 ปี เด็กวัยนี้ ตองการมีเพื่อนเพศเดียวกัน ระยะนี้เป็นวัยเหมาะต่อการอบรมสั่งสอนให้เรียนรู้จริยธรรมและวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมที่ดีงามต่อไป
  5. ระยะวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี เด็กเริ่มที่จะมีความสัมพันธ์กบเพื่อนต่างเพศ ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูเด็กแบบเก็บกด มากเกินไปอาจทาให้เด็กมีพฤติกรรมแสดงออกทางรักร่วมเพศได้
   6. ระยะวัยรุ่นตอนปลาย อายุ 17-20 ปี เด็กวัยนี้จะสนใจทากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเพศตรงข้าม เหมือนในวัยผู้ใหญ่ ควรฝึกนิสัยความรับผิดชอบและสำนึกในหน้าที่ การเรียนรู้สิทธิและวิธีสนองความพอใจที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์
   7. ระยะวัยผู้ใหญ่ อายุ 21 ปี ขึ้นไป ระยะนี้เป็นวัยที่บุคคลมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ รู้จัดมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นคนมีเหตุผลจะเห็นว่าซัลแวนมีความเชื่อมั่งว่า การพัฒนาบุคลิกภาพในเยาว์วัยมีความสำคัญมากและเป็นวัยที่กำหนดชี้แนวทางพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลในอนาคต อีกทั้งเป็นวัยที่เริ่มรู้จักโลกอันสลับซับซ้อนและเริ่มมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นมากขึ้น


4.แนวความคิดตามทฤษฏีจิตวิทยาเชิงวิเคราะห์ของจุง (Jung’s Personality Theory)


