วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559

ประเภทของความผิดปกติทางจิต (ต่อ)

ปัญญาอ่อน(Mental Retardation)

  คือ ภาวะที่สมองหยุดพัฒนาหรือพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดความบกพร่องของทักษะต่างๆ เช่น ด้านสติปัญญา ภาษา การเคลื่อนไหว และทางสังคม ภาวะปัญญาอ่อนอาจมีหรือไม่มีความผิดปกติทางกายหรือทางจิตร่วมด้วยก็ได้ ส่วนระดับภาวะของปัญญาอ่อนตามธรรมดาจะประเมินด้วยการตรวจเชาวน์ปัญญาแบบมาตรฐาน แต่การตรวจนี้ อาจแทนด้วยการประเมินความสามารถในการปรับตัวทางสังคม
ซึ่งใช้เพื่อประมาณระดับของภาวะปัญญาอ่อน สำหรับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องจะใช้การทดสอบเชาวน์ปัญญาโดยผู้ตรวจที่มีความชำนาญ ความสามารถทางสติปัญญา และการปรับตัวทางสังคมอาจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากไม่ดีหรือต่ำ มาดีขึ้นจากการฝึกสอนและฟื้นฟูสมรรถภาพ การวินิจฉัยควรพิจารณาระดับความสามารถในเวลาปัจจุบัน  

ภาวะปัญญาอ่อนระดับน้อย (Mild Mental Retardation)ภาวะปัญญาอ่อนระดับน้อย ประมาณระดับเชาวน์ปัญญา (I.Q.) อยู่ระหว่าง 50 - 69(อายุสมองเท่ากับเด็กอายุ 9 ปี-ต่ำกว่า 12 ปี) ทำให้มีปัญหาการเรียนในโรงเรียน ในวัยผู้ใหญ่หลายคนสามารถทำงาน และมีสัมพันธภาพทางสังคมที่ดี และช่วยเหลือสังคมได้

ภาวะปัญญาอ่อนระดับปานกลาง (Moderate Mental Retardation) ภาวะปัญญาอ่อนระดับปานกลาง ประมาณระดับเชาวน์ปัญญา (I.Q.) อยู่ระหว่าง 35 - 49 (อายุสมองเท่ากับเด็กอายุ 6 ปี-ต่ำกว่า 9ปี) ทำให้มีการพัฒนาล่าช้าในวัยเด็ก แต่บางส่วนสามารถเรียนรู้ การช่วยเหลือตนเอง การสื่อความหมาย และทักษะการศึกษา ในวัยผู้ใหญ่ต้องการความช่วยเหลือในระดับต่างๆ ในการอยู่อาศัยและทำงานในชุมชน

ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรง (Severe Mental Retardation)ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรง ประมาณระดับเชาวน์ปัญญา (I.Q.) อยู่ระหว่าง 20 - 34 (อายุสมองเท่ากับเด็กอายุ 3 ปี-ต่ำกว่า 6 ปี) ทำให้ต้องดูแลและช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรงมาก (Profound Mental Retardation) ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรงมาก ประมาณระดับเชาวน์ปัญญา (I.Q.) ต่ำกว่า 20 (อายุสมองเท่ากับเด็กอายุ ต่ำกว่า 3 ปี) จำกัด ความสามารถในทุกด้าน ทั้งเรื่องการดูแลตนเอง การสื่อสารและ การเคลื่อนไหว
คือสภาวะที่เชาวน์ปัญญาต่ำกว่าปกติ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดหรือในวัยเด็ก ทำให้การเรียนรู้ การปรับตัวในสังคม ซึ่งหมายถึงการสามารถพึ่งตนเองและความสามารถรับผิดชอบต่อสังคมตามควรแก่วัยหรือตามที่สังคมของตนหวังไว้บกพร่องไป รวมทั้งการพัฒนาทางบุคลิกภาพ ก็ไม่เจริญสมวัย ทั้งมักพบความผิดปกติในอารมณ์ร่วมด้วย ความรุนแรงของโรคคิดตามระดับ IQ IQ ของคนปกติได้มีผู้ศึกษาหามาตรฐานไว้แล้วว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๐๐ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) เท่ากับ ๑๕ คนที่จัดว่าเป็นปัญญาอ่อนคือ คนที่ระดับ IQ ต่ำกว่า IQ เฉลี่ยมากกว่า ๒ เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ IQ ต่ำกว่า ๑oo-( X ๑๕) เท่ากับ ๗๐ ที่เลือก IQ ๗๐ เป็นขอบเขตสูงสุดของปัญญาอ่อน เพราะคนที่IQ ตั้งแต่ระดับนี้ลงมาจะต้องการการดูแลและการคุ้มครองเป็นพิเศษกว่าเด็กอื่น โดยเฉพาะในวัยเข้าโรงเรียน IQ ต่ำกว่า ๕๐ ถือว่าเชาวน์ปัญญาต่ำมาก และเป็นพวกที่มีความผิดปกติในสมองร่วมด้วยเป็นส่วนใหญ่ตามการจำแนกโรคของสมาคมจิตแพทย์อเมริกันครั้งที่ ๓ ค.ศ. ๑๙๘๐ หรือ DSM-III จะจัดบุคคลอยู่ในกลุ่มปัญญาอ่อนเฉพาะเมื่ออาการของโรคเกิดก่อนอายุ ๑๘ ปีเท่านั้น ในกรณีที่ลักษณะของปัญญาอ่อนปรากฎเป็นครั้งแรกหลังอายุ ๑๘ ปี ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น dementia และคนที่แสดงอาการของปัญญาอ่อนก่อนอายุ ๑๘ ปี แต่เคยมีเชาวน์ปัญญาปกติมาก่อน ควรวินิจฉัยว่าเป็นทั้งdementia และปัญญาอ่อน

ระบาดวิทยา

พบอุบัติการของปัญญาอ่อนประมาณร้อยละ ๑ ของประชากร (dsm-iii) บางตำราว่าสูงถึงร้อยละ ๒-๓ เพศชายพบมากกว่าเพศหญิง สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิงประมาณ ๒ ต่อ ๑ พบในคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำมากกว่าคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง และมักเป็นคนที่อยู่ในชนบทร้อยละ ๑๗ ของผู้ป่วยมีประวัติครอบครัวเป็นปัญญาอ่อนด้วย

สาเหตุ

๑. ปัจจยทางชีววิทยา พบได้ร้อยละ ๒๐-๒๕ ของผู้ป่วยปัญญาอ่อน ที่พบบ่อยคือ ความผิดปกติของโครโมโซมและเมตาบอลิส์ม ได้แก่ Down’s syndrome และ Phenylketonuria ในรายเหล่านี้มักจะวินิจฉัยได้ตั้งแต่เกิด หรือตั้งแต่ยังเล็กมาก ความรุนแรงของโรคจะอยู่ระหว่างปัญญาอ่อนขนาดปานกลางถึงขนาดรุนแรง และพบในคนทุกระดับเศรษฐกิจสังคม ในแม่ที่ดื่มสุราจัดขณะตั้งครรภ์ทารกอาจปัญญาอ่อนได้ปัจจัยทางชีววิทยาจำแนกเป็น
๑.๑ ความผิดปกติในโครโมโซม เช่น Downs syndrome หรือ Mongolism, Turners syndrome และ Klinefelter’s syndrome
๑.๒ การติดเชื้อหรือสภาวะเป็นพิษ (intoxication) ในมารดา ได้แก่ โรค Rubel­la, Toxoplasmosis, Syphilis, Cytomegalic inclusion body disease และ Toxemia pregnancy (ภาวะครรภ์เป็นพิษ)
๑.๓ การติดเชื้อหรือสภาวะเป็นพิษในทารก ได้แก่ การติดเชื้อชนิดต่างๆ ของสมองและเยื่อหุ้มสมอง Kernicterus และ Post-immunization
๑.๔ ความผิดปกติในเมตาบอลิสม์และโภชนาการ ได้แก่ โรค Lipoidoses, Phe­nylketonuria, galactosemia, Hypothyroidism (cretinism) และการขาดอาหาร
๑.๕ ความกระทบกระเทือนต่อสมองจากการคลอด เช่น การกระทบกระเทือนจากเครื่องมือที่ช่วยการคลอด ภาวะขาดอ๊อกซิเจน (asphyxia)
๑.๖ ความบกพร่องของระบบประสาท ได้แก่ Sturge-Weber syndrome, Tube­rous sclerosis (epiloia), Laurence-Moon-Biedle syndrome
๑.๗ ความบกพร่องของกระดูก ได้แก่ Genetic microcephaly, Hypertelolism และOxycephaly
๑.๘ การคลอดก่อนกำหนด (prematurity)

๒. ปัจจัยทางจิต-สังคม (psychosocial factor) หมายถึง พวกที่ไม่พบสาเหตุทางชีววิทยาชัดIจนIQ ของผู้ป่วยที่เกิดจากปัจจัยนี้จะต่ำไม่มาก คือ อยู่ระหว่าง ๕๐-๗๐ และมักจะสังเกตได้เมื่อเข้าโรงเรียน พบในพวกที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำมากกว่า และมีประวัติปัญญาอ่อนในครอบครัวด้วย ปัจจัยนี้ประกอบด้วย
๒.๑ การขาดความสัมพันธ์กับสังคมหรือสิ่งแวดล้อม (psychosocial or environmental deprivation) แบบต่างๆ เช่น การขาดการสังคม ไม่ได้รับการสอน ไม่ได้ยินได้ฟัง หรือขาดการกระตุ้นทางเชาวน์ปัญญา
๒.๒ หลังการเจ็บป่วยทางจิตอย่างรุนแรง
๓. เกิดจากทั้ง ๒ ปัจจัยร่วมกัน เช่น เกิดความผิดปกติทางชีววิทยาและขาดการกระตุ้นทางเชาวน์ปัญญาด้วย
การจำแนกปัญญาอ่อนตามความรุนแรงของอาการ เป็น ๔ ขนาด
๑. ขนาดน้อย (Mild mental retardation) IQ = ๕๐-๗๐
๒. ขนาดปานกลาง (Moderate mental retardation) IQ = ๓๕-๔๙
๓. ขนาดรุนแรง (severe mental retardation) IQ = ๒๐-๓๔
๔. ขนาดรุนแรงมาก (Profound mental retardation) IQ ต่ำกว่า ๒๐

