วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559

ประเภทของความผิดปกติทางจิต


Schizophrenia (โรคจิตเภท)

สาเหตุ

           เกิดจากความผิดปกติของสมองบางส่วน โดยอาจขาดการกระตุ้นให้ทำงาน จากสารสื่อสารของใยประสาทในสมอง โรคจิตเภทมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งทางร่างกายนั้นเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองในการสร้างสารบางอย่างที่มีปริมาณมากหรือน้อยเกินไป ส่วนทางด้านจิตใจนั้น เกิดจากความเครียดในชีวิตประจำวันเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเจ็บป่วยขึ้น ดังนั้นหากสงสัยว่าท่านหรือผู้ใกล้ชิดมีอาการดังกล่าว ขอแนะนำให้รีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อจะได้ให้การบำบัดรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มแรก

ลักษณะอาการ

โรคจิตเภท คือ กลุ่มอาการของโรคจิต ที่มีความผิดปกติของความคิด มีลักษณะอาการแบ่งออกได้เป็น
 ประเภทคือ ลักษณะอาการทางบวก และลักษณะอาการทางลบ

กลุ่มลักษณะอาการทางบวกหมายถึง อาการที่มีเพิ่มมากกว่าคนปกติทั่วไป ได้แก่
              - ประสาทหลอน เช่นได้ยินเสียงคนพูดคุย ได้ยินเสียงคนพูดตำหนิ พูดโต้ตอบเสียงนั้นเพียงคนเดียว
              - อาการหลงผิด เช่นคิดว่ามีเทพวิญญาณอยู่ในร่างกาย คอยบอกให้ทำสิ่งต่างๆ
              - ความคิดผิดปกติ เช่นพูดไม่เป็นเรื่องเป็นราว พูดไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนเรื่องพูดโดยไม่มีเหตุผล
              - พฤติกรรมผิดปกติ เช่นอยู่ในท่าแปลกๆ หัวเราะหรือร้องไห้ สลับกันเป็นพักๆ

กลุ่มลักษณะอาการทางลบหมายถึง อาการที่ขาดหรือบกพร่องไปจากคนปกติทั่วๆไป ได้แก่
              - สีหน้าอารมณ์เฉยเมย ชีวิตไม่มีจุดหมาย ไม่มีสัมพันธภาพกับใคร ไม่พูด ไม่มีอาการยินดียินร้าย

อาการโดยรวมที่พบได้ในภาวะความเจ็บป่วยของโรคนี้ ได้แก่

              1. มองโลกผิดไปจากความเป็นจริง ผู้ป่วยโรคจิตเภทมักมองโลกผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งแตกต่างจากคนทั่วๆไป ผู้ป่วยอาจจะมีอาการวิตกกังวล
รู้สึกสับสน อาจจะดูเหินห่าง แยกตัวจากสังคม บางครั้งอาจนั่งนิ่งเป็นหิน ไม่เคลื่อนไหวและไม่พูดจาใดๆ
เป็นชั่วโมงๆ  หรืออาจเคลื่อนไหวช้า ทำอะไรช้าๆ   ผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมแปลกๆ อยู่ตลอดเวลา

                2.ประสาทหลอน ผู้ป่วยอาจคิดว่ามีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ความจริงไม่มีสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น เช่น ได้ยินเสียงคนมาสั่งให้ตนทำโน่นทำนี่ ได้ยินคนมาพูดคุยกับตน มาเตือน หรือมาตำหนิในเรื่องต่างๆ ทั้งๆ ที่ความจริงไม่มีคนพูดหรือไม่มีต้นกำเนิดเสียงเหล่านี้เลย ซึ่งเราเรียกอาการนี้ว่า "หูแว่ว" ผู้ป่วยบางคนอาจมองเห็นคน ผี หรือสิ่งของต่างๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่มีสิ่งเหล่านี้และไม่มีใครเห็นเหมือนผู้ป่วย เราเรียกอาการนี้ว่า "เห็นภาพหลอน"

               3.ความคิดหลงผิด  ความคิดหลงผิดเป็นความเชื่อของผู้ป่วยที่ผิดไปจากความเป็นจริงและไม่ได้เป็นความเชื่อในวัฒนธรรมของผู้ป่วย ซึ่งความคิดหลงผิดในผู้ป่วยจิตเภทนี้มักจะแปลกประหลาดมาก เช่น เชื่อว่าพฤติกรรมของเขาหรือของคนอื่นๆถูกบังคับให้เป็นไปด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากต่างดาว เชื่อว่าความคิดของตนแพร่กระจายออกไปให้คนอื่นๆที่ไม่รู้จักรับรู้ได้ว่าตนคิดอะไรอยู่ หรือเชื่อว่าวิทยุหรือโทรทัศน์ต่างก็พูดถึงตัวผู้ป่วยทั้งๆที่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น

                 4.ความคิดผิดปกติ  ผู้ป่วยจะไม่สามารถคิดแบบมีเหตุมีผลได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยพูดคุยกับคนอื่นไม่ค่อยเข้าใจ เมื่อคนอื่นคุยกับผู้ป่วยไม่ค่อยเข้าใจก็มักจะไม่ค่อยคุยด้วย ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยถูกแยกให้อยู่คนเดียว

                 5.การแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสม  ผู้ป่วยมักจะแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสมกับเรื่องที่กำลังพูด เช่น พูดว่าตนกำลังถูกปองร้ายจะถูกเอาชีวิต ซึ่งขณะพูดก็หัวเราะอย่างตลกขบขัน (โดยไม่ใช่คนปกติที่ต้องการทำมุขตลก)พบได้บ่อยเช่นกันที่ผู้ป่วยจิตเภทจะไม่ค่อยแสดงสีหน้า หรือความรู้สึกใดๆ รวมทั้งการพูดจาก็จะใช้เสียงระดับเดียวกันตลอด ไม่แสดงน้ำเสียงใดๆ (monotone)ซึ่งอาการของผู้ป่วยจิตเภทนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื้อรังมีบ้างในบางคนที่มีอาการเพียงช่วงเวลาสั้นๆและสามารถหายเป็นปกติได้ แต่ก็มักต้องการการรักษาที่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเหมือนๆ กัน

               6.ในเรื่องของการฆ่าตัวตายการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องที่เป็นอันตรายมากสำหรับผู้ป่วยจิตเภท ถ้าผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายหรือมีการวางแผนที่จะทำอย่างนั้น ควรจะต้องให้การช่วยเหลืออย่างรีบด่วน เพราะผู้ป่วยจิตเภทมีการฆ่าตัวตายสูง
         เป้าหมายของการรักษามี ประการคือ

                 1. รักษาอาการให้หายหรือบรรเทาลง
                 2. ป้องกันไม่ให้ป่วยอีก โดยการให้ยากินติดต่อกัน หลีกเลี่ยงสาเหตุที่จะทำให้ป่วย หรืออาการกำเริบขึ้นควรสังเกตุอาการก่อนที่จะมีอาการกำเริบใหม่ เพื่อปรับการรักษาก่อนที่จะมีอาการรุนแรง
                 3. การฟื้นฟูสมรรถภาพ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่นฝึกทักษะ การใช้ชีวิตในสังคมทักษะในการประกอบอาชีพ ทักษะในการสื่อสาร

          การรักษาให้หายหรือบรรเทาอาการลง การรักษาด้วยยา เป็นวิธีการรักษาโรคจิตเภทที่สำคัญที่สุด ยาที่ใช้รีกษาโรคจิตเภทมี กลุ่มใหญ่ๆคือ
          1. ยารักษาโรคจิตเภททั่วๆไป เช่น คลอโพรมาซีน ฮอโลเพอริดอล เป็นต้น การออกฤทธิ์ส่วนใหญ่โดยปิดกั้นการทำงานของสารสื่อสารประสาท โดปามีน อาการข้างเคียง และข้อควรระวัง อาจเกิดอาการข้างเคียงได้ ขึ้นกับตัวยาและบุคคล เช่นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อผิดปกติ โดยอาจเกิดอาการกล้ามเนื้อ เกร็ง มือสั่น ตัวแข็ง คอแข็งได้ อาจแก้ไขด้วยยาแก้แพ้ อาการข้างเคียงอื่นๆที่อาจพบได้เช่น ง่วง น้ำหนักตัวเพิ่ม ซึ่งแก้ไขโดยการควบคุมอาหารและการหมั่นออกกำลังกาย เป็นต้น
           2. ยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่ เช่น โคลซาปีน ริสเพอริโดน โดยจะออกฤทธิ์ปิดกั้นการทำงานของสารสื่อสารประสาท ทั้งโดปามีนและซีโรโทนิน ซึ่งจะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีกลุ่มลักษณะทางบวก หรืออาการลบหลงเหลืออยู่หรือมีผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคจิตจากตัวอื่นๆ เช่น การเคลื่อนไหวผิดปกติ
            ข้อดีของยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่นี้ คือ
                   - ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
                   - ประสิทธิภาพดีเท่ากับหรือดีกว่ายากลุ่มแรก
                   - อาการข้างเคียงต่อการเคลื่อนไหวผิดปกติ จะน้อยลง
                   - ลดอัตราการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยได้
           การรักษาโรคจิตเภท ผู้ป่วยควรต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง ตามแพทย์สั่ง อาจต้องใช้เวลาหลายปี แต่ยาจะ
ช่วยควบคุมอาการและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กลับเข้าสู่สังคมได้ ดูแลตนเองและทำงานได้
การดูแลผุ้ป่วยให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้
                   - กระตุ้นให้รู้จักช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ซักผ้า
                    - ให้ช่วยทำงานบ้านอย่างง่ายๆ เช่นรดน้ำต้นไม้ ถุบ้าน ล้างชาม
                   - ให้ประกอบอาชีพเดิมที่เคยทำอยู่ตามความสามารถของผู้ป่วย เช่น ค้าขาย
   ทำสวน
                    - ให้ประกอบอาชีพใหม่ใกล้บ้านตามความสนใจและตามความถนัด

ญาติมีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท           ในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรกคือ ญาติต้องให้ความเข้าใจ และ เห็นใจผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยมิได้มีเจตนาจะสร้างความเดือดร้อน ความรำคาญให้กับญาติ ควรให้อภัยและไม่ถือโทษโกรธผู้ป่วย ไม่ควรขัดแย้งหรือโต้เถียงกับผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการทางจิต แต่ควรแสดงความเห็นใจในความทุกข์ที่ผู้ป่วยได้รับ
จากอาการทางจิตเหล่านั้น พร้อมทั้งเสนอความช่วยเหลือแก่เขา ซึ่งทั้งหมดต้องอาศัยความอดทนอย่างมาก
อันดับต่อไปคือให้การดูแลเรื่อง การกินยา การดูแลสุขภาพอนามัย การพาไปพบแพทย์ตามนัด และหาก
ในระหว่างอยู่บ้าน ผู้ป่วยมีอาการกำเริบขึ้น ก็ให้ขอคำแนะนำปรึกษาจากแพทย์ หรือพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ที่
สถานบริการใกล้บ้านเพื่อผู้ป่วยจะได้รับการดูแล ที่เหมาะสมต่อไป
  • ช่วยดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ครวเพิ่ม หยุด หรือลดยาเอง
  • ช่วยพาผู้ป่วยไปรับการบำบัดรักษาให้สม่ำเสมอ ตรงตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้การดูแลตัวเองได้ไม่ดีพอ
  • ถ้าผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ดูสับสน วุ่นวาย ดื้อ ไม่ยอมกินยา ไม่ยอมมาพบแพทย์ ญาติควรจะมาติดต่อกับแพทย์ เพื่อเล่าอาการของผู้ป่วยให้แพทย์ทราบซึ่งญาติจะได้รับคำแนะนำเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป
  • หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของผู้ป่วย ถ้าพบความผิดปกติ เช่น พูดพร่ำ พูดเพ้อเจ้อ พูดคนเดียว เอะอะ อาละวาด หงุดหงิด ฉุนเฉียว หัวเราะหรือยิ้มคนเดียว เหม่อลอย หลงผิด ประสาทหลอน หวาดกลัว ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที
  • จัดหากิจกรรมให้ผู้ป่วยทำโดยเฉพาะในเวลากลางวัน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยคิดมาก ฟุ้งซ่าน แต่ก็ไม่ต้องถึงกับบังคับมากเกินไป
โรคประสาท (Neurosis)