       เป็นบุคคลหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับ ซิกมันด์ ฟรอยด์ และยอมรับแนวความคิดของฟรอยด์ที่ว่าพฤติกรรมของคนเราเกิดจากแรงจูงใจของจิตใต้สำนึก แต่ไม่เหมือนกับแนวความคิดของฟรอยด์ จุงเชื่อว่าเป็นเรื่องอำนาจ อภินิหาร ความฝัน และจิตวิญญาณ และเน้นว่าแต่ละบุคคลพยายามจะพัฒนาศักยภาพของเขาอย่างเต็มที่จุงไม่เห็นด้วยกับฟรอยด์ในเรื่องส่วนประกอบขั้นพื้นฐานของบุคลิกภาพ จุง ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพไว้ 2 ประเด็น คือ
             1.โครงสร้างบุคลิกภาพ    2.ลักษณะบุคลิกภาพ
1. โครงสร้างบุคลิกภาพ จุงเรียกโครงสร้างบุคลิกภาพที่เรียกว่าจิต ประกอบด้วยระบบต่างๆ ทำงานร่วมกัน ได้แก่
          1.1 อีโก้ คือ จิตสำนึก (Conscious Ego) ประกอบด้วย การจำได้ การรู้สติมีสัมปชัญญะ รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรู้จักเอกลักษณ์แห่งตน
     1.2 จิตใต้สำนึกของบุคคล (The Personal Unconscious) อยู่ในจิตสำนึก ที่ถูกเก็บกดไว้และสามารถดึงขึ้นมาใช้ในจิตสำนึกได้ เป็นประสบการณ์ที่สับเปลี่ยนไปมา ถ้าความรู้สึกนึกคิดในจิตใต้สำนึกรวมกันเป็นหมวดหมู่ที่รวมกันเป็น เรียกว่า ปม (Complex) เช่น การเกิดปมแม่อยู่ในจิตใต้สำนึกของผู้ชาย ปมนี้ย่อมจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและบุคลิกภาพของเขาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งทางบวกและทางลบ ตัวอย่าง เช่น ชายที่เลือกแต่งงานกับหญิงที่มีลักษณะบุคลิกภาพคล้ายแม่ของตน แสดงว่าชายผู้นี้มีปมแม่อยู่ในจิตไร้สำนึกของเขาซึ่งมีอิทธิพลต่อการเลือกคู่ครองด้วย
       1.3 จิตไร้สำนึกสะสม (The Collective Unconscious) เป็นส่วนของความจำที่หรือพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ที่เก็บมาสะสมกันมาหลายชั่วอายุคนและถ่ายทอดจนถึงปัจจุบัน เช่น มนุษย์ทุกคนได้รับประสบการณ์ที่เคยมีความสัมพันธ์กับแม่ที่ฝั่งยูในพลังจิต และจะถูกถ่ายทอด และสร้างเป็นรูปแบบในสมองมนุษย์ตั้งแต่อดีตกาลเป็นต้นมา อย่างที่ฝังอยู่ในสมองแล้วมนุษย์จึงสามารถรับรู้และมีความโน้มเอียงที่จะแสดงพฤติกรรมเช่นนั้น เช่น มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะกลัวความมืด กลัวงู และต้องการอำนาจ เป็นต้น
          1.4 หน้ากาก (Persona) เป็นภาวะที่บุคคลแสดงออกตามสถานการณ์ที่สังคมกำหนดให้ซึ่งเปรียบเสมือนที่พบเห็นหรือบุคคลที่มาติดต่อเกี่ยวข้อง หากหารแสดงบทบาทเช่นนี้มีความขัดแย้งกับบุคลิกลักษณะนิสัยที่แม้จริงของตนอย่างมาก บุคคลนั้นจะขาดความเป็นตัวของตัวเอง ถ้าเป็นมามกๆ ก็จะมีความรู้สึกว่าตัวเองมีบุคลิกแบบแล่นละครหลอกตัวเองและผู้อื่นตลอดเวลา
        1.5 เงา (Shadow) คือส่วนของจิตไร้สำนึกรวมที่สัตว์กับมนุษย์มีเหมือนกันและเป็นส่วนที่ถูกเก็บไว้ในจิตไร้สำนึก เช่น ความก้าวร้าว ความต้องการ ได้รับการตอบสนองจากแรงขับทางเพศ เป็นต้น
2. ลักษณะบุคลิกภาพของความเป็นหญิงและชาย ตามแนวทัศนะของจุง เชื่อว่าผู้ชายผู้หญิงทุกนะมีส่วนประกอบของเพศตรงข้ามอยู่ในตัว
ลักษณะบุคลิกภาพ ตามแนวทัศนะของจุง แบ่งบุคลิกภาพมนุษย์ออกเป็น 3 แบบคือ
         1.แบบเก็บตัว (Introvert) เป็นลักษณะที่บุคคลที่แนวโน้มที่ชี้อาย ไม่ชอบเข้าสังคม หลบหน้าผู้อื่น สนใจแต่โลกภายในของตนมากกว่าที่จะปรับตัวให้เข้ากับสังคมภายนอก
         2.แบบแสดงตัว (Extrovert) เป็นลักษณะของคนที่ตรงกันข้ามกับประเภทแรกคือ คนที่มีลักษณะชอบออกสังคม นิสัยเปิดเผย รู้จักผ่อนปรนบุคลิกภาพในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้
          3. บุคลิกภาพแบบกลางๆ (Ambient) เป็นพวกที่ไม่เก็บตัวหรือแสดงตัวมากเกินไป เข้าสังคมบ้าง แต่ไม่บ่อยจนเกินไป
   