ลักษณะทางคลีนิค

ผู้ป่วยพวกนี้จะมีความสามารถในการเรียนรู้ด้อยกว่าเด็กปกติ พึ่งตนเองไม่ค่อยได้ รับผิดชอบต่อสังคมได้น้อยกว่าที่ควรจะทำได้ตามวัยของตน และการเจริญทางบุคลิกภาพและอารมณ์ ไม่สมวัยนอกจากนั้นยังมักพบปัญหาโรคจิต โรคประสาทร่วมด้วย อาจมีปัญหาทางพฤติกรรม เช่น หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว temper tantrum, stereotyped movement หรือ hyperactivity และบ่อยๆ ที่มีความผิดปกติของระบบประสาทโดยเฉพาะในพวกที่เป็นรุนแรง เช่น หูหนวกหรือ สายตาไม่ดี ชัก หรือ cerebral palsy ยิ่งกว่านั้นการพัฒนาทางร่างกายยังช้าด้วยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่สามารถทำอะไรได้ตามลำพัง เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำและการช่วยเหลือในด้านการเงินอยู่เสม
ลักษณะทางคลีนิคที่ต่างกันในปัญญาอ่อนขนาดต่างๆ
        ก. ขนาดน้อย พบประมาณร้อยละ ๘ของพวกปัญญาอ่อน (DSM-III) ผู้ป่วยจะสามารถเรียนได้ สามารถมีทักษะในการสังคมและการติดต่อสื่อสารในวัยก่อนเข้าโรงเรียน (อายุ ๐-๕ ปี) มีปัญหาในด้าน sensorimotor น้อย และมักจะเห็นไม่ชัดว่าแตกต่างจากเด็กปกติจนกระทั่งอายุมากขึ้น จะเรียนได้ประมาณชั้นประถมปีที่ ๖ ในวัยผู้ใหญ่จะมีทักษะทางสังคมและในงานอาชีพเพียงขั้นต่ำ และจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำหรือการช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาสังคมหรือ ปัญหาเศรษฐกิจ
           ข. ขนาดปานกลาง พบประมาณร้อยละ ๑๒ ของพวกปัญญาอ่อน (dsm-iii) ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถฝึกอบรมได้ ในวัยเก่อนเข้าโรงเรียนเขาจะสามารถพูดหรือติดต่สื่อสารกับผู้อื่นได้ แต่จะไม่รู้ว่าอะไรควรหรืออะไรไม่ควรตามที่สังคมเขาถือกัน อาจฝึกให้ทำงานและดูแลตัวเองได้ เมื่อมีผู้แนะนำ เรียนได้เพียงชั้นประถมปีที่ ๒ สามารถเดินทางไปในที่ๆ คุ้นเคยได้ตามลำพัง ในวัยผู้ใหญ่อาจทำงานที่ไม่ต้องอาศัยความชำนาญพิเศษ หรืองานที่ไม่ต้องอาศัยความชำนาญเลยได้ แต่ต้องมีผู้แนะนำใกล้ชิด
              ค. ขนาดรุนแรง พบประมาณร้อยละ ๗ ของพวกปัญญาอ่อน (dsm-iii) ในวัยก่อนเข้าโรงเรียนจะพบการพัฒนาทางการเคลื่อนไหวและการพูดช้า ภาษาพูดก็ไม่สื่อความหมาย ในวัยเข้าโรงเรียนอาจเรียนที่จะพูดและฝึกเกี่ยวกับอนามัยเบื้องต้นได้ แต่ไม่สามารถฝึกอาชีพ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่อาจทำงานง่ายๆ ได้ถ้ามีผู้แนะนำใกล้ชิด
           ง. ขนาดรุนแรงมาก พบประมาณร้อยละ ๑ ของผู้ป่วยปัญญาอ่อน (dsm-iii) การพัฒนาทางระบบ sensorimotor ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะน้อยมาก ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมซึ่งส่งเสริมการพัฒนาของเด็กอย่างสูง และการดูแลอย่างสม่ำเสมอในวัยก่อนเข้าโรงเรียน อาจมีการเจริญทางการเคลื่อนไหวมากขึ้น แต่ฝึกให้ช่วยตัวเองได้น้อยมาก ภาษาพูดบางอย่างและการเคลื่อนไหว อาจจะเกิดเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นเด็กพวกนี้อาจช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย
การฟื้นฟูสมรรถภาพในบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา  มีดังนี้   
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical Rehabilitation)
       การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในช่วงแรกเกิด – 6 ปี ได้แก่ การส่งเสริมป้องกัน บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ นอกจากการส่งเสริมสุขภาพเช่นเด็กปกติ การบำบัดรักษาความผิดปกติที่อาจพบร่วมด้วย เช่น โรคลมชัก Cretinism, PKU, cerebral palsy, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนที่พบในกลุ่มอาการดาวน์ ให้การส่งเสริมพัฒนาการเพื่อพัฒนาทักษะด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ภาษา สังคมและการช่วยเหลือตนเองเพื่อให้เด็กมีความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษา การดูแลโดยทีมสหวิชาชีพ เช่น อรรถบำบัด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด เป็นต้น
การส่งเสริมพัฒนาการ(Early Intervention)
      การส่งเสริมพัฒนาการ หมายถึง การจัดโปรแกรมการฝึกทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่พัฒนาการปกติตามวัยของเด็ก จากการวิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับการฝึกทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาแต่เยาว์วัย จะสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าการฝึกเมื่อเด็กโตแล้ว ทันทีที่วินิจฉัยว่าเด็กมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา เช่น เด็กกลุ่มอาการดาวน์ หรือเด็กที่มีอัตราเสี่ยงสูงว่าจะมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนด มารดาตกเลือดคณะตั้งครรภ์ เป็นต้น สามารถจัดโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กกลุ่มนี้ได้ทันที โดยไม่ต้องนำเด็กมาไว้ที่โรงพยาบาล  โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการ คือ การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเด็ก บิดามารดา และคนเลี้ยงดู    มีบทบาทสำคัญยิ่งในการฝึกเด็กให้พัฒนาได้ตามโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ ผลสำเร็จของการส่งเสริมพัฒนาการจึงขึ้นอยู่กับความร่วมมือ และความตั้งใจจริงของบุคคลในครอบครัวของเด็กมากกว่าผู้ฝึกที่เป็นนักวิชาชีพ (Professional staff)   
      กายภาพบำบัด
     เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญามักจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (motor development) ช้ากว่าวัย นอกจากนี้เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาขนาดหนักและหนักมาก ส่วนใหญ่ก็จะมีความพิการทางระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ด้วย ทำให้มีการเกร็งของแขน ขา ลำตัว จึงจำเป็นต้องแก้ไขอาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เพื่อช่วยลดการยึดติดของข้อต่อ และการสูญเสียกล้ามเนื้อ เด็กจะช่วยตัวเองได้มากขึ้น เมื่อเจริญวัยขึ้น
 กิจกรรมบำบัด
การฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ การใช้มือหยิบจับสิ่งของ ฝึกการทำงานของตาและมือให้ประสานกัน (eye-hand co-ordination) เด็กสามารถหยิบจับสิ่งของ เช่น จับถ้วยกินน้ำ จับแปรงสีฟัน หยิบช้อนกินข้าว การรักษาทางกิจกรรมบำบัด จะช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นไปอย่างราบรื่นและสะดวกขึ้น
 อรรถบำบัด
เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเกินกว่าร้อยละ 70 มีปัญหาการพูดและการสื่อความหมาย กระบวนการฝึกในเรื่องนี้ มิใช่เพื่อให้เปล่งสำเนียงเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจเท่านั้น แต่จะเริ่มจากเด็กต้องฝึกใช้กล้ามเนื้อช่วยพูด บังคับกล้ามเนื้อเปล่งเสียง ออกเสียงให้ถูกต้อง ซึ่งการฝึกพูดต้องกระทำตั้งแต่เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี จึงจะได้ผลดีที่สุด
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา (Educational Rehabilitation)
   ในช่วงอายุ 7 – 15 ปี มีการจัดการการศึกษาโดยมีแผนการศึกษาสำหรับแต่ละบุคคล (Individualized Educational Program : IEP)  ในโรงเรียนซึ่งอาจเป็นการเรียนในชั้นเรียนปกติ เรียนร่วม หรือมีการจัดการศึกษาพิเศษ ในประเทศไทยโรงเรียนที่รับเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญามีอยู่ทั่วไปทั้งในกรุงเทพมหานครและในต่างจังหวัด แต่ในทางปฏิบัติก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับเด็กกลุ่มนี้
3.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ (Vocational Rehabilitation)
   เมื่ออายุ 15-18 ปี เป็นการฝึกวิชาชีพและลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน เป็นสิ่งจำเป็นมากต่อการประกอบอาชีพในวัยผู้ใหญ่ ได้แก่ ฝึกการตรงต่อเวลา รู้จักรับคำสั่งและนำมาปฏิบัติเอง โดยไม่ต้องมีผู้เตือน การปฏิบัติตนต่อผู้ร่วมงานและมารยาทในสังคม เมื่อเข้าวัยผู้ใหญ่ควรช่วยเหลือให้ได้มีอาชีพที่เหมาะสม  ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลปัญญาอ่อน สามารถดำรงชีวิตอิสระ (independent living) ในสังคมได้อย่างคนปกติ  (normalization) อาชีพที่บุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาสามารถทำได้ดี ได้แก่ อาชีพงานบ้าน งานบริการ งานในโรงงาน งานในสำนักงาน เช่น การรับส่งหนังสือ ถ่ายเอกสาร เป็นต้น ในประเทศไทย หน่วยงานที่ให้บริการด้านนี้ยังมีน้อย
คำแนะนำ
 การฝึกสอนบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญามีจุดมุ่งหมายสูงสุด เพื่อให้มีความเป็นอยู่ใกล้เคียงคนปกติซึ่งจะประสบความสำเร็จหรือไม่เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับตัวแปรต่อไปนี้ คือ
 1.ระดับของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย มีโอกาสจะพัฒนาให้สามารถดำเนินชีวิตใกล้เคียงบุคคลปกติได้ดีกว่า ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลางหรือรุนแรง
 2. ความผิดปกติที่พบร่วมด้วยซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทำให้ไม่ประสบผลดีเท่าที่ควร
3.การส่งเสริมพัฒนาการ ถ้าเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะมีความพร้อมในการเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนทั่วไป มากกว่าการฝึกเมื่อเด็กโตแล้ว
  4.ความร่วมมือของครอบครัวเด็ก ครอบครัวมีความสำคัญต่อเด็กมากที่สุด ตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต จึงควรจะเตรียมครอบครัวให้เข้าใจความพิการของเด็ก ข้อจำกัดของความสามารถ ความต้องการพิเศษ ความคาดหวัง ตลอดจนวิธีการอบรมเลี้ยงดูและฝึกสอนในทิศทางที่ถูกต้อง เพราะสมาชิกทุกคนในครอบครัวมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กอย่างยิ่ง
การป้องกันภาวะบกพร่องทางสติปัญญา  สามารถป้องกันได้ดังนี้
1.  ระยะก่อนตั้งครรภ์
ประชาชนควรได้รับความรู้เรื่องภาวะบกพร่องทางสติปัญญา และสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ เช่น การให้วัคซีนหัดเยอรมัน หรือ เกลือไอโอดีน  ให้คำแนะนำคู่สมรสเรื่องอายุมารดาที่เหมาะในการตั้งครรภ์(19-34 ปี) และระยะห่างระหว่างตั้งครรภ์ (ปี) โรคทางพันธุกรรมที่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ก่อนตั้งครรภ์และก่อนคลอด รวมทั้งการวางแผนครอบครัว
2. ระหว่างตั้งครรภ์ 
         ควรฝากครรภ์ที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาล เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงและหญิงตั้งครรภ์ได้รับวัคซีนที่จำเป็นครบถ้วน ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์อย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า การสูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติด ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะอาจมีผลต่อทารกในครรภ์  แนะนำการส่งเสริมสุขภาพจิตในครอบครัว และการวินิจฉัยก่อนคลอด
3. ระยะคลอด
        ควรคลอดในสถานบริการสาธารณสุข  เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ  ที่อาจเกิดขึ้น                    
 4. ระยะหลังคลอด
          ควรให้แม่และลูกได้อยู่ด้วยกันเร็วที่สุด เพื่อให้ลูกได้ดื่มนมแม่ซึ่งมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆและมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองของลูก ระวังเรื่องตัวเหลืองในทารกแรกเกิด  ให้วัคซีนป้องกันโรค ติดตามภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเสี่ยง  ให้ความรู้แก่พ่อแม่ในการดูแลลูกยามเจ็บป่วย ระวังโรคติดเชื้อ สารพิษ และการกระทบกระเทือนต่อศีรษะลูก ให้ความรักและเอาใจใส่ต่อลูก          บุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาสามารถเรียนรู้ และดำเนินชีวิตอย่างทัดเทียมและมีความสุขในสังคมได้เช่นเดียวกับบุคคลปกติ ถ้าสังคมเปิดโอกาสและให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม อันจะเอื้ออำนวยให้บุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาได้ใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า
โรคจิตสรีระแปรปรวน (Psychophysiologic disorder)