โรคประสาท (Neurosis) เป็นโรคทางจิตประเภทหนึ่ง ที่เกิดจากความผิดปกติทางจิตที่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรม และอารมณ์ให้เหมือนคนทั่วไปได้ ด้วยสาเหตุจากความวิตกกังวล ความไม่สบายใจ จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มีความขัดแย้งในจิตใจ มีความรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวล ซึ่งจะมีอาการแสดงออกตามมา โดยผู้ป่วยมักแสดงออกทั้งทางร่างกาย และจิตใจที่เห็นได้ชัด แต่ไม่รุนแรงเท่าโรคจิต ผู้ป่วยสามารถมีจิตนึกคิดตามเหตุการณ์ที่เป็นจริง รู้ตัวเองอยู่เสมอ ไม่มีอาการประสาทหลอนหรือเห็นภาพลวงตา หูแว่ว และสามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป โรคนี้สามารถเกิดได้ในทุกวัยเริ่มตั่งแต่วัยเด็กจนถึงคนสูงอายุเลยทีเดียว โรคประสาทแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ เช่น  โรคประสาทวิตกกังวล (Anxiety Neurosis) และโรคประสาทซึมเศร้า (Depressive Neurosis)

โรคประสาทแบ่งเป็นประเภทต่างๆ คือ
1. ประเภทวิตกกังวล (Anxiety Neurosis) เป็นอาการทางประสาทประเภทหนึ่งที่จิตมีอาการวิตกกังวลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป ความวิตกเหล่านี้มักเกิดในเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจมาก่อน เรื่องที่เคยทำให้เกิดความสูญเสีย เรื่องต่างๆเหล่านนั้น อาจเป็นเรื่องเดิมๆหรือเรื่องใหม่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ความวิตกในเรื่องหนึ่งๆอาจหายได้เมื่อเวลาผ่านไป แต่บางเรื่องอาจคงอยู่ในจิตใต้สำนึกนานหลายปี ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นมีผลทำให้เกิดภาวะเครียด หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น  เบื่ออาหาร มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย มักมีอาการเก็บไปฝันขณะนอนหลับ เพ้อ
2. ประเภทหวาดกลัว (Phobic Neurosis) มักเกิดขึ้นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เคยประสบกับเหตุการณ์มาก่อน จนทำให้เกิดความกลัวอย่างรุนแรงในเรื่องที่เกี่ยวข้อง รวมถึงวัตถุที่เป็นองค์ประกอบของเหตุการณ์นั้น ๆอาการหวาดกลัวจะเกิดขึ้นได้ทุกขณะ และรวดเร็วกว่าคนปกติ เมื่อสัมผัสกับเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน มีผลทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็วรัว เหงื่อออก หวาดระแวง คลื่นไส้ แต่อาการจะหายเองเมื่อเหตุการณ์ผ่านพ้นไป สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความกลัวได้ง่าย ได้แก่ การอยู่ตามลำพัง การได้รับสารกระตุ้นประสาท เป็นต้น

3. ประเภทย้ำคิดย้ำทำ (Obscessive Compulsive Neurosis) เป็นสภาวะที่เกิดจากความวิตกกังวลเป็นพื้นหลัง และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือการกระทำเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากสภาวะเหล่านั้นด้วยการกระทำแบบเดิมซ้ำๆกัน จนกลายเป็นพฤติกรรมที่ถูกปลูกฝังในจิตใจต่อการแก้ไขปัญหาของตนเองด้วยการกระทำหรือแสดงลักษณะอาการแบบเดิม โดยที่ตนเองไม่รู้ตัวหรือควบคุมตัวเองไม่ได้
4. ประเภทซึมเศร้า (Depressive Neurosis) สภาวะซึมเศร้ามักเกิดจากสภาวะจิตใจที่มีความแปรปรวน และมีความขัดแย้งภายในใจ รวมไปถึงภาวะเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสูญเสีย และเศร้าเสียใจตามมา ผู้ป่วยประเภทนี้มักคบคิดถึงเรื่องราวนั้นเป็นประจำ และไม่ลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้น ทำให้มีอาการเหม่อลอย ซึมเศร้า ชอบเก็บตัว ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ และมีอาการท้องผูก ฯลฯ
5. ประเภทบุคลิกวิปลาส (Depersonalization) เป็นโรคประสาทที่เกิดกับการครุ่นคิดเกี่ยวกับการกระทำหรือพฤติกรรมของตนเอง ที่รู้สึกเหมือนไม่ใช่ตัวเองกระทำ มักเกิดร่วมด้วยกับอาการวิตกจริต

ระบาดวิทยา

อุบัติการของโรคนี้สูงที่สุดในจำนวนความผิดปกติทางจิตทั้งหมด แต่อัตราจะแตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรมและสังคม และขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์การวินิจฉัยโรคของจิตแพทย์ด้วย การศึกษาในเมืองๆ หนึ่งของประเทศอังกฤษ พบว่าประชาชนเป็นโรคประสาทถึงร้อยละ ๔๕.๗ (Taylor และ Chave ค.ศ. ๑๙๖๔) ในประเทศไทยก็เช่นกัน จากการสำรวจของศาสตราจารย์นายแพทย์ จิระ สีตสุวรรณ และคณะ ที่อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยสุ่มสำรวจจากจำนวนประชากรชายหญิงที่อยู่ในวัยครองเรือน ๔๐๐ คน จากประชากรทั้งหมด ๑๓๑,๔๑๙ คน พบอุบัติการของโรคนี้ถึงร้อยละ ๒๓ และในผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่ โรงพยาบาลทั่วไปพบว่าเป็นโรคประสาทร้อยละ ๓๐-๔๐ ของผู้ป่วยทั้งหมด (Kolb ค.ศ. ๑๙๗๗) โรคประสาท แบบที่พบบ่อยที่สุด คือ แบบวิตกกังวล (Anxiety states) และแบบซึมเศร้า (Neurotic depression) แบบที่พบรองลงมาคือ แบบฮีสทีเรีย (Hysteria) และแบบย้ำคิดย้ำทำ (obsessive- compulsive disorders)

สาเหตุการเกิดโรค

1. สาเหตุทางพันธุกรรม และโครงสร้างของร่างกาย ที่ทำให้เกิดความบกพร่องของร่างกาย เช่น การสูญเสียอวัยวะ การพิการแต่กำเนิด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นมูลเหตุทำให้เกิดความท้อแท้ และเป็นปมด้อยในชีวิตได้
2. สาเหตุทางสังคม และการใช้ชีวิต ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วทำให้การปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ทัน การถูกตอกย้ำทางสังคมในจุดด้อยที่ตนเองมี รวมไปถึงปัญหาชีวิตในด้านต่างๆ เช่น ความยากจน การหย่าร้าง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะทางประสาทตามมา
3. สาเหตุทางชีวะเคมี ที่เกิดจากภาวะร่างกายเจ็บป่วยหรือผิดปกติจากสาเหตุต่างๆ ทำให้ร่างกายหลั่งสารเคมีต่างๆผิดปกติ มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท สมอง ส่งผลต่อการแสดงออกของพฤติกรรมของโรคทางประสาท
4. สาเหตุจากสารเสพติด ที่ผู้ป่วยมีการใช้สารเสพติดหรือสารที่มีผลต่อระบบประสาทมากเกินขนาดหรือสะสมเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการทางประสาทตามมา
5. สาเหตุทางอายุ ในวัยเด็กเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความกลัวอย่างรุนแรง เด็กมักจดจำได้นาน และเก็บฝังภายในจิตใจ รวมไปถึงจุดพร่องที่ตนเองมีในวัยเด็ก เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์เหล่านั้นก็มักจะเกิดความกลัวได้ง่ายเมื่อเปรียบเทียบกับการเผชิญเมื่อเป็นวัยผู้ใหญ่ จะก่อให้เกิดความแปรปรวนของนิสัย เช่น การกัดเล็บ การดูดนิ้วมือ การปัสสาวะรดที่นอน บางรายอาจมีการกระตุกเกร็ง และบางคนมีความรู้สึกหวาดกลัว ส่วนวัยผู้สูงอายุ มักเกิดอาการทางประสาทได้ง่ายในภาวะที่จิตใจอ่อนแอหรือรู้สึกทอดทิ้ง

อาการของโรคประสาท

อาการของโรคประสาทมีลักษณะเด่นในเรื่องของการวิตกกังวลเป็นพิเศษ และมีอาการอื่นร่วมด้วย ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการเหล่านี้ คือ
1. มีอารมณ์เครียด วิตกกังวลหรือกลัวเกินกว่าปกติ
2. ชีพจรเต้นแรง เร็ว ใจสั่น มีอาการแน่นหน้าอก อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย และปัสสาวะบ่อย
3. มีอาการเกร็งของระบบกล้ามเนื้อ มือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก
4. มักมีความคิดซ้ำซาก ย้ำคิดย้ำทำ วนไปวนมา ในสิ่งที่ตนเองกังวล และมักคิดในแง่ร้าย ร่วมด้วยอาการกลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
5. มีอาการเหม่อลอย ซึมเศร้า
6. มีอาการตกใจง่ายเมื่อมีเสียงดังหรือมีเหตุการณ์ที่น่าตกใจ

การรักษาโรคประสาท

การรักษาอาการของโรคประสาทจะเน้นที่การเปลี่ยนแปลงทางกระบวนการคิดของผู้ ป่วยเป็นหลักที่จะส่งผลต่อพฤติกรรม และความคิดให้เหมือนคนปกติทั่วไป ปัจจุบันทางการแพทย์มักใช้แนวทาง ดังนี้
1. การใช้ยา  ในระยะการรักษาขั้นต้นอาจมีการใช้ยาหากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือใช้ยาเพื่อ ลดอาการในระยะแรก ในการลดความวิตกกังวล เช่น ยาคลายเครียด ยานอนหลับ ยาบำรุงประสาท เป็นต้น
2. การรักษาทางจิตใจหรือทางแพทย์เรียก จิตบำบัด ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยวิธีจิตบำบัด เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดทำให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง  ยอมรับในความเป็นจริง
3. พฤติกรรมบำบัด วิธีนี้มักใช้ควบคู่ไปกับกระบวนการจิตบำบัด โดยการฝึกให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความเครียด ความวิตกกังวลของตนเองด้วยวิธีการต่างๆ  สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า  เพื่อลดความเครียด และอาการที่อาจแสดงออกทางร่างกายจากภาวะวิตกกังวล
4. แต่หากผู้ป่วยบางรายสามารถรับรู้ถึงภาวะที่ตนเองเป็นอยู่ ก็อาจสามารถบำบัดอาการป่วยทางจิตไดด้วยตนเอง ด้วยการจัดการความเครียดหรือความวิตกกังวลด้วยวิธีต่างๆ เช่น การนั่งสมาธิ การเข้าวัดฟังธรรม การท่องเที่ยวหรือการปรึกษาคนใกล้ชิด เป็นต้น

การป้องกัน

1. สำหรับวัยเด็ก ปัจจัยทางด้านครอบครัวถือเป็นสิ่งสำคัญ การอบรมเลี้ยงดู การเอาใจใส่ การไม่สร้างความรุนแรงกับเด็กทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ย่อมสามารถป้องกันภาวะโรคประสาทในเด็กได้เป็นอย่างดี
2. สำหรับผู้ใหญ่ การฝึกจิตให้รู้จักตนเอง คนรอบข้าง และยอมรับถึงสถานการณ์ต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ ย่อมทำให้เป็นผู้มีจิตใจเข้มแข็ง สามารถเผชิญกับทุกเรื่องราวได้
3. การรู้จักให้อภัยในสิ่งที่ผิดพลาดจากการกระทำ และไม่ซ้ำเติม
                           4. การให้กำลังใจเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์หรือสภาวะที่ทำให้เกิดความเสียใจ หรือการกระทำที่ผิด               พลาดในอดีต รวมถึงกำลังใจในการต่อสู้ต่อสิ่งบกพร่องต่างๆของผู้ป่วย อาทิ คคนกำพร้า ผู้พิการ เป็นต้น
5. การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพของตนเอง รวมถึงการสร้างความสุขให้ตนเอง และครอบครัวด้วยกิจกรรมต่างๆ อาทิ การกีฬา การเที่ยวพักผ่อน เป็นต้น ถือเป็นยาช่วยเสริมภูมิคุ้มกันทางจิตที่ดีที่สุด


โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder: MDD)

ระบาดวิทยา

          ความชุกตลอดชีพ ร้อยละ 5-18
          เพศหญิงพบบ่อยกว่าชาย 2 ต่อ 1
          อายุเฉลี่ยเมื่อเริ่มมีอาการประมาณ 40 ปี