5.แนวความคิดตามทฤษฏีจิตวิทยารายบุคคล อัลเฟรด แอดเลอร์  


       อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) เป็นจิตแพทย์ที่ได้ค้นคว้าและพัฒนาบุคลิกภาพขึ้นมาใหม่ เรียกว่า จิตวิทยาปัจเจกชน เชื่อในอิทธิพลของสังคม ชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมของบุคคลจะเป็นอย่างไรนั้นถูกกำหนดโดยสังคมรอบตัว เช่น เศรษฐกิจ การเมือง ประเพณีวัฒนธรรม วิธีการเลี้ยงดูบุตร
แอดเลอร์ มีความเชื่อว่า บุคคลโดยพื้นฐานแล้วถูกจูงใจโดยปมด้อย บุคคลบางคนมีความรู้สึกเป็นปมด้อย เมื่อมีร่างกายพิการและมีความต้องการที่จะทำการชดเชยปมด้อยเหล่านั้น ความรู้สึกที่ตนเองมีปมด้อยทำให้เกิดแรงขับที่เรียกว่า ปมเด่น ส่วนความรู้สึกเป็นปมด้อย  แอดเลอร์ กล่าวว่าบุคคลมีความพิการทางร่างกายมีความพยายามที่จะหาทางชดเชยความบกพร่องของตนเอง โดยการฝึกอบรมอย่างเร่งรีบ แอดเลอร์ยังมีความเชื่อว่า ปมด้อยมิได้เกิดจากความพิการในตัวของมัน ที่ทำให้เกิดแรงมานะพยายามที่จะเอาชนะปมด้อย แต่ที่จริงแล้วเกิดจากเจตคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งนั้น
แอดเลอร์ ได้กล่าวว่า โครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคลเกิดขึ้นจากเป้าหมาย 2 ชนิด
         1.พยายามปรับตัวให้เข้ากับสังคม (Social Adaptation)
         2.พยายามทรงไว้ซึ่งอำนาจ(Attainment of Power)


6.แนวความคิดตามทฤษฏีของโรเจอร์


       แนวคิดที่สำคัญ โรเจอร์สเชื่อว่า มนุษย์มีธรรมชาติที่ดีมีแรงจูงใจในด้านบวก เป็นผู้ที่มีเหตุผล (Rational) เป็นผู้ที่สามารถได้รับการขัดเกลา (Socialized) สามารถตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ ถ้ามีอิสระเพียงพอ และมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ (Full Potential) และพัฒนาไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมกับ ความสามารถของแต่ละบุคคล อันจะนำไปสู่การตระหนักรู้ในตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization)
โครงสร้างบุคลิกภาพของคนเราตามทัศนะของโรเจอร์ประกอบด้วยตัวตน 3 แบบดังนี้
              1.คติตัวตนที่มองเห็น     2.ตัวตนที่เป็นจริง    3.ตัวตนตามอุดม
บุคลิกภาพทีมีความสมบูรณ์แบบจะมีคุณลักษณะดังนี้
  1.เป็นผู้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ
   2.มีความไว้วางใจตนเอง    
   3.มีลักษณะสร้างสรรค์
          4.มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าคนอื่น



7.
แนวความคิดตามทฤษฏีบุคลิกภาพของฮอร์นาย คาเรน ฮอร์นาย

       แนวความคิดของ Karen Horney คาร์เรน ฮอร์เนย์ นักจิตวิเคราะห์ คาร์เรน ฮอร์เนย์ ได้อธิบายว่ามนุษย์มีความต้องการดังนี้     ความต้องการใฝ่สัมพันธ์และการยอมรับยกย่อง ความต้องการที่ไม่แยกแยะ การที่ทำให้ผู้อื่นพอใจและให้เขายอมรับตนเอง (affection and approval)
  •       ความต้องการคู่ และต้องการให้มีผู้ที่ดูแลคุ้มครองตนเอง ต้องการความรัก (partner)
  •       ความต้องการจำกัดตนเองในวงแคบ ให้มีคนคอยสั่ง (restrict one's life to narrow borders)
  •       ความต้องการอำนาจ ที่จะควบคุมผู้อื่น ( need for power, for control over others)
  •       ความต้องการมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น ( to exploit others and get the better of them)
  •       ความต้องการการยอมรับทางสังคม ความภาคภูมิใจ (social recognition or prestige)
  •       ความต้องการได้รับการชื่นชมโดยส่วนตัว ต้องการเป็นคนสำคัญ มีค่า (personal admiration)
  •       ความต้องการความสำเร็จ ต้องการเป็นที่ 1 (personal achievement.)
  •       ความต้องการความเป็นอิสระ (self-sufficiency and independence)
  •       ความต้องการความสมบูรณ์สุด (perfection and unavailability)