Psychophysiologic disorder หรือโรคจิตสรีระแปรปรวน มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่นPsychosomatic disorder Psychological factors affecting physical condition โรคในกลุ่มนี้ หมายถึง ภาวะที่มีความผิดปกติของร่างกาย หรือโรคทางกายเกิดขึ้นโดยปัจจัย ทางจิตใจมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดโรค หรือทำให้ความผิดปกตินั้นๆมีอาการรุนแรงขึ้น และความผิดปกตินั้น จะต้องมีพยาธิสภาพทางกาย(Organic pathology) หรือพยาธิ สรีรวิทยา(pathophysiology) ปรากฏชัดเจน จึงไม่รวมโรคในกลุ่ม somatoform disorders ซึ่งได้แก่ somatization disorder, conversion, hypocondriasis และpsychogenic pain disorder
 VI. โรคในระบบต่างๆที่จัดว่าเป็นโรคจิตสรีระแปรปรวน
1)            Skin Eczema Pruritus Urticaria Neurodermatitis Psoriasis Alopecia
2)            Musculoskeletal Backpain Tension headache Rheumatoid arthritis
3)            Respiratory Bronchial asthma Hyperventilation syndrome
4)            Cardiovascular Migraine Angina pectoris Myocardial infarction Essential hypertension
5)             Gastrointestinal Peptic ulcer (duodenal ulcer) Ulcerative colitis Irritable bowel syndrome
6)            Genitourinary Premenstrual syndrome & Dysmenorrhea
7)            Endocrine Obesity Anorexia nervosa Sterity & repeated spontaneous abortion
8)             Autoimmune Graves’s disease Hashimoto’s thyroiditis SLE Myasthenia gravis Pernicious anemia Others, eg. :rhumatoid arthritis ulcer colitis psoriasis VII.

หลักการรักษา การรักษาผู้ป่วยโรคจิตสรีระแปรปรวน อาจเป็นการรักษาโดยแพทย์ทั่วไปหรือรักษาร่วมกับ จิตแพทย์(collaborative approach)

 1. การรักษาโดยแพทย์ทั่วไป

1.1 การวินิจฉัย แพทย์ผู้รักษาอาจจะต้องได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจสภาพจิตโดยละเอียด เพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาทางจิตใจและสังคม กับการเกิด อาการทางกาย ตลอดจนลักษณะบุคลิกภาพของผู้ป่วยที่มีผลต่อการเจ็บป่วยและการรักษา
1.2 การรักษาอาการทางกาย ให้การรักษาตามอาการของโรคทางกายแต่ละชนิด
1.3 การช่วยเหลือด้านจิตใจและสังคม ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดูแลรักษา ผู้ป่วยทุกประเภท ผู้ป่วยโรคจิตสรีระแปรปรวนมักจะเป็นผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจ และอาจมีปัญหา เรื่องการให้ความร่วมมือในการรักษา ผู้ป่วยบางรายอาจจะปฏิเสธการเจ็บป่วยของตน (denial) ทำให้ไม่ปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบางรายอาจจะพึ่งพิง (dependent) กับผู้ รักษามาก ทำให้ผู้รักษาเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ฉะนั้นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์กับ ผู้ป่วยจึงมีความสำคัญมาก แพทย์ควรที่จะมีท่าทีที่รับฟัง เห็นอกเห็นใจ ไม่ปฏิเสธผู้ป่วย ไม่ มองว่าเป็นโรค แกล้งทำ” หรือ คิดมากจนไม่หาย” เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง มากขึ้น เพื่อต้องการแสดงว่าตนป่วยจริง เทคนิคที่เป็นประโยชน์คือ
1.3.1 การให้ความมั่นใจ(reassurance) เป็นการชี้แจงเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจ ขจัดข้อ สงสัยและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักของเหตุผลและความ เป็นจริง
1.3.2 การให้คำอธิบาย(explanation) เป็นการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับปัญหาที่ผู้ป่วยต้อง เผชิญ เช่น อาการเจ็บปวด การต้องอยู่โรงพยาบาล ต้องนอนพักบนเตียง จำกัดอาหาร ฯลฯ การที่ผู้ป่วยมีความเข้าใจและทราบถึงสิ่งที่ต้องเผชิญล่วงหน้า จะทำให้ผู้ป่วยมีความพร้อมใน การปรับตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นการลดภาวะ stress ให้น้อยลงด้วย
1.3.3 การชี้แนะ(directive technique) คือการบอกสิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติ เช่น หลีกเลี่ยงปัจจัย เสี่ยงต่างๆ รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
1.3.4 การเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจต่างๆ(ventilation)ก็จะช่วยลด stress ในผู้ป่วยได้เช่นกัน
1.3.5 การจัดการกับสิ่งแวดล้อม(environmental manipulation)หมายถึงการปรับเปลี่ยนสภาพ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งบุคคลรอบข้างผู้ป่วยด้วย โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดภาวะ stress ที่เกิดจาก สิ่งแวดล้อมและคนรอบข้าง และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับสถาน-การณ์ต่างๆได้ดีขึ้น

2. การรักษาทางจิตเวช

 2.1 แพทย์ผู้รักษาอาจจะปรึกษาจิตแพทย์ให้ช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกันได้หากการรักษา ทางกายร่วมกับการช่วยเหลือทางจิตใจและสังคมทั่วๆ ไปดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผลดี หรือ พิจารณาเห็นว่า ผู้ป่วยมีปัญหาทางจิตใจมาก สมควรที่จะได้รับการช่วยเหลือแก้ไขสาเหตุ การส่งผู้ป่วยไปรับ การรักษาทางจิตเวชนั้น แพทย์ควรเตรียมผู้ป่วยและอธิบายถึงเหตุผลที่ส่งปรึกษาก่อนจะช่วย ให้การรักษาได้ผลยิ่งขึ้น
2.2 การรักษาทางจิตเวชที่ใช้ในโรคจิตสรีระแปรปรวน ได้แก่
2.2.1 การทำจิตบำบัด (psychotherapy)
2.2.2 Relaxation therapy 2.2.3 Biofeedback
2.2.4 Group & family therapy