สาเหตุ

          1. ปัจจัยด้านชีวภาพ
                   1) พันธุกรรม พบว่าพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องสูงในโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะในกรณีของrecurrent depression โดยความเสี่ยงในญาติสายตรงร้อยละ 7
                   2) Neurotransmitter system ผู้ป่วยมี norepinephrine, serotonin ต่ำลง รวมทั้งอาจมีความผิดปกติของ receptor ที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการควบคุมประสานงานร่วมกัน มากกว่าเป็นความผิดปกติที่ระบบใดระบบหนึ่ง
                   3) Neuroendocrine systems พบมีความผิดปกติในหลายระบบ ได้แก่
                           - Cortisol หลั่งมากและตอบสนองน้อยต่อการกระตุ้นด้วย dexamethasone
                         - Growth hormone หลั่งน้อยกว่าปกติ เมื่อถูกกระตุ้นด้วย clonidine
                         - Thyroid stimulation hormone (TSH) หลั่งน้อยกว่าปกติ เมื่อถูกกระตุ้นด้วย thyrotropin releasing hormone (TRH)
                   การที่ภาวะซึมเศร้าทำให้การทำงานของ hypothalamic-pituitary-adrenal axic (HPA- axis)เพิ่มขึ้น ทำให้ระดับ glucocorticoid ในพลาสม่าเพิ่มขึ้น ส่งผลยับยั้งกระบวนการ neurogenesis และdendritic remodeling ใน hippocampus ทำให้เซลล์บริเวณ hippocampus ทำให้เซลล์บริเวณhippocampus เกิดการฝ่อลงหรือตายลง
                   ในแง่ของความสัมพันธ์กับอาการแสดง คาดว่าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าน่าจะมีความผิดปกติบริเวณ limbic system ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านอารมณ์ ความคิด บริเวณ hypothalamus ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมการหลั่งฮอร์โมนตลอดจน biological pattern และบริเวณ basal pattern และบริเวณ basal gangliaซึ่งเกี่ยวข้องกับ psychomotor activity
          2. ปัจจัยด้านจิตสังคม
                   ผู้ป่วยมักมีแนวคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง หรือ มองโลกในแง่ร้าย เป็นต้นแต่ละ personality disorder มีความเสี่ยงต่อการเกิดdepression พอๆกัน และส่วนหนึ่งของผู้ป่วยมีการสูญเสียบิดามารดาก่อนอายุ 11 ปี

ลักษณะอาการทางคลินิก

โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder: MDD) มีอาการสำคัญ คือ อารมณ์เศร้า ผู้ป่วยจะซึมเศร้าหดหู่ สะเทือนใจ ร้องไห้ง่าย ในผู้ป่วยไทยอาจไม่บอกว่าเศร้า แต่จะบอกว่ารู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด จิตใจไม่สดชื่นเหมือนเดิม อารมณ์เศร้าหรือเบื่อหน่ายนี้จะเป็นเกือบทั้งวัน และเป็นติดต่อกันเกือบทุกวันนานหว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป อารมณ์หงุดหงิดพบได้บ่อยเช่นกัน ผู้ป่วยรู้สึกทนเสียงดังหรือมีคนรบกวนไม่ได้ มักอยากอยู่คนเดียวเงียบๆ
อาการด้าน neurovegetative ที่พบบ่อยได้แก่ อาการนอนไม่หลับ มีทั้ง initial ,middle และterminal insomnia ที่เป็นลักษณะจำเพาะของโรคซึมเศร้า คือ  middle และ terminal insomnia ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงชัดเจน รู้สึกอ่อนเพลียตลอดทั้งวัน ผู้ป่วยหญิงอาจประจำเดือนผิดปกติไป
อาการด้าน psychomotor อาจมี psychomotor retardation ได้แก่ เชื่องช้า เฉื่อยชาลง พูดน้อย คิดนาน ซึม อยู่เฉยๆ ได้นานๆ ผู้ป่วยบางคนอาจมี psychomotor agitation ได้แก่ กระสับกระส่าย อยู่เฉยไม่ได้ นั่งได้สักครู่ก็ต้องลุกเดินไปมา พบบ่อยในผู้ป่วยช่วงวัยต่อ พบบ่อยว่าสมาธิของผู้ป่วยเสื่อมลงจากเดิม เหม่อลอย หลงลืมง่าย ความคิดอ่านเชื่องช้าลง ลังเล ตัดสินใจไม่แน่นอน ไม่มั่นใจตัวเอง ผู้ป่วยจะมองโลกภายนอก มองชีวิตของตนเองในแง่ลบ รู้สึกว่าชีวิตตนเองไม่มีคุณค่า ไม่มีความหมายต่อใคร บางคนมีความรู้สึกผิดหรือกล่าวโทษตำหนิตนเองต่อสิ่งที่ได้กระทำลงไป แม้เป็นการกระทำที่ผู้อื่นเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย ความคิดอยากตายพบได้ถึงร้อยละ 60 และพบฆ่าตัวตายร้อยละ 15 ในช่วงแรกผู้ป่วยอาจแค่รู้สึกเบื่อชีวิตไม่ทราบจะมีชีวิตอยู่ต่อไปทำไม เมื่ออาการเป็นมากขึ้นจะรู้สึกอยากตาย อยากวิ่งให้รถชน ต่อมาจะคิดถึงการฆ่าตัวตาย เริ่มมีการคิดถึงวิธีการ มีการวางแผน จนถึงการกระทำการฆ่าตัวตายในที่สุด ในผู้ป่วยไทยพบไม่น้อยที่มาหาแพทย์ด้วยอาการทางร่างกายมีอาการเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย ปวดเรื้อรังตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อซักประวัติเพิ่มเติมจะพบว่ามีอาการอื่นๆ ของโรคซึมเศร้าร่วมด้วย

การวินิจฉัย

          1. มีอาการของ major depressive episode (ตารางที่ 12.1)
          2. ไม่เคยมีประวัติของ mania หรือ hypomania (ตารางที่ 12.3)

ตารางที่ 12.1 เกณฑ์การวินิจฉัย major depressive episode
          A. มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 5 ข้อ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อ 1) หรือ ข้อ 2) หนึ่งข้อ
                   1) ซึมเศร้า
                   2) ความสนใจหรือความเพลินใจในสิ่งต่างๆ ลดลงอย่างมาก
                   3) เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลดลงมากกว่าร้อยละ 5 ใน 1 เดือน
                   4) นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ
                   5) Psychomotor agitation หรือ retardation
                   6) อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
                   7) รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิด
                   8) สมาธิลดลง ลังเลใจ
                   9) คิดเรื่องการตาย หรือการฆ่าตัวตาย
          B. อาการเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน หรือทำให้การประกอบอาชีพ การเข้าสังคม หรือหน้าที่ด้านอื่นที่สำคัญบกพร่องลงอย่างชัดเจน

การวินิจฉัยแยกโรค

          1. ภาวะซึมเศร้าจากโรคทางกายหรือจากยาและสาร พบได้บ่อย การชัก ประวัติต้องถามรายละเอียดส่วนนี้ในผู้ป่วยทุกราย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อาการเกิดขึ้นเร็ว ไม่มีปัจจัยกระตุ้นชัดเจน หรือมีอาการที่ไม่เป็นไปตามแบบฉบับ
          2. โรคจิตเภท ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการโรคจิต บางครั้งมีอาการที่แยกจากผู้ป่วยโรคจิตเภท โดยเฉพาะรายที่มีอาการหลงผิดเนื้อหาแปลกๆ ในกรณีนี้ซักประวัติขณะเริ่มมีอาการมีความสำคัญ โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีประวัติซึมเศร้ามาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงเกิดอาการโรคจิตตามมา
          3. โรควิตกกังวล ผู้ป่วย anxiety disorders จะพบอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หงุดหงิด สมาธิหรือความจำไม่ดีได้เช่นกัน ในบางครั้งอาจมี mild depression ร่วมด้วยในระยะหลัง วินิจฉัยแยกโรคโดยดูอาการที่เริ่มต้นเป็นก่อน นอกจากนี้ผู้ป่วยวิตกกังวล อาการเด่นจะเป็น autonomic hyperactivity ร่วมกับมีความวิตกกังวลอยู่ตลอด ส่วนใน depression นั้น อาการเด่นจะเป็นอารมณ์เศร้า เบื่อหน่ายท้อแท้ ร่วมกับอาการด้าน neurovegetative
          4. Adjustment disorder with depressed mood มีภาวะกดดันนำมาก่อนเกิดอาการ ในโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่ก็พบมีภาวะกดดันนำมาก่อนเช่นกัน แยกกันโดยความรุนแรง หากอาการไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยของโรคซึมเศร้า จึงจะวินิจฉัยว่าเป็น adjustment disorder
          5. Bereavement บุคคลที่สูญเสียผู้ใกล้ชิดอาจมีอาการต่างๆ ของ major depressive episode ได้ อย่างไรก็ตามหากนานเกิน 2 เดือนแล้วยังไม่ดีขึ้น จะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า

การรักษา

          1. การรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ในรายที่อาการมาก เช่น กระวนกระวายมาก ไม่กินอาหาร ผอมลงมาก หรือมีความคิดฆ่าตัวตายบ่อยๆ ให้รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล ในกรณีที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง ต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
          2. การรักษาด้วยยา การรักษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะตามการดำเนินโรค
                   ก. การรักษาระยะเฉียบพลัน เป็นการรักษาเริ่มตั้งแต่เมื่อผู้ป่วยมาพบขณะมีอาการไปจนถึงหายจากอาการ คือเข้าสูระยะ remission ยาหลักที่ใช้ในการรักษาได้แก่ ยาแก้ซึมเศร้า ขนาดที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ fluoxetine เนื่องจากมีผลข้างเคียงต่ำ กินเกินขนาดไม่เสียชีวิต เริ่มโดยให้ขนาด 20 มก.กินวันละ 1 มื้อหลังอาหารเช้า ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการกระวนกระวาย หรือวิตกกังวลมากร่วมด้วยอาจให้diazepam 2 มก. กิน เช้า-เย็น ร่วมด้วยในช่วง 2 สัปดาห์แรก หากมีอาการนอนไม่หลับอาจให้amitriptyline 10 มก. หรือ  diazepam 2-5 มก. กินก่อนนอน
                   ในระยะนี้ ยาแก้ซึมเศร้าได้ผลในการรักษาประมาณร้อยละ 70-80 ในผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นไม่มากควรเพิ่มขนาดขึ้นถึง 40-60 มก./วัน หากให้นาน 4 สัปดาห์ แล้วยังไม่ตอบสนองอาจเปลี่ยนเป็นยาแก้ซึมเศร้าขนาดอื่น ผู้ป่วยที่มีอาการโรคจิตร่วมด้วยนั้นการรักษาต้องให้ยารักษาโรคจิตควบคู่กันไป โดยทั่วไปขนาดไม่สูงเท่าที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคจิตเภท เมื่ออาการทางจิตดีขึ้นแล้วให้ค่อยๆ ลดยาลงจนหยุดยา
                   ข. การรักษาระยะต่อเนื่อง เป็นการให้การรักษาต่ออีกประมาณ 4-9 เดือนหลังจากผู้ป่วยหายแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะ recover ทั้งนี้พบว่าหากหยุดการรักษาก่อนนี้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดrelapse สูงมาก เมื่อครบระยะเวลาแล้วให้ค่อยๆ ลดยาลงทุก 2-3 สัปดาห์จนหยุดการรักษา ขณะลดยาหากผู้ป่วยเริ่มกลับมามีอาการอีก ให้เพิ่มยาขึ้นแล้วคงยาอยู่ในระยะหนึ่ง เช่น 2-3 เดือนแล้วลองลดยาใหม่

ตารางที่ 12.2 ข้อบ่งชี้ในการให้ยาแก้ซึมเศร้าป้องกันระยะยาว
         1. มีอาการมาแล้ว 3 ครั้ง
          2. มีอาการมาแล้ว 2 ครั้ง ร่วมกับมีภาวะต่อไปนี้
                   - ประวัติ recurrent major depression และ  bipolar disorder ในญาติใกล้ชิด
                   - มีประวัติ recurrence ภายใน 1 ปี หลังจากหยุดการรักษา
                   - เริ่มมีอาการครั้งแรกขณะอายุยังน้อย (ต่ำกว่า 20 ปี)
                   - มีอาการที่เป็นเร็ว รุนแรง หรืออันตรายต่อผู้ป่วยมา 2 ครั้ง ภายในช่วงเวลา 3 ปี

                   ระยะเวลาให้ยาป้องกันอย่างน้อยควรนาน 2-3 ปี จากนั้นจึงจะประเมินอีกครั้งหนึ่งว่าสมควรให้ยาป้องกันต่ออีกหรือไม่ ถ้าเป็นมากกว่า 3 ครั้งควรให้นานอย่างน้อย 5 ปี
          3. การรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy: ECT)ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา ทนต่ออาการข้างเคียงของยาไม่ได้ หรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง ได้ผลดีในผู้ป่วยที่อาการรุนแรง เป็นแบบ melancholic หรือมีอาการโรคจิต แต่ ECT ไม่ได้ช่วยป้องกัน recurrence จึงควรให้การรักษาด้วยยาต่อหลังจากผู้ป่วยอาการดีขึ้น
          4. จิตบำบัด ชนิดที่ได้ผลดีใน depressive disorder ได้แก่
                   1) Cognitive-behavior therapy เชื่อว่าอาการของผู้ป่วยมีสาเหตุจากการมีแนวคิดที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง การรักษา มุ่งแก้ไขแนวคิดของผู้ป่วยให้สอดคล้องกับความจริงมากขึ้น รวมถึงการปรับพฤติกรรม ใช้ทักษะใหม่ในการแก้ปัญหา
                   2) Interpersonal therapy เป็นการรักษาที่เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้อื่น มุ่งให้ผู้ป่วยมีการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อื่นที่ดีขึ้น ไม่เน้นถึงความขัดแย้งในจิตใจ
                   3) Short-term psychodynamic psychotherapy หลักการเช่นเดียวกับ psychodynamic psychotherapy แต่ระยะเวลาโดยทั่วไปนานไม่เกิน 6 เดือน ผู้รักษาจะมีส่วนในการช่วยผู้ป่วยสืบค้นถึงความขัดแย้งในจิตใจ แก้ไขโครงสร้างบุคลิกภาพของตนบางส่วนที่เป็นปัญหา