คาร์เรน ฮอร์เนย์  ได้เสนอว่ามนุษย์แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ตามพื้นฐานของความวิตกกังวลและอาการทางจิตประสาทของมนุษย์ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้
                1.การเข้าหาคน (พวกยอมคน) Compliance ได้แก่ ความต้องการที่ 1 ,2 และ 3
                2.การพุ่งเข้าใส่คน (พวกก้าวร้าว) Aggression ได้แก่ ความต้องการที่ 4-8
                3.การหลีกหนีคน (พวกใจลอย) Withdrawal ได้แก่ ความต้องการที่ 9,10 และ 3
ฮอร์เนย์พบว่า ไทป์ย่อยในกลุ่มต่าง ๆ เช่น
  • กลุ่มก้าวร้าว มีคนอยู่สามประเภทคือ  คนหลงตัวเอง  มนุษย์สมบูรณ์แบบ คนจองหอง
  • กลุ่มใจลอย แบ่งกลุ่มย่อย คือ กลุ่มบุคลิก ชอบถอนตัว ชอบต่อต้าน
  • กลุ่มยอมคน แบ่งย่อยออกเป็น 3 กลุ่มย่อยอีกคือ พวกรักสนุก  พวกทะยานอยาก  พวกปรับตัว


8.แนวความคิดตามทฤษฏีของฟรอม อีริค ฟรอม

      แนวคิดที่สำคัญ แนวคิดของฟรอมม์สะท้อนให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลจากความคิดของคาร์ล  มาร์กซเป็นอย่างมาก  โดยฉพาะจากหนังสือชื่อ ที่เขียนในปี1944  และหนังสือที่เขาเขียนพาดพิงเกี่ยวพันกับความคิดของมาร์กซ์โดยตรงมีหลายเล่มเช่น ฟรอมม์เปรียบเทียบความคิดของฟรอยด์กับมาร์กซ์และแสดงความชื่นชมความคิดของมาร์กซ์มากกว่าความคิดของฟรอยด์ จนฟรอมม์ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นนักทฤษฎีบุคลิกภาพแบบมาร์กซ์
มีเชื่อว่าบุคลิกภาพเกิดจากความสำเร็จหรือความล้มเหลวของสังคมในการที่จะตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคล 
ความต้องการที่เป็นพื้นฐานสำคัญของบุคลิกภาพแบ่งได้ 5 ประเภทดังนี้
        1.ความต้องการมีสัมพันธภาพ เนื่องจากมนุษย์พบกับความอ้างว้างเดี่ยวดายจึงต้องแก้ไขโดยการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
        2.ความต้องการสร้างสรรค์ เป็นความต้องการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของชีวิตให้แตกต่างจากสัตว์โลกชั้นต่ำ
        3.ความต้องการมีสักกัด       เป็นความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโลก สังคม ครอบครัว
        4. ความต้องการมีเกลักษณ์      เป็นความต้องการเป็นตัวของตัวเอง รู้ว่าตนเองคือใคร
        5.ความต้องการมีหลักยึดเหนี่ยว    เป็นความต้องการที่จะมีหลักสำหรับอ้างอิงความถูกต้องในการกระทำของตน
ลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลในสังคมเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
  • .    บุคลิกภาพประเภทไม่สร้างสรรค์ มีลักษณะเช่น ชอบทำลาย มีความก้าวร้าวสูง ชอบท้าทาย เป็นนักธุรกิจ ชอบเก็บของแล้วขายต่อ
  • .     บุคลิกภาพประเภทสร้างสรรค์  มีลักษณะกระตือรือร้น