3. การป้องกัน การป้องกันโรคจิตสรีระแปรปรวนอาจทำได้หลายวิธี เช่น

3.1 การส่งเสริมสุขภาพจิตทั่วๆไป
3.2 การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคจิตสรีระแปรปรวนที่พบบ่อย เช่นความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น เพื่อให้รู้จักป้องกัน หรือมารับการตรวจรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อป้องกันภาวะ แทรกซ้อน
3.3 Stress management การจัดโปรแกรมลดความเครียดต่างๆ เช่น ความเครียดในการ ทำงาน การดำเนินชีวิตทั่วๆไป โดยแนะนำให้รู้จักวิธีคลายความเครียดและจัดการระบบการ ทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวันในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดความเครียด หรือให้เกิดน้อยที่สุด ตลอดจนการรู้จักใช้กลไกลในการแก้ปัญหา(coping mechanism) ที่เหมาะสม XI. โรคจิตสรีระแปรปรวนที่พบบ่อย

1. โรคหลอดเลือดหัวใจ(coronary heart disease) โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศไทย รองจากการตาย ด้วยอุบัติเหตุ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค (risk factors) ที่สำคัญได้แก่
1.1 ปัจจัยด้านโภชนาการ (dietary factors) เช่น การกินอาหารที่มีsaturated fat, cholesterol และ calories สูง
1.2 ความผิดปกติในระบบต่างๆของร่างกาย เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไต hypothyroidism, gout
1.3 นิสัยความเป็นอยู่ เช่น สูบบุหรี่จัด ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารมากเกินความ ต้องการของร่างกาย
1.4 ปัจจัยทางจิตสังคม (psychosocial factors) เช่น type A behaviorปัญหาในการทำงาน และชีวิตครอบครัว อารมณ์ เศร้าและวิตกกังวล
1.5 ประวัติครอบครัวของ premature atherosclerotic หรือ ความดันเลือดสูง ปัจจัยด้านจิตใจ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีการศึกษากันมากที่สุด คือ type A behavior ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ ความรู้สักเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา (excess of time urgency) และ ความรู้สึกขุ่นเคืองที่เกิดร่วมกับความรู้สึกแข่งขันสูง (competitive hostility) พบว่าผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบtype A มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้ที่มีบุคลิกภาพ แบบ type B 1.7 – 4.5 เท่า และมีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในเลือดหลาย ประการ เช่น มีระดับไขมันในเลือดสูงและมี diurnal secretion ของadrenalin เพิ่มขึ้น
 การป้องกัน
1. การปรับพฤติกรรมเกี่ยวกับนิสัยการดำรงชีวิต เช่น งดสูบบุหรี่ ลดน้ำหนักออกกำลังกาย สม่ำเสมอ กินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และควบคุมความดันโลหิต
2. ปรับปรุงและแก้ไข type A behavior โดยใช้
ก. Stress management training โดยใช้ - relaxation - identification and control of situations inducing stress
ข. การปรับแบบแผนการดำเนินชีวิต เช่น จัดลักษณะการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันให้ลด การแข่งขัน ความเร่งรีบ และปัจจัยต่างๆที่จะกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ขุ่นเคืองหรืออารมณ์โกรธ

2. กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction) ผู้ป่วยอาจมีปฏิกิริยาต่อการเกิดอาการเกิดอาการ Angina attack ได้หลายแบบ ที่พบบ่อยคือ ความรู้สึกกลัว และการตอบสนองโดยใช้ minimization หรือ denial คือ ไม่ยอมรับว่าตนเอง ป่วยหรืออาจป่วยเป็นโรคหัวใจ เช่น พยายามอธิบายว่าเป็นอาการท้องอืด เสียดท้อง ปฏิกิริยา ดังกล่าวพบมากในผู้ป่วยที่เคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อนมากกว่าผู้ป่วยที่มีอาการเป็นครั้ง แรก ซึ่งมีผลทำให้ผู้ป่วยมารับการรักษาช้า นอกจากนี้ยังอาจมีปฏิกิริยาแบบต่างๆดังที่มีผู้แบ่ง ปฏิกิริยาของผู้ป่วยต่อการเกิดโรคหัวใจออกเป็น
1. ยอมรับอาการเจ็บป่วยตามความเป็นจริง ให้ความร่วมมือในการรักษาและฟื้นฟู สุขภาพอย่างเหมาะสม
2. คิดว่าตนเองป่วยอยู่ตลอดเวลา ( perpetuation of sick role) มีลักษณะต้องการพึ่งพิงผู้อื่น สูง อาจมีความวิตกกังวล อารมณ์เศร้าและอาการ conversion ร่วมด้วย
3. ปฏิเสธความสำคัญของการเจ็บป่วย และพยายามดำเนินชีวิตไปตามปกติ
4. ใช้การเจ็บป่วยเป็นเครื่องมือในการควบคุมคนอื่น โดยใช้ความรู้สึกผิดและความเห็นอก เห็นใจของผู้อื่นกระตุ้นให้เข่าทำตามที่ตนต้องการ ปฏิกิริยาของผู้ป่วยมักจะเป็นไปตามขั้นตอนของการเจ็บป่วยแต่ละขั้น คือ
1. ก่อนเข้าโรงพยาบาล(pre-hospital phase) ปัญหาสำคัญคือ การปฏิเสธการเจ็บป่วยทำให้ มารับการรักษาล่าช้า ปัจจัยที่ช่วยลดการมารับการรักษาล่านี้ได้มาก คือ คำแนะนำจากคนใกล้ ชิด ดังนั้น การให้การศึกษาแก่ญาติของผู้ป่วยอย่างถูกต้องจึงมีความสำคัญมาก
 2. ระยะเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล (hospital phase) ปัญหาที่พบบ่อย คือ ความวิตกกังวล อารมณ์เศร้า และการไม่ร่วมมือในการรักษา ความวิตก กังวลจะสูงมากใน 1-2 วันแรก และลดลงเมื่ออาการดีขึ้น หลังจากนั้นผู้ป่วยอาจปฏิเสธอาการเจ็บป่วย ไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ หรือมีอารมณ์เศร้าที่รู้ว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ การไม่ ร่วมมือในการักษามักจะเกิดหลังจากพ้นขีดอันตรายแล้ว คือ หลังจากวันที่ 4 ของการเข้าอยู่ใน โรงพยาบาลเป็นต้นไป มักเกิดการ denial และ dependency conflict นอกจากนี้ผู้ป่วยปักจะมีปัญหา sleep disturbance หลังจากเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย เฉียบพลัน เนื่องจาก sleep physiology เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับ อารมณ์เศร้า หรือความวิตกกังวล การรักษาใช้ยากลุ่ม benzodiazepines
3. ระยะหลังออกจากโรงพยาบาล (post hospital phase ) มักจะมีอาการซึมเศร้า (home coming depression) รู้สึกอ่อนแอช่วยตนเองไม่ได้ (ego infarction) อ่อนเพลีย ไม่มีเรียวแรง อาการเหล่านี้มักเริ่มดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ และดีขึ้น เรื่อยๆ อาการจะดีขึ้นเร็วถ้าผู้ป่วยมี physical activity ได้มาก ผู้ป่วย 85 % จะกลับไปทำงานได้ ภายใน 3 เดือน
การดูแลรักษาผู้ป่วย
1. Reassurance – ให้กำลังใจและให้การศึกษาผู้ป่วย ว่ามีโอกาสกลังเป็นปกติได้ อธิบายถึง การตรวจรักษาและการเจ็บป่วยให้ชัดเจน ยกตัวอย่างคนที่รักษาหายและกลับไปทำงานเป็น ปกติได้หลังจากมีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
2. ตระเตรียมผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน - บอกผู้ป่วยไว้ล่วงหน้าว่า อาจจุรู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรง หมดกำลังใจได้เป็นปฏิกิริยาที่พบได้ บ่อย ให้คำอธิบายว่าอาการอ่อนเพลียไม่มีแรง เป็นจาก muscle atrophy ไม่ใช่จากโรคหัวใจ และจะแก้ไขได้โดยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
 - ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยา อาหาร การออกกำลังกาย การทำงาน การมีเพศสัมพันธ์อย่าง ชัดเจนโดยควรให้ผู้ป่วยหรือญาติจดหรือมีเอกสารที่แนะนำการปฏิบัติตัวหลังการเจ็บป่วย เช่น การมีเพศสัมพันธ์ใช้พลังงานเท่ากับการเดินขึ้นบันไดตึก 1 ช น มักมีเพศสัมพันธ์ได้ 1 เดือน หลังจากมีอาการ
- การใช้ยาทางจิตเวช อาจใช้ antixiety ในรายที่มีความวิตกกังวลสูง ส่วนการใช้ยาตัวอื่นๆ เช่น antidepressants และ antipsychotics อาจใช้ได้ตามความจำเป็น แต่ต้องระมัดระวังอันตราย จากฤทธิ์ข้างเคียงต่อหัวใจ
4. การทำจิตบำบัดกลุ่ม
 -เน้นที่การให้การศึกษาและให้ผู้ป่วยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับ การเจ็บป่วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจและสบายขึ้น