          5. การรักษาอื่นๆ เช่น sleep deprivation ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นในวันรุ่งขึ้นหลังงดการนอนแต่มักกลับมาเป็นอีกหากให้นอนตามปกติ หรือ light therapy ในผู้ป่วยที่มีลักษณะการป่วยเป็นแบบ seasonal

โรคกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder : GAD)

ผู้ป่วยมีอาการกังวลเกินกว่าเหตุในหลายๆ เรื่องพร้อมกัน ร่วมกับอาการทางกายต่างๆ โดยเฉพาะอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ จนทำให้เกิดปัญหากับผู้ป่วยในหลายๆ ด้าน

 สาเหตุ

          1. ปัจจัยด้านจิตใจ แนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์มองว่าอาการวิตกกังวลเป็นจากความขัดแย้งใจจิตไร้สำนึกที่ไม่ได้ถูกแก้ไข มีความผิดปกติในแง่ของการรับรู้และแปลผลต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในลักษณะมองโลกในแง่ร้าย และยังประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของตนต่ำเกินจริงอีกด้วย จึงทำให้เกิดความรู้สึกกลัวและกังวล
          2. ปัจจัยด้านชีวภาพ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทหลายตัว เช่น GABA, serotonin ส่วนปัจจัยทางพันธุกรรมยังมีการศึกษาน้อยอยู่ เท่าที่มีก็ไม่พบความเกี่ยวข้องที่ชัดเจน

ลักษณะอาการทางคลินิก

          อาการเด่น ได้แก่
          - กลุ่มอาการวิตกกังวล ความวิตกกังวลนี้จะมีมาก(excessive) เป็นอยู่ตลอด(persistent) และเป็นไปกับแทบทุกเรื่อง (pervasive) เช่น กลัวสามีจะประสบอุบัติเหตุ กลัวลูกถูกทำร้าย กลัวตึกถล่ม กลัวตนเองเจ็บป่วย ฯลฯ
          - อาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย เพลีย หายใจขัด เหงื่อออก ท้องไส้ปั่นป่วน
          - อาการระบบกล้ามเนื้อตึงเครียด เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามตัว กระสับกระส่าย ตัวสั่น
          - Cognitive hypervigilance เช่น รู้สึกตื่นตัว ตกใจง่าย วอกแวก

การวินิจฉัย

A.          มีความวิตกกังวลมากเกินกว่าเหตุ (apprehensive expectation) ต่อหลายๆเรื่อง
B.           ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมความกังวลนี้ได้
C.           มีอาการทางกายต่างๆ ดังต่อไปนี้ (อย่างน้อย ใน ข้อหรือ ในเด็กมีเพียง ใน ข้อ)
                   1) กระสับกระส่าย
                   2) อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
                   3) มีปัญหาด้านสมาธิ ความจำ
                   4) หงุดหงิด
                   5) ปวดเมื่อย ตึงตามกล้ามเนื้อ
                   6) มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน
D.          อาการทั้งหมดเป็นอยู่บ่อยๆ นานกว่า เดือน

การวินิจฉัยแยกโรค

          1. โรคทางกาย ต้องแยกจากโรคทางกายอื่นๆ ทั้งหมดที่มีอาการของความวิตกกังวล
          2. โรคทางจิตเวช ต้องแยกจากโรคจิตเวช เช่น โรคจิต โรคอารมณ์แปรปรวน และโรควิตกกังวลอื่นๆ

การดำเนินโรค

          GAD เป็นโรคเรื้อรัง เนื่องจากพบร่วมกับโรคจิตเวชอื่นๆ จึงบอกการดำเนินโรคและการพยากรณ์โรคได้ยาก ส่วนมากพบว่าอาการมักเป็นๆหายๆ และจะรุนแรงในช่วงที่เครียด หลังจากความเครียดแล้วอาการจะดีขึ้น

การรักษา

          การรักษาที่ดีที่สุด คือ การรักษาโดยจิตบำบัดร่วมกับการใช้ยา
          1. จิตบำบัด
          Cognitive behavior therapy โดยแก้ไขการมองโลกที่ผิดไปของผู้ป่วย ให้กลับมามองอย่างถูกต้อง ร่วมกับการใช้relaxation technique เพื่อลดอาการทางกาย
          Psychodynamic psychotherapy โดยพยายามช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจสาเหตุของความวิตกกังวล และสามารถทนกับความกังวลนั้นได้มากขึ้น
          2. การรักษาด้วยยา
          Benzodiazepine เช่น diazepam ขนาด 5-15 มก./วัน จะช่วยลดอาการวิตกกังวลและอาการทางกายได้ดี ซึ่งควรให้ยาต่อเนื่องอย่างน้อย เดือน
          Selective Serotonin Reuptake Inhibitor (SSRI) การใช้ sertraline หรือ paroxetine ได้ผลดี ไม่ค่อยฝช้ fluoxetineเพราะอาจจะทำให้มีอาการ anxiety เพิ่มขึ้น
          การใช้ยา Benzodiazepine หรือ SSRI ควรให้นานต่อเนื่อง 6-12 เดือน หรืออาจจะให้ไปนานกว่านั้นได้ เพราะพบว่าหลังหยุดยาร้อยละ 60-80 มีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้อีก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยพบอาการดื้อยา (tolerance) ในผู้ป่วยกลุ่มนี้

          Propranolol ใช้เพื่อลดอาการใจสั่น มือสั่น โดยปรับขนาดยาให้สามารถลดชีพจรได้ 5-10 ครั้ง/นาที และต้องระวังผลข้างเคียงคือ depression , nausea และ bradycardia

บุคลิกภาพแปรปรวน(Personality Disorders)

บุคลิกภาพของบุคคลมีมากมายหลายแบบ บางคนเป็นคนสุภาพเรียบร้อย ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร และมีความกระตือรือร้น แต่บางคนก้าวร้าว ดื้อรั้น หรือเฉื่อยชา ฯลฯ บุคลิก ภาพที่มีลักษณะต่างจากของคนทั่วไปมากๆ ถือว่าเป็นบุคลิกภาพแปรปรวน ซึ่งเป็นบุคลิกภาพที่อาจสร้างความเดือดร้อนให้บุคคลที่เป็นเจ้าของและสังคมได้ตามคำจำกัดความของคำว่าบุคลิกภาพแปรปรวน หมายถึง กลุ่มของความผิดปกติทางพฤติกรรมที่ฝังรากลึก ยากแก่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งโดยทั่วไปจะเริ่มปรากฏในวัยรุ่นหรืออาจเร็วกว่านั้น และจะดำเนินต่อไปเกือบตลอดวัยผู้ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามลักษณะดังกล่าวจะชัดเจนน้อยลง ในวัยกลางคนและวัยชรา

ลักษณะของบุคลิกภาพแปรปรวน

บุคลิกภาพแปรปรวน เป็นบุคลิกภาพที่แตกต่างจากบุคลิกภาพของคนส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก และเป็นอยู่นาน แต่โดยทั่วไปจะไม่ทำให้เกิดอาการที่รบกวนบุคคลผู้นั้น ดังนั้นบุคคลซึ่งมีบุคลิกภาพแปรปรวนจึงมักจะไม่มาขอความช่วยเหลือจากแพทย์ด้วยตนเอง แต่โดยที่บุคคลซึ่งมีบุคลิกภาพแปรปรวนจะทนต่อความตึงเครียดและความคับข้องใจได้น้อยกว่าคนธรรมคา เช่น เมื่อมีความกดดันเพียงเล็กน้อยเขาอาจวิตกกังวลอย่างมาก หรือถ้าความกดดันมากพอควรเขาอาจเกิดอาการของโรคจิตชั่วคราวได้ รวมทั้งความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมักบกพร่องไป ทำให้บุคคลผู้นั้นทรงชีวิตอยู่ในสังคมโดยมีความสุขและความสำเร็จน้อยกว่าที่ควร ยกเว้นในบางอาชีพซึ่งยอมรับและส่งเสริมบุคลิกภาพแปรปรวนบางแบบ เช่น อาชีพที่เกี่ยวกับการบันเทิงหรือการแสดงมักยอมรับบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบรักตนเองหรือแบบฮีสทีเรีย บุคคลที่มีบุคลิกภาพแปรปรวน แบบที่กล่าวนี้จึงอาจประสบความสุขและความสำเร็จในชีวิตได้บ้าง

สาเหตุ

ปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดบุคลิกภาพแปรปรวน แต่พบว่าปัจจัยที่อาจจะเป็นสาเหตุได้มีดังนี้
๑. ลักษณะที่ติดตัวบุคคลผู้นั้นมาตั้งแต่เกิด เช่น ลักษณะประจำตัวเด็กแต่ละคน หรือการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เช่นมีผู้พบว่าคนที่มีบุคลิกภาพแบบอันธพาลมักจะมีบิดามารดาเป็นอันธพาล แม้ว่าจะได้แยกเด็กไปให้คนอื่นเลี้ยงตั้งแต่วัยเด็กแล้วก็ตาม นอกจากนั้นยังพบว่าคนที่มีบุคลิกภาพแบบอันธพาลจะมีลักษณะของคลื่นสมองผิดปกติบ่อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (Goodwin และ Guze ค.ศ. ๑๙๗๙)
๒. การพัฒนาทางบุคลิกภาพ เช่น การอบรมเลี้ยงดูอย่างขาดความอบอุ่นในวัยทารก อาจทำให้ทารกนั้นกลายเป็นผู้ใหญ่ซึ่งขาดความไว้วางใจสิ่งแวดล้อม หรือยึดติดกับการพัฒนาทางบุคลิกภาพในระยะปาก คือ เป็นคนรับประทานจุกจิก ปากจัด ชอบวิจารณ์ หรือติดสุราและยาเสพติด การเข้มงวดกวดขันเกี่ยวกับการขับถ่ายในวัย ๑-๓ ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่ความสุขของเด็กอยู่ที่ทวารหนัก ก็อาจทำให้เด็กคนนั้นกลายเป็นคนพิถีพิถัน เจ้าระเบียบ เคร่งครัดในคุณธรรม หรือกังวลเรื่องความสะอาดมากเกินไป เป็นต้น
๓. ประสบการณ์ในวัยเด็กอาจส่งเสริมพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น
๓.๑ เมื่อทำไม่ดีแล้วได้รับรางวัล เช่น เมื่อเด็กต้องการอะไรซึ่งพ่อแม่ไม่ต้องการให้เด็กจะร้องเสียงดังลงดิ้นกับพื้น หรือกระแทกศีรษะกับฝาผนัง ทำให้พ่อแม่จำต้องยอมให้สิ่งที่เด็กต้องการ เมื่อเป็นเช่นนี้บ่อย ๆ เด็กจะมีนิสัยเอาแต่ใจตน และแสดงอารมณ์รุนแรงเมื่อถูกขัดใจ
๓.๒ การถูกอบรมเลี้ยงดูที่เคร่งครัดเกินไป การที่พ่อแม่เคร่งครัดไม่ผ่อนปรน และขาดเหตุผลต่อเด็ก เมื่อเด็กประพฤติผิดไปจากสิ่งที่พ่อแม่กะเกณฑ์ไว้ก็จะตำหนิหรือลงโทษเด็ก โดยไม่ยอมรับฟังเหตุผลจากเด็ก อาจทำให้เด็กเป็นผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าว และประพฤติตรงกันข้าม กับที่พ่อแม่ต้องการ
๓.๓ การที่บิดามารดาหรือบุคคลที่มีอำนาจในครอบครัวมีบุคลิกภาพผิดปกติ เด็กอาจลอกเลียนลักษณะที่ผิดปกติเหล่านั้นได้
๔. ปัจจัยทางจิต-สังคม (psychosocial factor) มีผู้ศึกษาบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบอันธพาล พบว่าบุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ อาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม และมีภูมิลำเนาอยู่ในเมือง บิดามารดามักทะเลาะกันเป็นประจำหรือแยกทางกัน ติดสุราหรือยาเสพติด หรือมีบุคลิกภาพแบบอันธพาล เพราะฉะนั้นปัจจัยทางจิต-สังคมอาจมีส่วนเป็นสาเหตุของบุคลิกภาพแปรปรวนได้เช่นกัน (Goodwin และ Guze ค.ศ. ๑๙๗๙)
             ๕. ความผิดปกติในหน้าที่ของสมอง เช่น โรคลมชัก การอักเสบของสมอง Arte­riosclerotic brain disease, Senile dementia และ Alcoholism ฯลฯ ทำใหบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงได้