9.แนวความคิดตามทฤษฏีการวิเคราะห์การสื่อสาร อิริค เบอร์น

ประวัติ
       อีริค เบิร์น(Eric Berne) เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1910 ที่เมืองมอนทรีอัล คิวเบค ประเทศแคนนาดา เดิมชื่อว่า เลนนาร์ด เบิร์นสไตลน์ พ่อของเบิร์น เดวิด ฮิลเลอร์ เบิร์นสไตน์ เป็นหมอ ส่วนแม่ของเบิร์น ซารา กอร์ดอน เบิร์นสไตน์ มีอาชีพเป็นนักเขียน เบิร์น มีพี่น้องคนเดียวคือ เกรซ น้องสาวซึ่งมีอายุน้อยกว่าเขา 5 ปี พ่อแม่ของเบิร์นอพยพมาจากรัสเซียและโปแลนด์. ทั้งพ่อและแม่ของเบิร์น จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์, อีริค ซึ่งสนิทกับพ่อของเขามาก, ได้เล่าถึงการเป็นผู้ช่วยพ่อดูรักษาผู้ป่วย. คุณหมอเบิร์นสไตน์เสียชีวิตด้วยวัณโรคด้วยวัย 38 ปี. แม่ของเบิร์นของเสาหลักของครอบครัวหลังพ่อเขาเสียชีวิต เธอสนับสนุนให้เบิร์นเรียนด้านแพทย์เพื่อดำเนินรอยตามคุณหมอเบิร์นสไตน์พ่อของเบิร์น. เบิร์น จบแพทยศาสตร์ และศัลยศาสตร์จากวิทยาลัยการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ในปี 1935.       
แนวคิดที่สำคัญ
        ภาวะตัวตน(EGO STATES) และความสัมพันธ์ (TRANSACTIONS)
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นที่มาของความสัมพันธ์(Transactions). ความสัมพันธ์หนึ่งๆจะแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ สิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response).
โดยปกติแล้วความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์โดยรวม. แต่ละด้านของความสัมพันธ์หรือผลของความสัมพันธ์อาจอยู่ในรูปของความสัมพันธ์ทางตรงไปตรงมา มีประสิทธิภาพ เหมาะสม หรืออ้อมค้อม สูญเปล่าและไม่เหมาะสม.
เมื่อบุคคลมีปฏิสัมพันธ์ พวกเขาจะแสดงในรูปของสภาวะตัวตน(Ego State) 3 ประเภทซึ่งแตกต่างกันไป. สภาวะตัวตนชัดเจนของความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม และสภาวะอัตตาแต่ละอย่างมีแหล่งที่มาจากแต่ละส่วนของสมอง. บุคคลสามารถแสดงพฤติกรรมจากสภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ (Parent Ego State). สภาวะตัวตนของเด็ก(Child ego State) หรือจาก สภาวะตัวตนของผู้ใหญ่ (Adult ego State). เช่นเดียวกัน พฤติกรรมของเราก็มาจากสภาวะตัวตนอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างนี้.
       สภาวะตัวตนแบบเด็ก(Child Ego State)
เมื่อเราอยู่สภาวะตัวตนแบบเด็ก เราจะแสดงออกเหมือนเด็ก. ไม่ใช่แค่แสดงออกเท่านั้น เราจะคิด รู้สึก มอง ได้ยิน และตอบสนองราวกับเด็กอายุสามขวบ ห้าขวบ หรือแปดขวบ. สภาวะตัวตนเกิดจากสภาวะที่บุคคลมีประสบการณ์อย่างเต็มที่ ไม่ใช่เพียงแค่บทบาทหนึ่งเท่านั้น. เมื่อเด็กมีความรู้สึกเกลียดหรือรัก ตื่นเต้น เป็นธรรมชาติ
ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์(TA) ภาวะเด็กมักจะถูกมองว่าเป็นแหล่งของความคิดสร้างสรรค์ การสร้างสิ่งใหม่ๆและการผลิตสิ่งใหม่ๆ เป็นแหล่งเดียวของการนำสิ่งใหม่ๆมาสู่ชีวิต. ภาวะตัวตนแบบเด็กสามารถสังเกตได้ในเด็กๆที่เจริญเติบโตและมีประสบกับสถานการณ์ซึ่งได้รับอนุญาตให้แสดงภาวะตัวตนแบบเด็กออกมา เช่น การเล่นกีฬา และการจัดปาร์ตี้. ภาวะตัวตนแบบเด็กจะปรากฏออกมาในช่วงเวลาสั้นๆในสถานการณ์อื่นๆ อย่างเช่น คณะกรรมการประจำชั้นเรียน การอภิปรายที่เอาจริงเอาจังซึ่งอาจไม่ได้ดั่งใจ. ในรูปแบบที่ไม่พึงปรารถนา สภาวะตัวตนแบบเด็กจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตของบุคคล ดังในกรณีขอบบุคคลที่ถูกอารมณ์อย่างได้อย่างหนึ่งรบกวนอย่างมาก อยู่ในภาวะสับสน ซึมเศร้า คุ้มคลั่ง หรือหมกมุ่น ภาวะตัวตนแบบเด็กจะผลักดันเขาไปสู่โครงสร้างตัวตนที่จำลองขึ้นในรูปของพฤติกรรมการควบคุมตนเองไม่ได้(Out-of-Control behavior). ภาวะตัวตนแบบเด็กอาจปรากฏเป็นเวลานานในรูปของ ความซึมเศร้า หรือเศร้าโศรก ดังในกรณีของคนที่ประสบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ในชีวิต.
          ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ (Parent ego State)
ภาวะตัวแบบพ่อแม่มีลักษณะตรงกับข้ามกับภาวะตัวตนแบบเด็ก. ภาวะตัวตนแบบพ่อมีจะมีลักษณะเก็บจำล่วงหน้า ด่วนตัดสิน มีอคติล่วงหน้าในการดำรงชีวิต. เมื่อบุคคลอยู่ในภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ เขาจะคิด รู้สึก และแสดงออกเหมือนพ่อแม่หรือคนที่เขาถือเป็นแบบอย่าง. ภาวะตัวแบบพ่อแม่จะตัดสินใจ ว่าจะต้องสนองต่อเหตุการณ์อย่างไร อะไรดีหรือไม่ดี และบุคคลจะดำรงชีวิตอยู่อย่างไร โดยไม่จำเป็นต้องอิงอยู่กับหลักเหตุผล. ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่อาจแสดงออกในรูปของการตัดสิน ต่อต้าน ควบคุม หรือให้การสนับสนุนก็ได้. ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ที่แสดงออกในรูปการติเตียน จะถูกเรียกว่า พ่อแม่ช่างตำหนิ(Critical Parent). ภาวะตัวตัวแบบพ่อแม่ที่แสดงออกในรูปของการสนับสนุนจะถูกเรียกว่า พ่อแม่ผู้อารีย์(Nurturing Parent).
         ภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่(THE ADULT)
เมื่ออยู่ในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่(Adult ego state) บุคคลจะแสดงออกเหมือนคอมพิวเตอร์. คอมพิวเตอร์จะทำงานตามข้อมูลที่รวบรวมได้และเก็บข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจตามโปรแกรมที่อิงตามหลักตรรกะ.เมื่ออยู่ในในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ บุคคลจะใช้ความคิดแบบตรรกะในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้แน่ใจว่าภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่และแบบเด็กไม่ระบบกวนกระบวนการ.ดังนั้น การใช้อารมณ์จึงไม่ใช่สิ่งที่ดีในความคิดของคนที่มีภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่.ในที่นี้หมายถึงการใช้เหตุผลหรือการคิดแบบตรรกะที่พวกเราต้องการที่จะแยกตัวเราเองออกจากอารมณ์ของเราเท่านั้น. ไม่ได้หมายความว่า การมีเหตุผลหรือหลักการคิดแบบตรรกะจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในทุกเวลา.