3. โรคความดันโลหิตสูง (Essential hypertension) โรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ทราบสาเหตุ (essential hypertension) เป็นโรคที่พบบ่อย และ เป็นสาเหตุของการตายที่สำคัญเหตุหนึ่ง ปัจจัยที่มีผลต่อโรคความดันโลหิตสูงมีหลายประการ (multifactorial) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านจิตใจและสังคม ได้แก่
1. ปัจจัยด้านสังคม (sociological factors) พบอุบัติการของความดันโลหิตสูงในเขตที่มีความเครียดและความขัดแย้งทางสังคมสูงมากขึ้น และความดันโลหิตในสังคมที่มีประเพณีและโครงสร้างทางสังคมที่มั่นคงมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่า เขตอื่น การศึกษาในสัตว์ทดลองก็แสดงให้เห็นว่าสภาวะแวดล้อมที่ทำให้เกิดความเครียด เช่น สภาพแออัดยัดเยียด สถานที่ที่ต้องมีการเผชิญหน้าหรือพบกับอันตรายอยู่เสมอๆเป็นเวลานาน ทำให้มีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตสูงขึ้น
2. ปัจจัยด้านจิตวิทยา (psychological factors) การเปลี่ยนแปลงในชีวิตหรือเหตุการณ์ต่างๆที่ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนจิตใจ อาจกระตุ้น ให้เริ่มเกิดความดันโลหิตสูงหรือมีอาการรุนแรงขึ้นได้ การศึกษาด้านบุคลิกภาพพบว่าผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง มักเป็นผู้ที่เก็บกดความโกรธและ ความรู้สึกก้าวร้าวไว้ภายใน ขณะที่ลักษณะภายนอกจะเป็นคนยอมคน ขี้เกรงใจ ชอบทำให้ผู้ อื่นพอใจ และพยายามควบคุมตนเองให้เป็นคนดีในสายตาผู้อื่นอยู่เสมอ การที่ผู้ป่วยเก็บกด ความโกรธไว้จะมีผลให้มีความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการหลั่ง noradrenalin มาก มี ลักษณะเหมือนอยู่ในภาวะฉุกเฉินตลอดกาล (permanent emergency) ความเครียดเป็นสภาวะที่มีผลอย่างมากต่อความดันโลหิตสูง ในอาชีพที่มีความเครียดสูง เช่น พนักงานควบคุมหอการบิน พบว่ามีระดับความดันโลหิตสูงกว่าเฉลี่ย
การรักษาด้านจิตใจ
1. การใช้ behavior therapy โดยใช้ relaxation training และbiofeedback ได้ผลค่อนข้างดี
2. ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งในการรักษา คือ ผู้ป่วยมักไม่ร่วมมือในการรักษาเนื่องจากเป็น โรคที่ไม่มีอาการแสดงให้เห็นชัดเจน โดยเฉพาะในระยะต้น แนวทางการปฏิบัติเพื่อให้ผู้ป่วย ร่วมมือในการรักษาดีขึ้น ได้แก่
1) สร้างความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยที่ดี ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าการรักษาเป็นความ รับผิดชอบร่วมกันระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย และขึ้นกับความร่วมมือของผู้ป่วยเองด้วย
 2) ให้เวลากับผู้ป่วยมากพอ
3) อธิบายแผนการรักษาให้ผู้ป่วยฟังอย่างชัดเจน
4) ปรับการให้ยาให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
5) ขอความร่วมมือและช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย
6) อธิบายฤทธิ์ข้างเคียงที่อาจเกิดจากยาที่ใช้ในการรักษาให้ผู้ป่วยทรายไว้ก่อน
7) คอยติดตามอาการและดูความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยอยู่เสมอถ้าเห็นว่ามีปัญหาก็ พยายามแก้ไข

4. โรคแผลในกระเพาะอาหาร ( peptic ulcer) โรคแผลในกระเพาะอาหารนี้แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ duodenal ulcer และ gastric ulcer ซึ่งมี ลักษณะแตกต่างกันหลายประการ คือ duodenal ulcer พบมากในพวกที่มีเลือดกลุ่ม พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง (3:1) และพบมากในผู้ชายอายุน้อย มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร (HCL) และ pepsin สูง และมี ระดับ pepsinogen กับuropepsin ในเลือดสูง gastric ulcer พบมากในผู้ที่มีเลือดกลุ่ม พบในผู้หญิงและผู้ชายเท่ากัน และพบมากตาม อายุที่เพิ่มขึ้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งของกระเพาะอาหาร และมีระดับกรดใน กระเพาะอาหารและ pepsinปกติ กลุ่มอาการที่เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางจิตใจ คือ duodenal ulcer ทฤษฎีด้านจิตสรีระแปรปรวนเกี่ยวกับสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
1. บุคลิกภาพ ทฤษฎีจิตวิทยาเกี่ยวกับสมุฏฐานของโรคแผลในกระเพาะอาหารเน้นถึงปัญหา dependency conflict มากที่สุด แต่การศึกษาในระยะหลังไม่สนับสนุนว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมี บุคลิกภาพอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ Engel ได้แบ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ออกเป็น 3 ลักษณะ คือ pseudoindependent passive dependent และ impulsive immature
2. Specificity theory ในการศึกษาผู้ป่วยซึ่งเป็นชายหนุ่มในชนชั้นกลาง Alexander พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความขัดแย้งในจิตไร้สำนึกเกี่ยวกับความรู้สึกต้องการพึ่งพิง ต้องการความรัก ความเอาใจใส่ และใช้กลไกการป้องกันตนเองแบบ overcompensation ทำให้มีบุคลิกภาพ ภายนอกแบบเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นทะเยอทะยานชอบ แข่งขัน(psedoindepenndent,striving, ambitious,highly competitive) แต่ภายในจิตใต้สำนึกก็ยังคงมีความต้องการพึ่งพิงอยู่ตลอด เวลา (persisting ungratified unconscious dependency) ทำให้เกิดchronic unconscious ” hunger” และมี persistent vagal hyperactivity นอกจากนี้ Alexander ยังอธิบายด้วยว่า ปัจจัยทางพันธุกรรมจะมีผลเป็น predisposing factor ทีทำให้เกิดอาการ ซึ่งต่อมาพบว่าการมีระดับ pepsinogen สูงสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ได้ในแบบ autosomal recessive
การรักษา การรักษาที่สำคัญคือ การรักษาอาการทางกายในขณะเดียวกันการช่วยลดความเครียด (13) และปัญหาของผู้ป่วยตลอดจนความขัดแย้งเกี่ยวกับความรู้สึกต้องการพึ่งพิง จะช่วยให้ผลการ รักษาดีขึ้น การตอบสนองต่อความต้องการพึ่งพิงในจิตใต้สำนึกของผู้ป่วย โดยไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึก เสียหน้าหรือสูญเสียความมั่นใจในตนเอง อาจทำได้โดยการแนะนำให้พักผ่อน หางานอดิเรก ให้คนใกล้ชิดช่วยดูแลรวมทั้งผลจากความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยในการรักษา เช่น การนัดอ่างสม่ำเสมอให้เวลาอธิบายเกี่ยวกับการเจ็บป่วย และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตัวในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ยา การกินอาหาร

 5. โรคหอบหืด (Bronchial Asthma) ปัจจัยทางจิตใจ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดหรือทำให้มี อาการรุนแรงขึ้น โดยมีบทบาทร่วมกับปัจจัยอื่นๆ คือ กรรมพันธุ์ ภูมิแพ้ การติดเชื้อ อากาศเย็น การออกกำลังกาย กลิ่นต่างๆ ฝุ่นละออง ลักษณะทางจิตวิทยาของผู้ป่วยโรคหอบหืด
1. ไม่มีบุคลิกภาพเฉพาะที่พบในผู้ป่วยทุกราย

2. พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคนี้มีความรู้สึกต้องการการปกป้องคุ้มครองอยู่ในจิตใต้ สำนึก โดยมากมักต้องการการปกป้องคุมครองจากบุคคลใกล้ชิดโดยเฉพาะแม่ อาการจะเป็น มากเมื่อต้องแยกจากบุคคลที่เป็นที่รักเพราะกลัวการพลัดพราก หรืออาจมีอาการดีขึ้นเมื่อแยก จากบุคคลที่ใกล้ชิด เพราะมีความขัดแย้งในจิตใจเกี่ยวกับความรู้สึกต้องการการปกป้องของ ตนเองก็ได้ ลักษณะต้องการปกป้องคุ้มครองอย่างมากดังกล่าว มีผู้กล่าวว่าเกิดจากการเลี้ยงดู ของแม่ในวัยเด็ก แต่การศึกษาพบว่าลักษณะของแม่ก็อาจมีได้หลายลักษณะต่างๆกันไป นอกจากนี้ ในบางรายสาเหตุอาจเป็นจากความขัดแย้งในจิตใจในเรื่องอื่นนอกจากนี้ก็ได้ กลไกการเกิดอาการจากสาเหตุกระตุ้นทางจิตใจ เชื่อว่าผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติ โดย ผ่าน vagal nerve ไปมีผลต่อการควบคุม bronchoconstriction และการเกิด ปฏิกิริยาแบบ ภูมิแพ้ (alllergic reaction) ในปอด การรักษา นอกจากการรักษาอาการทางกายแล้ว ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง การช่วยเหลือด้านจิตใจ มักเป็นแบบประคับประคองตามปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคน และการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยมีการปรับ ตัวในด้านต่างๆดีขึ้น รวมทั้งการปรับตัวต่อการเจ็บป่วย


การเบี่ยงเบนทางเพศ (Sexual Deviation)

ระบาดวิทยา
ปัญหาที่พบบ่อยในเพศหญิงได้แก่ low sexual interest และ difficulty with orgasm ส่วน ปัญหาในเพศชายได้แก่ low sexual interest และ premature ejaculation ประมาณกันว่าปัญหาทางเพศเกิดขึ้นบ่อยกว่าที่เราคิดกันมาก แต่เราไม่สามารถบอกได้ แน่นอนว่าจะมีผู้ที่มีปัญหาทางเพศมากน้อยเพียงใด เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวที่คนเรามักไม่ เปิดเผยแม้ในสังคมตะวันตกก็ตาม สาเหตุ ปัญหาทางเพศอาจมีสาเหตุจากโรคทางกาย หรือโรคทางจิตเวช หรืออาจเกิดจากยาที่ใช้ รักษาโรคต่าง ๆ ได้ ดังตารางที่ 2นอกจากนี้แล้ว สาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือปัจจัยทางจิตใจ ที่สำคัญได้แก่
 - การขาดความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาที่ถูกต้อง
- ความกังวลเวลามีเพศสัมพันธ์ เช่น กลัวว่าจะทำได้ไม่ถูกใจภรรยา กลัวตั้งครรภ์ กลัวเจ็บ
- ความเคยชิน เช่น ก่อนแต่งงานร่วมเพศกับโสเภณีต้องรีบทำให้หลั่งอสุจิเร็ว
 - เทคนิคไม่ถูกต้อง เช่น เล้าโลมน้อยเกินไป ไม่มีการบอกกันว่าชอบหรือไม่ชอบอย่างไร