ในพวกที่เกิดจากสาเหตุที่ ๕ บุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงจะเกิดในขณะหรือหลังจากการป่วยด้วยโรคที่กล่าวนั้น
การจำแนกบุคลิกภาพแปรปรวน แบบต่าง ๆ ของบุคลิกภาพแปรปรวนแบ่งตามการจำแนกโรคสากลขององค์การอนามัยโลก ค.ศ. ๑๙๗๘ หรือ ICD-9 เป็นดังนี้ คือ
๑. Paranoid personality disorder หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบหวาดระแวง ประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ มีความรู้สึกไวเกินควรต่อความผิดหวัง การถูกเหยียดหยาม หรือการถูกปฏิเสธ และมีแนวโน้มจะเข้าใจการกระทำที่เป็นธรรมดา หรือการกระทำที่หวังดีของคนอื่นว่าเป็นการก้าวร้าวหรือดูถูกดูหมิ่นตน และมีความรู้สึกฝังแน่นว่าตนเองจะต้องต่อสู้เพื่อสิทธิของตัวเอง คนเหล่านี้มักจะอิจฉาริษยาผู้อื่นหรือรู้สึกว่าตนมีความสำคัญมากเกินไป อาจรู้สึกว่าตนถูกผู้อื่นเหยียดหยามหรือเอาเปรียบ ยิ่งกว่านั้นยังก้าวร้าวและดื้อรั้น และทุกรายจะคิดถึงตนเองมากผิดปกติ
ระบาดวิทยา พบเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
ปัญหา
โดยทั่วไปบุคคลที่มีบุคลิกภาพแปรปรวนแบบนี้มักจะรู้ตัว และปิดบังความคิดที่ผิดปกติของตนไว้ได้ แต่อย่างไรก็ตามมักพบปัญหาในงานอาชีพ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับเจ้านายหรือผู้ร่วมงาน และในรายที่เป็นรุนแรงความสัมพันธ์กับบุคคลทุกคนจะเสียอย่างมาก ในปัจจุบันยังไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่า บุคลิกภาพแบบนี้เกี่ยวข้องกับโรคจิตเภทแบบหวาดระแวง หรือโรคจิตแบบหวาดระแวงอื่นๆ
หลักเกณฑ์การวินิจฉัย (dsm-iii)
๑. มีความระแวงสงสัยอย่างมากโดยไม่มีเหตุผล และขาดความไว้วางใจผู้อื่น โดยแสดงลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย ๓ ประการ คือ
๑.๑ คาดว่าผู้อื่นมีเล่ห์เหลี่ยม หรือเป็นอันตรายต่อตน
๑.๒ ระมัดระวังตัวมากเกินไป โดยการพินิจพิเคราะห์สิ่งแวดล้อมเพื่อค้นหาว่ามีการคุกคามต่อตนหรือไม่ หรือระมัดระวังตัวมากโดยไม่จำเป็น
๑.๓ ปิดบัง หรือมีความลับ
๑.๔ ไม่ยอมรับการตำหนิอย่างมีเหตุผล
๑.๕ ไม่ไว้ใจผู้อื่นว่าจะซื่อสัตย์ต่อตน
๑.๖ สนใจเกี่ยวกับส่วนเล็กๆ น้อยๆ ของเรื่องต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงเรื่องทั้งหมด
๑.๗ สนใจเกี่ยวกับเบื้องหลังที่เคลือบแฝง และความหมายพิเศษของสิ่งต่างๆ
๑.๘ อิจฉาริษยา
๒. อารมณ์หวั่นไหวง่าย โดยแสดงลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย ๒ ประการ คือ
๒.๑ ถือโกรธในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ โดยง่าย
๒.๒ ทำปัญหาเล็กให้เป็นปัญหาใหญ่
๒.๓ พร้อมที่จะต่อสู้เมื่อถูกคุกคาม
๒.๔ ไม่สามารถผ่อนคลายความตึงเครียดของตนเองได้
๓. อารมณ์แคบ (restricted affectivity) ซึ่งแสดงลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย ๒ ประการ คือ
๓.๑ ลักษณะภายนอกดูชาเย็น และไม่มีอารมณ์
๓.๒ มักทำอะไรโดยอาศัยแต่เหตุผล ไม่คำนึงถึงอารมณ์หรือความรู้สึกเลย
๓.๓ ขาดอารมณ์ขันอย่างแท้จริง
๓.๔ ไม่มีความรู้สึกอ่อนโยน หรือความรู้สึกซาบซึ้งในเรื่องต่างๆ

๒. Schizoid personality disorder หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบแยกตัว ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ คือ ขี้อาย ไม่ค่อยพูด และแยกตัวจากสังคมหรือจากการใกล้ชิดกับผู้อื่นร่วมกับเพ้อฝันถึงเรื่องของตนเองบ่อยๆ พฤติกรรมอาจแปลกไปบ้าง หรือมีพฤติกรรมซึ่งแสดงว่าบุคคลนั้นพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ซึ่งมีการแข่งขัน หรือหลีกเลี่ยงการแสดงความรู้สึกหรือความก้าวร้าวของตนให้ผู้อื่นทราบ

ระบาดวิทยา มักพบในคนซึ่งมีลักษณะเก็บตัว ไม่ชอบการสังคมมาตั้งแต่เด็ก
ปัญหา
เนื่องจากคนพวกนี้มีความสัมพันธ์ในด้านสังคมไม่ดี เพราะฉะนั้นความก้าวหน้าในอาชีพการงานจึงมักจะน้อย โดยเฉพาะถ้างานนั้นต้องอาศัยมนุษยสัมพันธ์ แต่อย่างไรก็ดีคนที่มี บุคลิกภาพเช่นนี้บางคนซึ่งทำงานที่มีลักษณะต้องแยกตัวจากสังคมมาทำตามลำพังก็อาจประสบความสำเร็จอย่างสูงได้ จิตแพทย์บางคนเชื่อว่า บุคลิกภาพแบบนี้มีโอกาสเกิดโรคจิตเภทได้มากกว่าบุคลิกภาพแบบอื่น แต่ความจริงแล้วในปัจจุบันยังพิสูจน์ไม่ได้ ที่สามารถบอกได้แน่ก็คือลักษณะของบุคลิกภาพแบบนี้เป็นprodromal phase ของโรคจิตเภท
หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย (dsm-iii)
๑. อารมณ์ชาเย็นและเย่อหยิ่ง ไม่มีท่าทีที่อบอุ่นและนุ่มนวลต่อผู้อื่น
๒. ไม่ยินดียินร้ายต่อคำชม คำวิพากษ์วิจารณ์ หรือต่อความรู้สึกของผู้อื่น
๓. มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลไม่มากกว่า ๑ หรือ ๒ คน ทั้งนี้รวมทั้งสมาชิกในครอบครัวด้วย
๔. ไม่มีคำพูด พฤติกรรม หรือความคิดแปลกๆ

๓. Anankastic personality disorder หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบเจ้าระเบียบ สมบูรณ์แบบ หรือย้ำคิดย้ำทำ ประกอบด้วยลักษณะสำคัญคือ ขาดความมั่นใจ ระแวงสงสัย และรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างขาดตกบกพร่อง ทำให้เกิดความเกรงกลัวต่อบาป ความระมัดระวัง และความรอบคอบมากเกินไป เพื่อให้เกิดความมั่นใจ รวมทั้งมีความดื้อรั้นดันทุรังด้วย แต่ความรุนแรงไม่ถึงขนาดเป็นโรคประสาท
บุคลิกภาพแบบนี้อาจเรียกว่า compulsive personality disorder หรือ perfectionist
ระบาดวิทยา บุคลิกภาพแบบนี้พบค่อนข้างบ่อย และมักเป็นในผู้ชาย

ปัญหา
ทำให้เกิดการเสียสมรรถภาพในงานอาชีพ ทั้งยังพบบ่อย ในคนที่เป็น Myocardial infarction ยิ่งกว่านั้นอาจนำไปสู่การเป็นโรคประสาทแบบย้ำคิดย้ำทำ โรคประสาท แบบ hypochondriasis และโรคจิตทางอารมณ์แบบเศร้า
หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย (DSM-III)
๑. ขาดความสามารถที่จะแสดงความอบอุ่นและความสุภาพต่อผู้อื่น
๒. ไม่ค่อยเข้าใจปัญหาทั้งหมด มักจะสนใจรายละเอียด กฎเกณฑ์ หรือระเบียบเล็กๆ น้อยๆ ของปัญหาซึ่งไม่สำคัญ
๓. ต้องการให้ผู้อื่นกระทำตามวิธีของตน โดยไม่สำนึกถึงความรู้สึกของเขาเกี่ยวกับการกระทำเช่นนี้ของจน
๔. อุทิศตนให้กับงานและผลงานของตน โดยไม่คำนึงถึงความสุขหรือคุณค่าแห่งมนุษยสัมพันธ์
๕. ตัดสินใจไม่ได้ มักไม่ค่อยกล้าตัดสินใจ เนื่องจากกลัวความผิดพลาดมากเกินไป

๔. Hysterical personality disorder หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบฮีสทีเรีย ประกอบด้วย ลักษณะที่สำคัญ คือ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายไม่มั่นคง ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องการความชื่นชมยินดีและความเอาใจใส่จากผู้อื่นมากผิดปกติ ถูกชักจูงง่าย และจะแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางมากเกินไป (dramatize) มักไม่บรรลุวุฒิภาวะทางเพศ เช่น เป็นกามตายด้าน และเมื่อมีความกดดันอาจแสดงอาการของโรคประสาทแบบฮีสทีเรียได้
ระบาดวิทยา บุคลิกภาพแบบนี้พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเพศหญิง
ปัญหา
ผู้ป่วยมักมีปัญหาในด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ในรายที่บุคลิกภาพแปรปรวนมากๆ อาจไม่สามารถทำหน้าที่ต่างๆ ของตนได้ มักติดยาเสพติดโดยเฉพาะในผู้หญิง และอาจเกิดปัญหาโรคจิตทางอารมณ์แบบเศร้า โรคจิตระยะสั้น ๆ (brief reactive psychosis) และโรคประสาทแบบฮีสทีเรีย
ลักษณะสำคัญ
๑. แสดงออกทางพฤติกรรมมากเกินไปจนดูคล้ายเล่นละคร โดยมีลักษณะที่จะกล่าวต่อไปนี้อย่างน้อย ๓ ประการ
๑.๑ แสดงออกทางอารมณ์มากเกินไป
๑.๒ สนใจตนเองตลอดเวลา
๑.๓ กระหายที่จะมีกิจกรรมหรือได้รับความตื่นเต้น
๑.๔ มีปฏิกิริยามากเกินไปต่อเหตุการณ์เล็กๆ น้อย ๆ
๑.๕ ตีโพยตีพายหรือระเบิดอารมณ์โกรธอย่างไม่สมเหตุผล
๒. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลผิดปกติไป โดยมีลักษณะที่จะกล่าวต่อไปนี้อย่างน้อย ๒ ประการ
๒.๑ คนอื่นจะมองเห็นว่าบุคคลนั้นเป็นคนผิวเผิน ขาดความจริงใจ ทั้งที่ดูภายนอกก็อบอุ่นและมีเสน่ห์
๒.๒ เอาแต่ใจตนเอง และไม่เกรงใจใคร
๒.๓ ทิฐิและเรียกร้องจากผู้อื่นมาก
๒.๔ ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น และต้องการความมั่นใจจากผู้อื่นตลอดเวลา
๒.๕ มักขู่ แสร้งทำ หรือพยายามฆ่าตัวตาย เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามความต้องการของตน