10.แนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (BEHAVIORISM)

กลุ่มพฤติกรรมนิยม (BEHAVIORISM)  เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สามารถสังเกตภายนอกได้  และเน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) แยกตัวมาจากกลุ่ม Functionalism แนวโน้ม ของกลุ่มนี้เห็นจะเปลี่ยน จากเรื่องจิตมาเป็นเรื่องของพฤติกรรมล้วน ๆ โดยเห็นว่าพฤติกรรมที่ปรากฏและ สามารถสังเกตได้เท่านั้นเป็นเรื่องสำคัญ ที่ควรศึกษาในจิตวิทยา
ผู้นำของกลุ่มคือ จอห์น บี.วัตสัน (John B. Watson, 1878 - 1958) ที่มีความคิดค้านกับแนวความคิด ของกลุ่มศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ด้วย สิ่งที่สังเกตและมองเห็นได้ นั่นก็คือ พฤติกรรมหลักของกลุ่มนี้ คือ พฤติกรรมเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าและการตอบสนอง การศึกษาสิ่งเร้า และการตอบ สนองจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมได้
 ทฤษฎีและนักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้แก่
  •  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ของจอห์น.บี.วัตสัน (John B Watson คศ.18781958)
  •  ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้าของ อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 18491936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย
  • ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operand Conditioning Theory)  ของ เบอร์รัส สกินเนอร์ (Burroughs Skinner)
  • ทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่องของ เอ็ดเวิร์ด  แอล. ธรอนไดค์
  • ทฤษฎีการเรียนรู้ของ โรเบิร์ต  เอ็ม  กาเย่ (Robert M. Gage)
  • ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจอโรม  บรูเนอร์
  • ทฤษฎีการเรียนรู้ของชาร์ค  แอล. ฮัลล์

11.ทฤษฎีมนุษย์นิยม

     ทฤษฎีมนุษย์นิยมมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ แต่ก็จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์ คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น กลุ่มทฤษฎีมนุษย์นิยม เป็นทฤษฎีที่คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์ นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง อารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก บรรยากาศในการเรียนเป็นแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์ เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎี                        
 หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎีมนุษย์นิยม คือ
       1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
       2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
       3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คือการที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด หรือมโนทัศน์ของตนเอง
 ลักษณะสำคัญ
    นักทฤษฎีกลุ่มนี้มีความเชื่อว่ามนุษย์มีอิสระที่จะเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ดีจากการสนับสนุน หรือส่งเสริมของครูผู้สอน ผู้นำความคิดที่สำคัญได้แก่ Rogers และ Maslow  ทฤษฏีนี้ เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก
การประยุกต์ใช้
การประยุกต์ใช้ของทฤษฎีมนุษย์นิยม ซึ่งครูผู้สอนเป็นผู้นำไปประยุกต์ใช้  มีข้อปฏิบัติสำคัญ ดังนี้
        1. ครูควรเป็นคนใจกว้าง ไม่ยึดติดกับความคิด หรือความเชื่อของตนเอง
        2. ครูควรรับฟังผู้เรียนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึก
        3. ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเท่ากับความสำคัญของเนื้อหาที่นำมาสอน
        4. ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะทั้งทางบวกและทางลบ
        5. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
        6. จัดการเรียน กิจกรรม สื่อการเรียนการสอนให้หลากหลาย
        7. กระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าใจว่าการประเมินผลที่มีคุณค่า คือการประเมินตนเองของผู้เรียน
นักทฤษฎีมนุษย์นิยมและแนวคิด
      ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยมมีนักปรัชญาหลายหลากท่านที่ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฏีนี้ ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆในกลุ่มนี้มี 2  ทฤษฏีและ 5 แนวคิด
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม ให้ความสำคัญของการเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลได้รับอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์(Maslow) รอเจอร์ส(Rogers) โคมส์(Knowles) แฟร์(Faire) อิลลิช(illich) และนีล(Neil)   
ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น  และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์  เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก  เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน  ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ  กล่าวว่า
นักคิดกลุ่มมนุษย์นิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์ เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล  เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี  มีความดีโดยธรรมชาติ  หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น  บริบูรณ์ด้วยความรัก  มีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม
 กล่าวโดยสรุป  ความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า  มีความดีงาม  มีความสามารถ  มีความต้องการ  และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน  หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์