การเบี่ยงเบนทางเพศ (Sexual Deviation) เป็น ความผิดปกติในคนที่มีความรู้สึกทางเพศ ทัศนคติ ตลอดจนพฤติกรรมทางเพศที่แสดงออกไม่เหมาะสม แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคม มักมีสาเหตุจากสภาพจิตใจที่ผิดปกติทำให้เขาไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ แต่มิได้หมายความว่า “เป็นโรคจิตหรือวิกลจริต” เป็นเพียงความผิดปกติทางจิตเวช พวกบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) เท่านั้น
ความผิดปกติทางเพศมีหลายชนิด แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่พบเห็นกันบ่อย ๆ ในสังคม คือ

1. ลักเพศ (Transvestism) คือ ภาวะในคนที่มีความสุขความพอใจในเพศ มีอารมณ์เพศจากการที่ได้แต่งตัวหรือแสดงท่าทางเป็นเพศตรงข้ามตนเอง เช่น ชายที่แต่งตัวเป็นหญิง หรือหญิงแต่งตัวเป็นชาย

2. ปฏิเสธเพศ (Transsexualism) คือ ภาวะของคนที่ไม่ยอมรับเพศที่แท้จริงโดยกำเนิดของตน และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าต้องการผ่าตัดเปลี่ยนเพศของตนเอง

3. ชอบอวดอวัยวะเพศ ( Exhibitionism) คือ ภาวะของคนที่ได้รับความตื่นเต้นพอใจทางเพศจากการได้เปิดอวัยวะของตนในที่สาธารณะ มักพบในผู้ชายเกือบทั้งหมด มีลักษณะเฉพาะ คือ จะอวดอวัยวะเพศกับเด็กหญิงหรือหญิงสาวที่ไร้เดียงสาทางเพศ ตามโรงเรียน หอพัก หรือสวนสาธารณะ ท่าทางตื่นตกใจของเด็กหญิงหรือหญิงสาว จะทำให้เขาเกิดความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศอย่างเต็มที่ พวกนี้จะไม่ทำร้ายเหยื่อของเขาเลย พอเหยื่อตกใจก็จะผละไปและมักกลับไปสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง

4. ถ้ำมอง (Voyeurism) คือ ภาวะของคนที่ได้รับความสุข ความพอใจทางเพศจากการแอบดูร่างเปลือย หรือการร่วมเพศของคนอื่น พบได้ทั้งหญิงและชาย แต่มักพบในผู้ชายมากกว่า เมื่อได้ดูสมใจก็จะทำให้เขาเกิดความรู้สึกทางเพศอย่างรุนแรงและมักจะสำเร็จ ความใคร่ไปด้วยในขณะที่แอบดูหรือกลับไปสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองภายหลัง

5. เบียดเสียดถูไถ (Frotteurism) คือ ภาวะของคนที่ได้รับความรู้สึกทางเพศโดยการเบียดเสียดถูไถกับผู้อื่น มักพบในชายมากกว่าหญิง พวกนี้จะถือโอกาสเบียดเสียดถูไถร่างกายของหญิงที่อยู่ข้างหน้าจนเกิดความ รู้สึกทางเพศอย่างรุนแรงจนถึงขั้นสำเร็จความใคร่
ข้อแนะนำในเรื่องการเบี่ยงเบนทางเพศ
ผู้ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน ควรปิดเป็นความลับเฉพาะตัว หรือเปิดเผยเฉพาะคนที่เข้าใจ และไว้วางใจ พยายามปรับพฤติกรรมการแสดงออกให้เหมาะสมกับเพศของตนและกาลเทศะ หาที่ปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาในการปรับตัว หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย และพยายามพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถอยู่เสมอ
ผู้ที่มีเพื่อนหรือคนใกล้ชิดมีพฤติกรรมเป็นรักร่วมเพศ ควรปฏิบัติดังนี้
1. ไม่ควรตีโพยตีพายเลิกคบ แต่ควรจำกัดความสัมพันธ์ไว้แค่เพื่อน ถ้าเขาพยายามจะคบหาแบบชู้สาว (สังเกตได้จาก การจับเนื้อต้องตัว ลูบไล้ร่างกายผิดไปจากเพื่อนตามปกติ มีการหึงหวงไม่ยอมให้มีเพื่อนต่างเพศคนอื่น ติดตามไม่เปิดโอกาสให้เป็นตัวของตัวเอง และแสดงความก้าวร้าวรุนแรงเมื่อถูกปฏิเสธการล่วงเกิน) ให้เปิดเผยตรง ๆ ว่า เราไม่ได้ชอบแบบชู้สาว แต่เป็นเพื่อนได้
2. อย่าปล่อยให้สนิทสนมมาก เพราะจะยุติความสัมพันธ์ได้ยาก หากพบเห็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนในเรื่องอื่น เช่น ชอบอวดอวัยวะเพศ ถ้ำมอง และเบียดเสียดถูไถ ขอให้ใช้ท่าทีเป็นปกติ และเลี่ยงไปจากเหตุการณ์โดยไม่ต้องมีปฏิกิริยาใด ๆ ก็เพียงพอแล้ว
3. อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ เป็นเรื่องที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง และยังไม่สามารถแก้ไขได้ เพียงเต่สามารถปรับพฤติกรรมภายนอกได้ เราควรปฏิบัติต่อผู้ที่มีพฤติกรรมทางเพศเยี่ยงบุคคลหนึ่ง ไม่ควรส่งเสริมหรือซ้ำเติม ซึ่งจะทำให้ชีวิตเขายุ่งยากมากยิ่งขึ้น

รักร่วมเพศ

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ความสนใจเพศตรงข้ามจะเกิดขึ้น จะสังเกตใจตัวเองได้ว่าเริ่มสนใจดารา นักแสดง นักร้องหรือบุคคลที่มีชื่อเสียง บางครั้งจะเกิดจินตนาการทางเพศกับคนที่ชอบ ความสนใจนี้จะปะปนกับความรู้สึกทางเพศและจะมีกับเพศตรงข้าม ในเชิงชู้สาว ซึ่งจะแตกต่างจากความรู้สึกกับเพื่อนตามปกติความรู้สึกทางเพศเช่นนี้ จะเกิดขึ้นกับเพศเดียวกัน นั่นคืออาจมีความพอใจทางเพศกับเพศเดียวกัน มีความพอใจที่จะใกล้ชิดผูกพันเป็นคู่รักกับเพศเดียวกัน มีจินตนาการทางเพศที่จะสร้างอารมณ์เพศได้กับเพศเดียวกัน และบางครั้งอาจมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเพศเดียวกันด้วย แบบนี้เรียกว่า “รักร่วมเพศ” ภาษาอังกฤษ เรียกว่า HOMOSEXUALรักร่วมเพศมีทั้งชายและหญิง
-
 ชอบ ชาย เรียกว่า เกย์ หรือ ตุ๊ด หญิง ชอบ หญิง เรียกว่า เลสเบี้ยน หรือ ทอม ดี้
-
 รักร่วมเพศทั้งสองเพศ จะมีความแตกต่างกันในรูปแบบปลีกย่อย เกย์ที่ชอบแสดงบทบาททางเพศเป็นชาย เรียกว่า เกย์คิง เกย์ที่ชอบแสดงบทบาทเป็นหญิง เรียกว่า เกย์ควีน เลสเบี้ยนที่ชอบแสดงบทบาทเป็นชายเรียกว่า ทอม เลสเบี้ยนที่ชอบแสดงบทบาทเป็นหญิง เรียกว่า ดี้ รักร่วมเพศไม่ใช่ความผิดปกติร้ายแรง พบได้บ่อยๆ ในเพศชายประมาณร้อยละ 10 ของผู้ชายทั้งหมด ในเพศหญิงประมาณร้อยละ 3-4 ของผู้หญิงทั้งหมด บางคนแสดงออกและเปิดเผยต่อสังคม บางคนไม่เปิดเผยและดูจากภายนอกก็ไม่มีทางทราบได้ (โดยเฉพาะเกย์คิง และดี้)คนที่เป็นรักร่วมเพศ สามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตและสังคมได้ แต่ต้องมีการเตรียมตัว และสิ่งแวดล้อมต้องเข้าใจและให้ความช่วยเหลือบ้าง เนื่องจากในบางสังคมยังไม่ยอมรับรักร่วมเพศ มีการรังเกียจ หรือต่อต้าน ในโรงเรียนที่มีเด็กที่เป็นรักร่วมเพศ มักจะมีการล้อเลียน รังเกียจ ไม่ยอมรับให้เข้ากลุ่มเพื่อนปกติบางกลุ่ม ในสังคมยังมีการต่อต้านทำให้ไม่ได้รับการส่งเสริมในการทำงาน โดยเฉพาะรักร่วมเพศที่เปิดเผย และแสดงออกมาก จนบางครั้งเป็นความก้าวร้าวไม่เหมาะสม ทำให้ถูกต่อต้านรังเกียจมากขึ้น รักร่วมเพศจึงจะต้องเผชิญกับความเครียดในชีวิตค่อนข้างมากคนที่เป็นรักร่วมเพศแท้จริงนั้น พบว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากเขาไม่รู้สึกว่าตัวเองต้องการจะเปลี่ยน เป็นแบบนี้ก็มีความสุขดี ส่วนมากพ่อแม่มักจะพยายามบังคับโดยคิดว่าถ้าใช้ความรุนแรงกันเขาจะเปลี่ยนได้ ความจริงแล้วพบว่ากว่าเขาจะเป็นรักร่วมเพศนั้น มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนามานานก่อนหน้านั้น บางตำราเชื่อว่าเป็นปัจจัยอยู่ในพันธุกรรม บางตำราเชื่อว่าเป็นผลจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง เด็กไม่เลียนแบบเอกลักษณ์ทางเพศจากเพศเดียวกัน คือจากพ่อหรือแม่ บางตำราเชื่อว่าเป็นผลจากการเรียนรู้ บางคนถูกหลอกหรือล่อลวงไปมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน แล้วเกิดติดใจกลายเป็นรักร่วมเพศไป