๕. Sociopathic or asocial personality disorder หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบอันธพาล หรือแบบต่อต้านสังคม ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ คือ อารมณ์ไม่มั่นคง ขาดจริยธรรมและคุณธรรม การตัดสินใจไม่ถูกต้อง และขาคความซื่อสัตย์ต่อบุคคลอื่นหรือหมู่คณะ ปราศจากความเมตตากรุณา เอาแต่ใจตนเองโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น และขาดความรับผิดชอบอาจก่อพฤติกรรมรุนแรงโดยไม่สามารถควบคุมได้ และเมื่อกระทำแล้วก็จะพยายามหาเหตุผลให้กับการกระทำนั้นโดยไม่มีความสำนึกผิด ทั้งการลงโทษก็ไม่ทำให้เขาเข็ดหลาบ บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนั้นไม่ว่าเป็นอันตรายต่อสังคมถ้าเกิดความคับข้องใจบุคลิกภาพแบบนี้มักเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก หรือระยะแรกๆ ของวัยรุ่น ส่วนใหญ่ถ้าไม่เริ่มก่อนอายุ ๑๕-๑๖ ปีก็มักจะไม่เกิดขึ้นเลย (Goodwin และ Guze ค.ศ. ๑๙๗๙)
ระบาดวิทยา
อุบัติการของบุคลิกภาพแบบนี้ยังไม่เป็นที่ทราบชัด เพราะการวินิจฉัยความผิดปกตินี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน แต่อย่างไรก็ตามพบว่าเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิงอยู่มาก และพบบ่อยในคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ หรือคนที่อยู่ในเขตเมืองมากกว่าชนบท นอกจากนั้น ยังพบมากในคนที่มาจากครอบครัวซึ่งยุ่งเหยิง บิดามารดาแยกทางกันหรือทอดทิ้งเด็ก บิดามารดา ติดสุราหรือเป็นอาชญากร
ปัญหา
บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนี้มักประสบปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (venereal diseases) การตั้งครรภ์นอกสมรส การบาดเจ็บจากการต่อสู้หรืออุบัติเหตุ และปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งได้แก่ การติดสุราหรือยาเสพติด อารมณ์ซึมเศร้า และโรคประสาทแบบฮีสทีเรีย นอกจากนั้น ยังมีปัญหาด้านการเรียน ปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคู่สมรส ปัญหาการทำงาน การเป็นทหาร และปัญหาด้านกฎหมาย อาจต้องเข้าไปอยู่ในสถานกักกัน หรือแม้แต่ในคุก
หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย (dsm-iii)
๑. อายุที่กำลังมีความผิดปกติต้องไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี
๒. ต้องเริ่มมีอาการก่อนอายุ ๑๕ ปี โดยมีประวัติต่อไปนี้อย่างน้อย ๓ ประการ ได้แก่
๒.๑ หนีโรงเรียนอย่างน้อย ๕ วันใน ๑ ปี เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย ๒ ปี
๒.๒ ถูกภาคทัณฑ์หรือถูกไล่ออกจากโรงเรียน เนื่องจากความประพฤติไม่ดี
๒.๓ ประพฤติเป็นพาลเกเร ถูกจับหรือถูกส่งไปที่ศาลเด็กเนื่องจากความประพฤติดังกล่าว
๒.๔ หนีออกจากบ้านตลอดคืนอย่างน้อย ๒ ครั้ง ขณะอาศัยอยู่กับบิดามารดา หรือบิดามารดาบุญธรรม

๒.๕ พูดปดเสมอ
๒.๖ สำส่อนทางเพศ
๒.๗ ดื่มสุราหรือใช้ยาอย่างผิดๆ หลายครั้ง
๒.๘ ลักขโมย
๒.๙ มีพฤติกรรมที่ป่าเถื่อน
๒.๑๐ ผลการเรียนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอย่างมาก
๒.๑๑ ชอบก่อการทะเลาะวิวาท
๓. ต้องมีลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย ๔ ประการ ตั้งแต่อายุ ๑๘ ปี
๓.๑ ไม่สามารถทำงานได้อย่างสม่ำเสมอ คือ จะเปลี่ยนงานบ่อย อย่างน้อย ๓ งานในเวลา ๕ ปี โดยไม่เกี่ยวกับลักษณะของงาน เศรษฐกิจ หรือการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ตกงานเป็นระยะเวลาอย่างน้อย ๖ เดือนในเวลา ๕ ปี หรือหนีงาน คือ มาสายหรือขาดงานอย่างน้อย ๓ วันใน ๑ เดือน หรือออกจากงานโดยไม่มีงานใหม่คอยอยู่หลายครั้ง
๓.๒ ขาดความสามารถรับผิดชอบในฐานะเป็นพ่อแม่ เช่น ปล่อยให้ลูกขาดอาหาร เจ็บป่วยบ่อย ๆ เนื่องจากมาตรฐานทางอนามัยต่ำ เวลาลูกเจ็บหนักก็ไม่ได้ให้การรักษา เพื่อนบ้านต้องช่วยเหลือให้อาหารและที่อยู่แก่เด็ก ไม่จัดหาผู้ปกครองเด็กซึ่งอายุต่ำกว่า ๖ ปี เมื่อคนซึ่งเป็นพ่อแม่ต้องออกไปนอกบ้าน และจ่ายเงินส่วนตัวอย่างฟุ่มเฟือยทั้งที่เงินนั้นควรจะนำมาใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในครอบครัว
๓.๓ ไม่เคารพกฎหมายโดยมีการลักขโมยบ่อยๆ ประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมาย ถูกจับหลายครั้ง และทำผิดคดีอาญา
๓.๔ ไม่สามารถมีความสัมพันธ์กับคู่ร่วมเพศ ดังจะเห็นว่ามีการหย่าและ/หรือแยกกันอยู่ตั้งแต่ ๒ ครั้งขึ้นไป หรือมีประวัติการสำส่อนทางเพศซึ่งได้แก่การมีคู่ร่วมเพศตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไปภายในระยะเวลา ๑ ปี
๓.๕ หงุดหงิดหรือก้าวร้าว เห็นได้จากการต่อสู้หรือการกระทำรุนแรง รวมทั้งการตบตีบุตรและคู่สมรส
๓.๖ ไม่รับผิดชอบเรื่องการเงิน เห็นได้จากมีการโกงหนี้ ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตร หรือคนที่อยู่ในความอุปการะ
๓.๗ ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า หรือทำอะไรโดยขาดการยับยั้งชั่งใจ เช่น จะเดินทางก็ไม่จัดการเรื่องการงานให้เรียบร้อย หรือไม่มีเป้าหมายในการเดินทาง ว่าเมื่อไรจะกลับ หรือไม่รู้ว่าจะไปอยู่ที่ไหนเป็นเวลา ๑ เดือนหรือมากกว่า
๓.๘ ไม่คำนึงถึงความซื่อสัตย์ โดยการกล่าวคำเท็จบ่อยๆ ใช้ชื่อปลอม คดโกงคนอื่นเพื่อหากำไรใส่ตัว
๓.๙ ทำอะไรโลดโผน เช่น ขับรถขณะเมาสุรา หรือขับรถเร็วเกินไป
๔. มีพฤติกรรมอันธพาล โดยการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นติดต่อกันโดยไม่มีระยะที่เป็นปกติอย่างน้อย ๕ ปี ในระหว่างช่วงอายุ ๑๕ ปีจนถึงปัจจุบัน (ยกเว้นในกรณีที่ต้องนอนแซ่วอยู่บนเตียง ถูกกักกันในโรงพยาบาลหรือสถานกักกัน)
๕. บุคลิกภาพแบบอันธพาลนี้ไม่ได้เกิดจากสภาวะปัญญาอ่อน โรคจิตเภท หรือโรคจิตทางอารมณ์แบบคลั่ง

๖. Affective personality disorder ประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ คือ มีอารมณ์เศร้าหรืออารมณ์เป็นสุขต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน หรือมีอารมณ์เศร้าสลับกับอารมณ์เป็นสุข ในระยะที่มีอารมณ์เศร้าจะมีความกังวล มองโลกแต่ในแง่ร้าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และรู้สึกว่าตนหาประโยชน์มิได้ แต่ในระยะที่อารมณ์เป็นสุข จะมีความทะเยอทะยาน กระตือรือร้น มองโลกในแง่ดีเพียงอย่างเดียว และรู้สึกว่าชีวิตและกิจกรรมทุกอย่างของตนสนุกสนานในบางรายอารมณ์จะเปลี่ยนแปลงไปมาอย่างรวดเร็ว ระหว่างอารมณ์เศร้าและอารมณ์เป็นสุข และมักไม่มีความสัมพันธ์กับสภาวะแวดล้อม แต่บางทีอารมณ์แต่ละแบบจะเกิดอยู่นานเป็น หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน
ปัญหา บุคลิกภาพแบบนี้มีความสัมพันธ์กับโรคจิตทางอารมณ์

๗. Explosive personality disorder ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ คือ อารมณไม่มั่นคง และไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด อารมณ์รุนแรง หรืออารมณ์รักของตนได้ อาจแสดงความก้าวร้าวออกทางคำพูดหรือการกระทำรุนแรง สาเหตุของความก้าวร้าวมักเกิดจากสิ่งกระตุ้นทางสังคมหรือจิตใจ และมักเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่เหมาะสมกับการตอบสนองทางอารมณ์ของบุคคลนั้น หลังจากการกระทำรุนแรงเขามักรู้สึกเสียใจ แต่ก็ยังคงกระทำเช่นเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า อย่างไรก็ดีคนพวกนี้ตามปกติจะไม่กลายเป็นบุคคลอันธพาล บุคลิกภาพแบบนี้อาจพบในรายที่เป็นโรคลมชัก หรือในกรณีที่คนๆ นั้นดื่มสุราจัด แต่ใน ๒ กรณีดังกล่าวไม่จัดเป็น Explosive personality disorder
ปัญหา คนพวกนี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และมีปัญหาทางกฎหมาย

๘. Asthenic personality disorder ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ คือ มักทำตามความต้องการของผู้ใหญ่หรือผู้อื่นง่าย มีการตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตประจำวันของตนน้อย ไม่มีพลัง ซึ่งอาจแสดงออกทางด้านเชาวน์ปัญญาและอารมณ์ และหวั่นไหวง่ายต่อความกดดันทุกชนิด รวมทั้ง มองโลกแต่ในแง่ร้ายอยู่เสมอ และไม่ค่อยมีอารมณ์สนุกสนานรื่นเริงอาจเรียกว่า Dependent personality, Inadequate personality หรือ Passive perso­nality
ระบาดวิทยา พบได้บ่อย มักเป็นในเพศหญิง ในเด็กและในวัยรุ่นการป่วยเป็นโรคเรื้อรังอาจทำให้เกิดบุคลิกภาพแบบนี้ได้ง่าย
ปัญหา ความสัมพันธ์กับสังคมจะจำกัดอยู่เฉพาะคน ๒-๓ คนที่เขาต้องพึ่งพาอาศัยเท่านั้น เพราะฉะนั้นงานอาชีพที่ต้องอาศัยความเป็นตัวของตัวเองมักจะเสีย คนพวกนี้มักเกิดโรคจิตทางอารมณ์ แบบเศร้าได้บ่อย
ตามการจำแนกโรคของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ค.ศ. ๑๙๘๐ หรือ DSM-III บุคลิกภาพแปรปรวนถูกแบ่งเป็น ๑๑ แบบ ได้แก่
๑. Paranoid personality disorder
๒. Schizoid (introverted) personality disorder
๓. Schizotypal personality disorder
             ๔. Histrionic (hysterical) personality disorder
๕. Narcissistic personality disorder
๖. Antisocial personality disorder
๗. Borderline personality disorder
๘. Avoidant personality disorder
๙. Dependent personality disorder
๑๐. Compulsive personality disorder
๑๑. Passive-aggressive personality disorder
บุคลิกภาพแบบที่ ๑๑๐ เหมือนกับในการจำแนกโรคแบบ ICD -9 บุคลิกภาพแบบSchizotypal personality disorder มีลักษณะอยู่ระหว่าง Schizoid personality disorder และโรคจิตเภท ส่วน Borderline personality disorder แต่เดิมเคยเรียกว่า latent schizophrenia, pre-schizophrenia หรือpseudo-neurotic schizophrenia ฯลฯ

การรักษาบุคลิกภาพแปรปรวน

การรักษาปัญหาบุคลิกภาพแปรปรวนเป็นสิ่งที่ลำบากมาก เพราะบุคคลผู้นั้นมักไม่มีความต้องการจะรักษา การมาพบแพทย์มักเนื่องจากผู้อื่น เช่น บิดามารดา คู่สมรส หรือนายจ้าง รบเร้าให้มา แต่ก็มีบางรายที่มาเพราะกังวลจากผลสะท้อนทางสังคมเกี่ยวกับพฤติกรรมของตน หรือเพราะเริ่มค่อยๆ เข้าใจว่าตนผิดปกติ หลักการรักษาคือ
๑. จิตบำบัดอย่างลึก (intensive psychoanalytically oriented psychotherapy)
๒. จิตบำบัดเฉพาะตัว (individual therapy) การรักษาจะมุ่งเฉพาะพฤติกรรมที่ผิดปกติมากกว่าจะมุ่งที่ความขัดแย้งภายในจิตใจ
๓. จิตบำบัดกลุ่ม


ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorder)

ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (adjustment disorder) มีสาเหตุชัดเจนจากภาวะความกดดัน ก่อให้ ผู้ป่วยเกิดความเครียด จนไม่สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม เกิดอาการทางคลินิกตามมา โดยมีอาการนานไม่เกิน เดือน จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางจิตเวชที่เป็นแบบ non-psychotic ซึ่ง สามารถหายเป็นปกติได้ โดยที่อาการทางจิตเวชมักจะเกิดภายในเวลา เดือนหลังจากมีภาวะ ความกดดันมากระทบ