วิธีการปรับตัวที่ดีสำหรับคนที่เป็นรักร่วมเพศ

1. เปิดเผยเฉพาะคนที่เข้าใจ เช่น พ่อแม่ ครู หรือเพื่อน ที่ไม่รังเกียจให้ทุกคนเข้าใจตัวเอง และยอมรับในเอกลักษณ์ทางเพศแบบนี้ ให้เข้าใจว่าตนเองเปลี่ยนความชอบทางเพศไม่ได้
2. ปรับพฤติกรรมและการแสดงออกให้เหมาะสมเป็นที่ยอมรับได้ในครอบครัวและสังคม การแสดงออกมากเกินไป มักจะเป็นผลเสีย ทำให้คนอื่นรังเกียจและต่อต้าน พ่อแม่บางคนหงุดหงิดกับกิริยาท่าทางของลูกที่เป็นแบบนี้ ถึงจะเปลี่ยนให้ใจมาชอบเพศตรงข้ามไม่ได้ แต่ถ้ามีพฤติกรรมเรียบร้อย ไม่เปิดเผยมากพ่อแม่ยังรับได้
3. มีที่ปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาในการปรับตัว เนื่องจากสภาพการเป็นรักร่วมเพศ จะต้องเจอกับอุปสรรคในสังคมมากมาย มีที่ปรึกษาที่ดี เช่น พ่อแม่ ครู หรือจิตแพทย์ ก็สามารถจะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตได้
4. หลีกเลี่ยงการสำส่อนทางเพศ ปัจจุบันพบว่าการมีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อน จะเกิดอันตรายจากโรคติดเชื้อได้มาก โดยเฉพาะเชื้อโรคเอดส์ ซึ่งระบาดอยู่ในกลุ่มรักร่วมเพศ นอกจากนี้การไม่ควบคุมเรื่องเพศสัมพันธ์เลย จะเกิดปัญหาจากความหึงหวง ทะเลาะเบาะแว้งและทำร้ายร่างกายกันได้รุนแรง เนื่องจากสภาพอารมณ์ของคนที่เป็นรักร่วมเพศ มักจะก้าวร้าวรุนแรงได้มากเมื่อผิดหวังเรื่องเพศ

เมื่อเพศเดียวกันมาชอบจะทำอย่างไร

ในวัยรุ่นนั้นความสนิทสนมระหว่างเพศเดียวกันจะมีมาก เนื่องจากความสัมพันธ์เช่นนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปมากกว่าการมีเพื่อนต่างเพศที่สนิทสนมกันมากๆ การมีเพื่อนสนิทเพศเดียวกันอาจทำให้มีโอกาสใกล้ชิดสนิทสนมกัน ไปไหนมาไหนด้วยกัน และทำกิจกรรมร่วมกันได้มาก จะสังเกตได้ว่าเพื่อนคนที่สนิทสนมด้วย อาจจะเป็นรักร่วมเพศและเขากำลังจะมาชอบเราฉันชู้สาว เมื่อเขามีพฤติกรรมต่อไปนี้
1. มีการจับเนื้อต้องตัว และพยายามเล้าโลมร่างกายผิดไปจากเพื่อนตามปกติ
2.
 มีอาการหึงหวง ไม่ยอมให้มีเพื่อนต่างเพศคนอื่น
3. ติดตามและไม่เปิดโอกาสให้เป็นตัวของตัวเองหรือมีเพื่อนคนอื่น
4.
 แสดงความก้าวร้าวรุนแรง เมื่อปฏิเสธการล่วงเกิน
คนที่เป็นรักร่วมเพศนั้นมีลักษณะพอจะสังเกตได้ เช่น กิริยาท่าทาง การแต่งเนื้อแต่งตัว เสื้อผ้า กิจกรรมที่ชอบ มักจะไปในแนวทางเพศตรงข้าม แต่บางคนดูจากภายนอกก็ไม่สามารถบอกได้ ต้องถามดูตรงๆ จึงจะทราบได้ รักร่วมเพศจะชอบเพศเดียวกัน ไม่ได้ชอบรักร่วมเพศด้วยกันเอง แต่เขาอาจจับกลุ่มกันในหมู่ที่คล้ายๆ กันคนที่เป็นรักร่วมเพศ มักจะต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ในสังคมอย่างมาก ต้องมีการปรับตัวอย่างสูง และบางครั้งต้องปกปิดสังคมการ ช่วยเหลือสามารถทำได้ โดยส่งเสริมให้เขาปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมได้อย่ามีความสุข โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงให้เขากลับเป็นเหมือนคนปกติ การป้องกันการเป็นรักร่วมเพศ จึงมีความสำคัญมากกว่า โดยการส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กให้ถูกต้องตาเพศที่แท้จริงและมีพื้นฐานความ สัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อและแม่กับลูกนั่นเอง
ความหมายของ “พฤติกรรมผิดปกติทางเพศ” คือ ลักษณะของคนที่มีความรู้สึกทางเพศ  ทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมทางเพศที่แสดงออกอย่างไม่เหมาะสม  เบี่ยงเบนไปจากสามัญชนในสังคมนั้นพึงปฏิบัติ ความเบี่ยงเบนดังกล่าวเกิดเนื่องจากความผิดปกติของสภาพจิตใจที่บุคคลนั้นไม่สามารถควบคุมตนเองได้  ความเบี่ยงเบนทางเพศ  (Sexual Deviation)  จึงมีมากมายหลายชนิด  บางชนิดขัดต่อศีลธรรมของสังคม และบางประเภทมีความรุนแรงถึงอาจก่ออาชญากรรมทางเพศได้ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมผิดปกติทางเพศ หรือความเบี่ยงเบนทางเพศของสังคมหนึ่งอาจไม่ใช่เป็นสิ่งที่ผิดปกติ หรือเบี่ยงเบนสำหรับสังคมอื่นก็ได้ หรือแม้แต่ในสังคมเดียวกัน แต่ต่างกาลเวลาความหมายของพฤติกรรมทางเพศอาจเปลี่ยนไปได้ สังคมจึงมีส่วนสำคัญที่จะตีตราว่าพฤติกรรมใดผิดปกติหรือไม่ผิดปกติ เนื่องจากความหมายของพฤติกรรมทางเพศ มีลักษณะลื่นไหลเปลี่ยนแปลงตามค่านิยมของสังคม การตีตราพฤติกรรมทางเพศพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งว่าผิดปกติหรือเบี่ยงเบน เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นสิ่งที่นิยมโดยคนจำนวนน้อยของสังคม น่าจะเป็นการไม่ยุติธรรมนัก และเพื่อความเข้าใจถึงความแตกต่างของพฤติกรรมทางเพศเหล่านั้น ผู้ศึกษาพฤติกรรมทางเพศน่าจะมองสิ่งเหล่านั้นเป็น “ความหลากหลายของพฤติกรรมทางเพศ” (Sexual variation) ที่ปรากฏในสังคม ซึ่งอาจแบ่งได้ 20 ชนิด ดังนี้

1.  การร่วมเพศทางปาก (Oral love หรือ Oral sex)

การร่วมเพศทางปาก หรือ โอรัลเซ็กส์ เป็นการใช้ปากกระตุ้นอวัยวะเพศ เพื่อให้เกิดอารมณ์เพศ ซึ่งมี3 รูปแบบ
1.1  เฟลลาชิโอ (Fellatio)  คือ การใช้ปาก  ริมฝีปาก  ลิ้น  หรือฟัน กระตุ้นองคชาต (Penis) เพื่อให้ความสุขทางเพศ  อาจจะเป็นหญิงทำให้ชาย หรือชายทำให้ชายก็ได้ (Hirsch, E. et  al. 1994).  คำว่าfellatio แปลว่า ดูด พฤติกรรมทางเพศแบบเฟลลาชิโอนั้น  เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนานตั้งแต่สมัยโบราณ บางสังคมและบางศาสนาถือว่าการมีเพศสัมพันธ์แบบเฟลลาชิโอเป็นความลามกวิตถาร ในปัจจุบัน พฤติกรรมทางเพศแบบ  เฟลลาชิโอ (fellatio) มีการปฏิบัติกันแพร่หลาย ส่วนในประเทศไทยนั้น การร่วมเพศแบบนี้เป็นที่นิยมในกลุ่มรักร่วมเพศ และในสถานบริการทางเพศ เช่น อาบอบนวด อาจมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น สเปร์ (spray) สโมก (smoke) เป็นต้น
1.2  คันนิลิงกัส (Cunnilingus) คือ การใช้ปาก ริมฝีปาก ลิ้น และฟัน กระตุ้นอวัยวะเพศหญิง ซึ่งเป็นชายทำให้หญิง  หรือหญิงทำให้หญิงก็ได้ วิธีนี้เป็นการทำให้ผู้หญิงมีความสุขทางเพศได้โดยไม่ต้องอาศัยอวัยวะเพศชาย จากการศึกษาในอเมริกา พบว่าผู้หญิงอเมริกันร้อยละ 50 มีประสบการณ์ทางเพศแบบเลียอวัยวะเพศหญิง (cunnilingus)  และการมีพฤติกรรมทางเพศแบบนี้ทำให้ผู้หญิงบรรลุถึงจุดสุดยอด (orgasm) แต่มีข้อควรระวังเพราะเคยมีรายงานว่าหญิงเสียชีวิตหลายรายจากฟองอากาศอุดตันเส้นเลือด  (airembolism) เพราะการใช้ปากเป่าลมเข้าในช่องคลอดขณะที่ทำการเลียอวัยวะเพศหญิง  (cunnilingus) 
1.3 ซูเซ็นนูฟ (Soixante–neuf) เป็นการร่วมเพศโดยที่ชายและหญิงนอนหัวกลับกัน หรือจะนอนตะแคงทั้งคู่หรือคนหนึ่งอยู่เหนืออีกคนหนึ่งก็ได้  โดยให้อวัยวะเพศของฝ่ายหนึ่งตรงกับปากของอีกฝ่ายหนึ่งแบบตัวเลข 69 ให้สะดวกในการทำเฟลลาชิโอ (fellatio) และคันนิลิงกัส (cunnilingus) ให้กันและกัน