ระบาดวิทยา

เป็นโรคที่พบได้บ่อย พบได้ในทุกอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น จำนวนวัยรุ่นชายใกล้เคียงกับ วัยรุ่นหญิง ส่วนในกลุ่มผู้ใหญ่จะเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง เท่า กลุ่มวัยรุ่นมักมีความผิดปกติทางด้านพฤติกรรมและการแสดงออก ส่วนในกลุ่มผู้ใหญ่และผู้ที่ ป่วยโรคทางกายจะพบลักษณะของอารมณ์ซึมเศร้าเป็นลักษณะเด่น

สาเหตุ

สาเหตุโดยตรงของโรคนี้ ก็คือภาวะความกดดัน ลักษณะความกดดันจากภาวะจิตสังคมที่พบ บ่อย ได้แก่ ปัญหาเกิดจากในครอบครัว หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ปัญหาทาง ด้านการเงิน ความเจ็บป่วยทางกาย หรือทางจิตใจ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของวงจรชีวิตคน เรา เช่น วัยรุ่น การเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก การแต่งงาน เป็นต้น หรือความกดดันอย่างอื่น เช่น ภัยทางธรรมชาติ ระเบิด สงคราม ระดับของการตอบสนองต่อความกดดันของคนเรามิได้สัมพันธ์อย่างตรงไปตรงมากับระดับ ความรุนแรงของความกดดัน แต่จะเป็นความสัมพันธ์ร่วมกันของปัจจัยต่อไปนี้
 1. Stressors คือ ลักษณะของความกดดันที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหา
 2. Situational context คือ สภาวะแวดล้อมขณะนั้นของผู้ป่วย เช่น ขณะตั้งครรภ์ใกล้ คลอด ได้ยินข่าวสามีประสบอุบัติเหตุ
3. Intrapersonal factors คือ เหตุปัจจัยในตัวผู้ป่วยเอง เช่น นิสัย วิธีการปรับตัว เป็นต้น โดยเฉเพาะในกลุ่มบุคคลที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ หรือมีความผิดปกติทางด้านสมอง มาก่อน จะมีความต้านทานต่อความกดดันได้น้อยกว่าคนทั่วไป ทำให้เกิดปัญหาภาวการณ์ปรับตัวผิดปกติได้บ่อยกว่า

ลักษณะอาการทางคลินิก

อาการทางคลินิกของภาวะความผิดปกตินี้ มีได้หลายแบบ DSM IV ได้จำแนกออกเป็น 6 กลุ่ม ย่อย ดังต่อไปนี้
1.Adjustment disorder with anxiety อาการเด่นคือ วิตกกังวลหงุดหงิด ตึงเครียด และตื่นเต้น
 2. Adjustment disorder with depressed mood อาการที่เด่นเป็น อารมณ์เศร้า เสียใจ และรู้สึกสิ้นหวัง
3. Adjustment disorder with disturbance of conduct อาการเด่นได้แก่ มีความ ประพฤติที่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น ละเมิดต่อผู้ใหญ่ หรือละเมิดต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ ตัวอย่าง เช่น หนีโรงเรียน ไม่รับผิดชอบ แสดงความป่าเถื่อน ขับรถอย่างบ้าระห่ำ ใช้กำลังเข้าต่อสู้ ละเลยความรับผิดชอบตามกฎหมาย
 4. Adjustment disorder with mixed disturbance of emotions and conduct อาการ ที่ เด่นเป็นอาการต่างๆ ทางอารมณ์ เช่น อารมณ์เศร้า วิตกกังวล และความแปรปรวนของ ความประพฤติ
5. Adjustment disorder with mixed anxiety and depress mood อาการเด่นเป็น อาการร่วมกันของอารมณ์เศร้าและอาการวิตกกังวล
6. Adjustment disorder unspecified คือความผิดปกติต่างๆ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาในการปรับ ตัวที่ไม่เหมาะสมต่อ psychosocial stressors ซึ่งมิได้จัดระบบไว้เป็น adjustment disorder อย่างเฉพาะเจาะจง

การดำเนินโรค

บางรายมีอาการเพียง 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ แต่จะไม่นานเกิน เดือน จากการติดตามผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น adjustment disorder ไป 3-4 ปี พบว่า ร้อยละ 25 ที่กลับมาด้วยปัญหาเดิม และในกลุ่มนี้อาจเปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยเป็นความผิด ปกติอย่างอื่น เช่น personality disorder ร้อยละ47 และ neurotic disorder ร้อยละ 25

การวินิจฉัย

A. มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมตอบสนองตอบต่อภาวะความกดดัน ที่ปรากฏชัดเจน (หนึ่งอย่างหรือมากกว่า ) ภายใน เดือน นับแต่เริ่มต้นของภาวะความ กดดัน
B. อาการหรือพฤติกรรมมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
1) อาการตึงเครียดมากเกินกว่าการตอบสนองต่อภาวะความกดดันตามปกติวิสัย ที่เป็นที่ ยอมรับกันทั่วไป
2) มีความบกพร่องในหน้าที่การงาน การเรียน การเข้าสังคม
C. ความผิดปกติที่ตอบสนองต่อภาวะความกดดันไม่เข้าเกณฑ์วินิจฉัยโรคทางจิตเวชใน Axis Iอื่นๆ และไม่ใช่การเพิ่มขึ้นของความผิดปกติใน Axis I และ Axis II D. อาการไม่ใช่เป็นการตอบสนองทั่วไปต่อการสูญเสียบุคคลที่ตนรัก
 E. เมื่อภาวะความกดดันหายไป อาการจะไม่คงอยู่เกินกว่า เดือน
สาเหตุความกดดันอาจมีเพียงอย่างเดียวหรือหลายอย่างประกอบกันก็ได้ความกดดันอาจเกิดจากครอบครัว ทำให้เป็นปัญหากับบุคคลใดบุคคลหนึ่งในครอบครัว หรือกับ ทุกคนในครอบครัวก็ได้ หรืออาจเป็นปัญหาของชุมชน โดยกลุ่มคนที่พบสถานการณ์ร่วมกัน อาจเกิดปัญหาการปรับตัวได้เช่นกัน เช่น ภาวะสงคราม การอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ เป็นต้น ความรุนแรงของเหตุการณ์ไม่สามารถทำนายความรุนแรงของปฏิกิ ริยาตอบสนองได้ ผู้ที่มี จิตใจอ่อนแออาจจะมีความผิดปกติอย่างมากต่อความกดดันในระดับต่ำหรือระดับปานกลางใน ขณะที่ผู้อื่นอาจเกิดความผิดปกติเพียงเล็กน้อยทั้งที่ได้รับความกดดันอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง

การวินิจฉัยแยกโรค

1. V codes คือภาวะความผิดปกติที่ไม่จัดเป็น mental disorder เมื่อยังไม่พบความผิด ปกติทางด้านสังคม หน้าที่การงาน และการแสดงออกที่มากเกินระดับปกติ ตัวอย่างเช่น ความผิดปกติจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล ปัญหากับคู่สมรส เป็นต้น
2. Generalized anxiety disorder
 3. Major depressive disorder
4. Post-traumatic stress disorder รายละเอียดให้ดูภายใต้หัวข้อของแต่ละโรค หลักการคือ หากอาการเข้าได้กับโรคข้างต้นมาก กว่าก็จะวินิจฉัยเป็นโรคข้างต้น

การรักษา

เป้าหมายอันดับแรก : ลดอาการของผู้ป่วยและช่วยเหลือให้ผู้ป่วยมีการปรับตัวที่ดีขึ้นอย่าง น้อยก็เท่าระดับเดิมก่อนที่จะเกิดปัญหา
เป้าหมายถัดไป : ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการต่อสู้ปัญหาของผู้ป่วย รวมทั้งเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมถ้าสามารถทำได้  วิ ธีการรักษาเน้นที่จิตบำบัดแบบประคับประคอง โดยอาศัยขบวนการเหล่านี้ คือ
1. หาสาเหตุของภาวะความกดดันให้ชัดเจน เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้น รวมทั้งวิธีการตอบ สนองของผู้ป่วย
2. ประเมินระดับความรุนแรงและระยะเวลาความผิดปกติที่เกิดขึ้น
 3. หากพบความผิดปกติทางจิตเวชอื่นๆ ที่เกิดขึ้นให้ทำการรักษา
 4. ประเมินบุคลิกภาพทั้งหมดของผู้ป่วย
5. ให้ผู้ป่วยเข้าใจและสามารถระบายปัญหาภาวะความกดดันทางจิตใจออกมาได้
6. ให้คำแนะนำหรือกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีวิธีการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น
7. ส่งเสริม ให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญต่อภาวะความกดดันนั้นได้
8. อาจนำเอาขบวนการรักษาอย่างอื่นมาประกอบการช่วยเหลือ เช่น
8.1 Family therapy ให้สมาชิกในครอบครัวร่วมกันแก้ไขปัญหา
8.2 Behavior therapy

9. กรณีผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวลสูง อาจพิจารณาให้ยาคลายกังวล หรือยาแก้เศร้า ในระยะแรกเพื่อลดอาการที่เจ็บป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการปรับตัวที่ดีขึ้น
          ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (Dementia)
    ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) หมายถึง กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของเปลือกสมอง (cerebral cortex) หรือวิถีประสาทที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ทําให้เกิดความผิดปกติทางด้าน สติปัญญา ความคิด ความจําบกพร่อง หลงลืม ทั้งความจําระยะสั้นและระยะยาว การตัดสินใจผิดพลาด ความคิดทางนามธรรมผิดไป มีปัญหาในการพูด พูดซ้ําๆ ซากๆ ไม่เข้าใจคําพูด ไม่สามารถปฏิบัติงานต่างๆ ในชีวิตประจําวัน มีความสับสนในเรื่องของเวลา สถานที่ บุคคล มีความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม อาการเหล่านี้มีผลกระทบทําให้ไม่สามารถทํางานหรืออยู่ในสังคมได้

อุบัติการณ์ภาวะสมองเสื่อมในผู้สงูอายุ

จากการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างของประชากรผู้สูงอายุที่พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นซึ่งคาดว่า ในปี 2563 หรืออีก 15 ปีข้างหน้าจะมีประชากรสูงอายุที่พบจํานวน 10 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 14ของ ประชากรทั้งหมด การเพิ่มจํานวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบ โครงสร้าง เศรษฐกิจและสังคมทั้งนี้เป็นเพราะว่าผู้สูงอายุนั้นมีความเสี่ยงสูงในด้านความเจ็บป่วยเมื่ออายุ มากขึ้น สุขภาพร่างกายอ่อนแอลง มีความเสื่อมของร่างกายมากขึ้น วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้ง ทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นไปในลักษณะที่เสื่อมถอย การ ทํางานของระบบต่างๆ ลดลง มีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอลง และเมื่อต้องเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวชที่มีการ เสื่อมถอยทางพฤติกรรม อารมณ์ และการรับรู้ด้วยแล้วย่อมทําให้บุคคลนั้นบกพร่องในการทําหน้าที่ต่างๆ ลดลง โดยเฉพาะความสามารถในการดําเนินชีวิตได้อย่างปกติเหมือ คนทั่วไป ถ้าปัญหานั้นรุนแรงอาจ ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและสังคมโดยรวมโรคสมองเสื่อมเป็นปัญหาสําคัญของประชากรผู้สูงอายุและมีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิต ทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัว จากการศึกษาในประชากรสูงอายุไทย พบความชุกของโรคสมองเสื่อม ร้อยละ 3.4แต่ความชุกตามกลุ่มอายุจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นโดยพบอัตราความชุกร้อยละ 1 ใน กลุ่มอายุ 60-69 ปีร้อยละ 3 ในกลุ่มอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 10 ในกลุ่มอายุ 80-89 ปี ร้อยละ 30 ในกลุ่มอายุ 90 ปีขึ้นไป เมื่อโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การดําเนินของโรคที่ ถดถอยลงอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านความจําและพฤติกรรม รวมถึงระยะเวลาการดําเนินโรคที่นานทําให้ จําเป็นต้องมีผู้ดูแลและเกิดเป็นภาวะพึ่งพา ค่าใช้จ่ายในการดูและผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ความต้องการทางการ พยาบาล และสาธารณสุขจึงมีเพิ่มมากขึ้นในที่สุดกลายเป็นปัญหาสําคัญและเกิดภาวะวิกฤติได้ในอนาคต

สาเหตุ อาการของภาวะสมองเสื่อมในผู้สงูอายุ

โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่ทําให้ผู้ป่วยมีการเสื่อมหน้าที่ของการเรียนรู้และเชาว์ปัญญาอย่างรุนแรงจน รบกวนการทําหน้าที่ทางด้านสังคมหรืออาชีพ มีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ และบางครั้งอาจมีอาการทางจิตได้ ผู้ป่วยจะแสดงออกมาในรูปของความเสื่อมทางสติปัญญา และบุคลิกภาพ เห็นได้ชัดจากการไม่รู้เวลา สถานที่และบุคคล ความจําเสื่อม สติปัญญาเสื่อม วิจารณญาณเปลี่ยนและพบ อารมณ์แปรปรวน ซึ่งพบว่าเมื่อผู้ป่วยเสียความจําระยะสั้นก่อนแล้วจึงสูญเสียความจําระยะยาว คือการที่ ผู้ป่วยมีอาการเสื่อมของการทํางานของสมองทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความจํา ความ รอบรู้ มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและบุคลิกภาพ แต่กลุ่มอาการสมองเสื่อมที่พบมากในผู้สูงอายุนั้น ต้องพิจารณาว่าเกิดขึ้นเนื่องจากอายุมากขึ้นหรือเป็นโรคสมองเสื่อม หากเป็นอาการสมองเสื่อมที่เกิดจากอายุ อายุที่เพิ่มมากขึ้นนั้นโดยมากจะสูญเสียความจําเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะเป็นไปอย่างช้าๆ โดยไม่มีผลต่อการ ทํางานหรือการใช้ชีวิตประจําวันแต่หากเป็นโรคสมองเสื่อมนั้นจะมีอาการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่าและมีการ สูญเสียของสมองส่วนอื่นร่วมด้วย จนผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและมีชีวิตสั้นลง โรคในกลุ่มอาการ สมองเสื่อมที่พบบ่อย คือ โรคอัลไซเมอร์

1. สาเหตุของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ   สาเหตุการเกิดโรคสมองเสื่อม พบได้หลายสาเหตุ ดังนี้

1)  เกิดจากการเสื่อมสลายของเนื้อสมองเนื่องจากเนื้อสมองมีการเส่ือมสลายหรือตายส่วนใหญ่ยังไม่ ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่พบบ่อยในกลุ่มโรคอัลไวเมอร์ โรคพาร์กินสัน และโรคอื่นๆ  
2) เกิดจากหลอดเลือดสมอง เนื่องจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหนาตัว แข็งตัว หรือมีการตีบตัว ผิดปกติ ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลง ถ้าลดลงมากถึงระดับที่ไม่เพียงพอกับการใช้งานของ สมองก็จะทําให้เนื้อสมองตายไป ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มว่าจะมีหลอดเลือดสมองตีบผิดปกติมักจะอยู่ในกลุ่มที่มี ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ผู้ที่มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลสูงหรือผู้ที่สูบบหุรี่
3)  เกิดจากการติดเชื้อในสมองที่มีเชื้อไวรัสหลายชนิด ซึ่งทําให้เกิดการอักเสบในสมอง เช่น ไวรัสสมอง อักเสบที่เกิดจากไวรัสชนิดหนึ่งที่อยู่ในหมูโดยมียุงเป็นพาหะนําโรค ผู้ป่วยจะมีไข้สูงและไวรัสขึ้นสมอง ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตหรือรอดชีวิตแต่มีการเสียหายของเนื้อสมองทําให้เนื้อสมองบางส่วนตายไปเกิดอาการ สมองเสื่อม และในปัจจุบันยังไม่พบเชื้อไวรัสจากวัวหรือโรควัวบ้าเมื่อมีการติดเชื้อทําให้มีการทําลายเนื้อ สมอง
4) เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะวิตามิน เช่น วิตามินบี 1 บี 12 ผู้ที่ขาดวิตามินบี 1 มัก พบในผู้ป่วยที่ติดเหล้าหรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เมื่อได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอ ทําให้เซลล์สมองทํางาน ไม่ได้ตามปกติหรืออาจถึงขั้นเซลล์สมองตายไป วิตามินบี 12 จะได้จากน้ำปลาหรืออาหารจากเนื้อสัตว์ ผู้ป่วยที่ขาดวิตามินบี 12 มักพบในผู้ที่กินมังสาวิรัตอย่างเคร่งครัด และอาจพบในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด กระเพาะอาหารและลําไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นส่วนที่ดูดซึมวิตามินบี 12 เข้าสู่ระบบร่างกาย
5)  เกิดจากการแปรเปลี่ยนของระบบเมตาบอลิกของร่างกาย เช่น การทํางานของต่อมไร้ท่อบางชนิด ผิดปกติ เช่นต่อมไทรอยด์ทํางานมากหรือน้อยไป การทํางานของตับหรือไตผิดปกติทําให้เกิดของเสียคั่งใน ร่างกาย ทําให้สมองไม่สามารถสั่งการได้ตามปกติ ถ้าภาวะอย่างคงเป็นอยู่นานๆ จะทําให้ผู้ป่วยมีอาการ สมองเสื่อมได้
6) เกิดจากการถูกกระทบกระแทกที่ศีรษะอยู่เสมอ ภาวะนี้พบบ่อยในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะได้รับการ กระทบกระแทกที่ศีรษะอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะนักมวย นักกีฬา การกระทบกระแทก ทําให้เนื้อสมองตายเป็น จํานวนมากจะทําให้มีอาการสมองเสื่อม
 7)  เกิดจากเนื้อสมองในสมอง โดยเฉพาะเนื้อสมองที่เกิดจากทางด้านหน้าของสมอง2. อาการโรคสมองเสื่อม   ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งระดับความรุนแรงได้ 3ระดับ ดังนี้
1) ระดับอ่อนหรือไม่รุนแรง (Mild) เป็นระดับที่มีภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการ หลงลืม โดยเฉพาะลืมเรื่องที่เพิ่งเกิด เช่นลืมว่าวางของอยู่ไหน จําชื่อคนหรือสถานที่ที่คุ้นเคยไม่ได้ ส่วน ความจําในอดีตยังดีอยู่เริ่มมีความบกพร่องในหน้าที่การงานและสังคมอย่างเห็นได้ชัดแต่ผู้ป่วยสามารถ ช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจําวันได้ และการตัดสินใจยังค่อนข้างดี
 2) ระดับปานกลาง (MODERATE) ในระยะนี้ความจําจะเริ่มเสื่อมมากขึ้น มีความบกพร่องในความเข้าใจ ความสามารถในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาและการตัดใจ เช่นไม่สามารถคํานวณตัวเลขง่าย ๆ ได้เปิด โทรทัศน์ไม่ได้ทําอาหารที่เคยทําไม่ได้ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เคยทําได้มาก่อน ลืมแม้กระทั่งชื่อคนใน ครอบครัวในช่วงท้ายของระยะนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการทางจิต เช่น ประสาทหลอน ผู้ป่วยในระยะนี้เริ่มไม่ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ การปล่อยให้อยู่คนเดียวอาจเป็นอันตรายจําเป็นต้องอาศัยผู้ดูแลตามสมควร
3) ระดับรุนแรง (SEVERE) ในระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลยแม้แต่การทํากิจวัตร ประจําวัน ต้องมีผู้เฝ้าดูแลตลอดเวลา แม้แต่ความจําก็ไม่สามารถจําสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นได้เลย จําญาติพี่น้องไม่ได้ หรือแม้แต่ตนเองก็จําไม่ได้ มีบุคลิกที่เปลี่ยนไป เคลื่อนไหวช้า ระยะนี้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทําให้เกิด อุบัติเหตุต่อชีวิตได้ ระยะเวลาการดําเนินของโรคอาจแตกต่างกันในแต่ละคน โดยระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมี อาการ (ระดับอ่อน) จนเสียชีวิต (ระดับรุนแรง) โดยเฉลี่ยจะประมาณ 8-10 ปี  

การรักษาป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

การที่เราสามารถทํากิจกรรมอะไรได้ ไม่ว่าจะ กิน จะเดิน จะเล่น จะทํางานต่างๆ ล้วนมาจากการ ทํางานของเซลล์ประสาทในสมอง (neurons) ทั้งนั้น สมัยก่อนเชื่อกันว่าเซลล์ประสาทในสมองคนเรา เสื่อมสภาพตามอายุไขที่มากขึ้น แต่งานวิจัยปัจจุบันค้นพบว่าเซลล์ประสาทถูกผลิตสร้างขึ้นมาใหม่เรื่อย ๆ ตลอดเวลาไม่มีหยุด แต่เซลล์ประสาทจะเสื่อมสภาพและตายไปในที่สุดถ้ามันไม่มีการถูกใช้งานต่างหาก (use it lose)  ตามปรกติแล้วเวลาเราทํากิจกรรมอะไรสักอย่าง เซลล์ประสาทในสมองจะถูกกระตุ้นและจะ เชื่อมต่อกันกับเซลล์ประสาทตัวอื่น ๆ เพื่อส่งต่อพลังงานจนกว่ากิจกรรมที่เราทํา เช่น เวลาเราเล่นดนตรี ทางเดินของเซลล์ประสาทในสมองก็จะถูกสร้างขึ้นเป็นแบบหนึ่ง  เวลาที่เราทํากิจกรรมอะไรสักอย่างซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ทางเดินของเซลล์ประสาทสําหรับกิจกรรมนี้จะถูกกระตุ้นบ่อย ๆ ยิ่งถูกกระตุ้นมากๆเข้าเพราะทํา กิจกรรมนั้นบ่อยๆ ก็ยิ่งทําให้เซลล์ประสาทนั้นแข็งแรงและไม่เสื่อมสภาพลงไปได้ง่าย 
วิธีการที่จะช่วยชะลอความเสื่อมถอยของสมอง และป้องกันโรคหลงลมืเมื่อเข้าสู่วัยชรา ดังนี้
1. ทํางานที่ต้องใช้ความคิดและสมาธิสูง ยิ่งเป็นงานที่ท้าทายและซับซ้อนได้ยิ่งดีพบว่าผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่มีหน้าที่การงานที่ใช้ความคิดมาก ๆ นั้น จะสมองเสื่อมน้อยเป็นสองเท่าของคน อายุรุ่นราวคราวเดียวกันที่ไม่ได้ทํางานที่ใช้สมองมากนัก
2. ทํากิจกรรมเยอะ ๆ  เป็นกิจกรรมอะไรก็ได้ที่นอกเหนือจากงานประจําเป็นได้ทั้งงานอดิเรก งาน บ้าน การทํางานที่ใช้แรงกาย งานรื่นเริงบันเทิงต่าง ๆ  การเล่นเกม การอ่านหนังสือหรือการเย็บปักถักร้อยพบว่าผู้สูงอายุหลังเกษียณที่มีกิจกรรมทําตลอดเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ มี การเสื่อมถอยของสมองน้อยกว่าผู้สูงอายทุี่ไม่มีกิจกรรมทําอย่างมาก
3. หัดเข้าสังคมบ่อย ๆ การไปมาหาสู่เพื่อน ๆ ญาติ ๆ  คนรู้จัก รวมถึงการสร้างสังคมใหม่ ๆ จะช่วย ลดการชราภาพของสมองได้ เพราะการพดูคุยโต้ตอบกบัคนอื่นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ใช้สมองในการคิด  แม้ว่าในปัจจุบันการป้องกันภาวะสมองเสื่อม ยังต้องอาศัยการศึกษาวิจัยยืนยันมากกว่านี้ แต่คุณก็ สามารถป้องกันแต่เนิ่นๆ ได้ โดยปฏิบัติดังนี
            1. รับประทานอาหารครบหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง ใช้น้ำมันพืช  เช่น น้ำมันจากดอกทานตะวัน ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดฟักทอง ถั่วเหลือง รับประทานปลาทะเลให้มาก รวมทั้ง อาหารที่มีวิตามินซี วิตามินอี และกรดโฟลกิ
               2. รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์โดยไม่ให้ดรรชนีมวลกายเกิน 25
            3. หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่ทําให้เกิดอันตรายแก่สมอง เช่น การดื่มเหล้าจัด หรือการรับประทานยา โดยไม่จําเป็น
               4. ไม่สูบบหุรี่หรืออยู่ในที่ๆ มีควันบุหรี่
              5. การพักสมอง ได้แก่ การพยายามให้สมองได้คิดบ่อยๆ เช่น การอ่านหนงัสือ การเขียนหนังสือ บ่อยๆ การคิดเลข การเล่นเกม  การฝากการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆอยู่เสมอ
            6. ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5  ครั้ง เช่น วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยาน เดินเล่น รํามวย จีน เป็นต้น
             7. การพูดคุย พบปะผู้อื่นบ่อยๆ เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยงต่างๆ หรือการเข้าชมรมผู้สูงอายุ  
          8. ตรวจสุขภาพประจําปี หรือมีโรคประจําตัวอยู่เดิมก็ต้องติดตามการรักษาเป็นระยะๆ เช่น การ ตรวจหา ดูแลและรักษาโรคความดันโลหติสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันนาเลือดสูง โรคหัวใจ ฯลฯ
         9. ถ้ามีอาการเจ็บป่วย ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เพื่อลดโอกาสเกิดอาการ สับสนเฉียบพลัน
                10. ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง ระวังการหกล้ม
                11. พยายามมีสติในสิ่งต่างๆ ที่กําลังทําและฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวล
                12. พยายามไม่คิดมาก ไม่เครียด หากิจกรรมต่างๆ ทําเพื่อคลายเครียด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น