2. การร่วมเพศทางทวารหนัก (Sodomy)

การร่วมเพศทางทวารหนัก โดยที่ชายสอดใส่องคชาตเข้าไปในทวารหนักของหญิงหรือชาย ในปัจจุบันรัฐส่วนใหญ่ในอเมริกายังถือว่าการร่วมเพศทางทวารหนักเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและมีบทลงโทษด้วย ส่วนในประเทศไทย การร่วมเพศทางทวารหนัก เป็นที่นิยมในกลุ่มชายรักร่วมเพศ (homosexuals) และแบบทั้งสองเพศ (bisexuals) ซึ่งมักจะเรียกว่า “อัดถั่วดำ” หรือเมื่อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541เป็นต้นมา คำว่า “ตุ๋ย” ได้ถูกนำมาใช้เรียกการร่วมเพศทางทวารหนักด้วย โดยสื่อมวลชนบัญญัติศัพท์จากชื่อเล่นของชายหนุ่มคนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าเคยใช้บริการทางเพศจากเด็กชายหลายคน

3. การรักร่วมเพศ (Homosexuality)

การรักร่วมเพศ คือ การมีความสุขทางเพศกับคนในเพศเดียวกัน  ถ้าเป็นชายต่อชายมักเรียกว่า  homosexuality โดยคนทั่วไปเรียกว่า Gay คนที่เป็นผู้แสดงหรือเป็นผู้กระทำเรียกว่าเกย์คิง ส่วนคนที่เป็นผู้ถูกกระทำเรียกว่าเกย์ควีน คนที่เป็นเกย์มักจะชอบเข้าข้างหลัง (sexual anlism) บางคนที่ชอบทำแบบนี้อาจเป็นเพราะตอนเด็ก ถูกห้ามไม่ให้จับต้องอวัยวะเพศ ถือว่าเป็นของต่ำหรือสกปรก ดังนั้นจึงต้องใช้สิ่งอื่นทดแทน อาจเกิดขึ้นสำหรับคู่ระหว่างชายกับหญิงได้ด้วย  ส่วนหญิงต่อหญิงเรียก  lesbianism หญิงที่กระทำตนเป็นชายนั้นเรียกว่า ทอม (Tom) และจะมีคู่ที่เรียกว่า ดี้ ซึ่งมาจากคำว่า Lady  หากบุคคลใดที่สามารถมีความสุขทางเพศทั้งกับเพศเดียวกันและกับเพศตรงข้ามกัน จะเรียกว่า  bisexuality โดยส่วนใหญ่พวกรักร่วมเพศนี้แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ รุก รับ และทั้งสองแบบ ส่วนมากที่พบจะเป็นพวกที่ 3สาเหตุ มีอยู่หลายประการ อาจเป็นเพราะความผิดปกติทางฮอร์โมน สิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น การบังเอิญเกิดไปมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันขึ้นมาแล้วติดใจ หรือ อยู่กับคนเพศเดียวกันมานาน เช่น ในคุก ร.ร ประจำ เป็นต้น อีกสาเหตุที่สำคัญ คือการเลี้ยงดูของครอบครัว โดยทั่วไปมักพบว่า มารดาไม่มีความสุขในชีวิตสมรส หรือสนิทกับลูกชายเป็นพิเศษ พอเด็กโตขึ้นมา ก็เลยไม่อยากมีอะไรกับ ญ ซึ่งเป็นเพศเดียวกับมารดา เด็กชายบางคน อาจเกิดความรู้สึกกับมารดา ต่อมาเกิดความรู้สึกละอาย จึงหลีกเลี่ยงการมีความสัมพันธ์ทางเพศกับหญิงทุกคน เพราะคิดว่าการไปมีอะไรกับหญิงอื่น เป็นการนอกใจมารดา อีกประการคือ เด็กชายที่เกลียดเพศของตนเอง อยากเกิดเป็นเพศตรงข้าม คือ พ่ออาจรักแต่ลูกสาว ไม่สนใจตัวเอง หรือ พ่อเป็นคนเข้มงวด เจ้าระเบียบเกินไป ทำให้ลูกเกลียดพ่อ และเกลียดเพศตัวเองไปด้วย สิ่งที่ทำให้คนกลายเป็นพวกรักร่วมเพศได้มากที่สุด คือการเลี้ยงดูของครอบครัว ช่วงหนึ่งของชีวิตวัยเด็ก เรียกว่า ระยะโอดิปัส (oedipus period) คือ เด็กจะรักพ่อหรือแม่ซึ่งเป็นเพศตรงข้ามกับตน เลยทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองต้องแข่งขันความเป็นพ่อหรือแม่ของตน แต่ความรู้สึกนี้จะทำให้เกิดความไม่สบายใจ กลัวว่า พ่อหรือแม่ซึ่งเป็นเพศเดียวกันกับตน จะลงโทษ หากเด็กไม่สามารถทำความเข้าใจได้ โตมาก็จะกลายเป็นพวกรักร่วมเพศ นอนกจากนี้ ยังรวมไปถึง ค่านิยม ทัศนคติ ความเชื่อ ความเข้าใจผิดต่างๆ ทำให้คนกลัวที่จะมีอะไรกับฝ่ายตรงข้าม จึงหันมาสนใจพวกเพศเดียวกัน 
  พฤติกรรมแบบรักร่วมเพศ (homosexuality) นั้นมีมานานตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์  ซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานภาพวาดในถ้ำของมนุษย์หิน  ภาพสลักในหิน  ภาพสลักบนแผ่นโลหะ ในสมัยอียิปต์  กรีก และโรมัน  พฤติกรรมแบบรักร่วมเพศยังถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมายอยู่ในหลายประเทศ ส่วนในประเทศไทย การร่วมประเวณีผิดธรรมชาติมนุษย์กับคนเพศเดียวกัน หรือกับสัตว์เดียรฉาน   ถือเป็นความผิดมีโทษจำคุก 3 เดือน ถึง 3 ปี  ปรับ 50-500 บาท  แต่ในปัจจุบันตามประมวลกฎหมายอาญาไม่มีบทบัญญัติเรื่องนี้ เพราะถือเป็นเสรีภาพส่วนบุคคลเป็นเรื่องในมุ้ง  ถ้าเขาสมัครใจจะทำอะไรกับคนเพศเดียวกัน ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด

4. ความสุขทางเพศกับส่วนของร่างกายหรือวัตถุ (Fetishism) 

พฤติกรรมแบบเฟติสชิสึม (fetishism) เป็นความสุขความต้องการทางเพศที่เกิดจากการได้ใช้วัตถุที่เป็นสัญลักษณ์ทางเพศ หรือส่วนของร่างกายที่ไม่ใช่อวัยวะทางเพศโดยตรงของเพศตรงข้าม เช่น ชุดชั้นใน กระโปรง หมวก รองเท้า ถุงมือ หรือผม ต้นขา เท้า หู ตา โดยการจับ จ้องมอง หรือ ช่วยให้สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง และสามารถถึงจุดสุดยอดได้ด้วยการสัมผัส กอดจูบ หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองกับสิ่งของเหล่านั้น  ส่วนใหญ่พบพฤติกรรมแบบเฟติสชิสึม (fetishism)  ในเพศชายเท่านั้นในผู้หญิงมักจะเป็นแบบเคลบโตแมนเนีย (kleptomania)  คือภาวะที่ได้รับความตื่นเต้นพอใจจากการได้ขโมยทรัพย์สินของผู้อื่นส่วนพฤติกรรมแบบพิกมาเลี่ยนนิสึม (pygmalionism) เป็นภาวะที่บุคคลมีความสุขทางเพศกับตุ๊กตายางขนาดเท่าคนจริง

5. การลักเพศ (Transvestism) 

การลักเพศ หมายถึง การมีความสุขความพอใจทางเพศจากการได้แต่งตัว แต่งหน้า สวมเสื้อผ้าหรือแสดงท่าทางของเพศตรงข้ามกับตน  เช่น  ชายที่แต่งตัวเป็นหญิง หรือหญิงแต่งตัวเป็นชาย  ซึ่งอาจเป็นไปอย่างเปิดเผยหรือแอบซ่อนก็ได้ การแต่งตัวเป็นเพศตรงข้ามจะทำให้ได้รับความตื่นเต้น หรือมีอารมณ์ทางเพศจากการกระทำเช่นนั้น อาจมีทั้งลักษณะเป็นแบบชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ สาเหตุมักมาจากการเลี้ยงดูสมัยเด็ก กรณีพ่อแม่อยากได้ลูกชาย แต่ลูกเกิดมาเป็นผู้หญิง เลยให้แต่งตัวเป็นเด็กชาย หรือ แต่งตัวลูกชายด้วยเสื้อผ้าของเด็กผู้หญิง เป็นต้น บุคคลประเภทนี้สามารถแต่งงานและมีความสุขได้หากมีคู่สมรสที่เข้าใจ 

6. การแปลงเพศ (Transexuality)

การแปลงเพศ คือ ภาวะทางเพศที่บุคคลไม่ยอมรับเพศที่แท้จริงโดยกำเนิดของตนเองและใช้ชีวิต แต่งตัว และมีพฤติกรรมหรือบทบาทของเพศตรงข้ามกับลักษณะเพศทางร่างกายของตนเองตลอดเวลา เพราะมีความฝังใจว่าอารมณ์และจิตใจของเขาเป็นเพศตรงข้ามกับร่างกายและอวัยวะเพศในร่างกาย นอกจากนั้นยังมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะต้องการผ่าตัดเปลี่ยนเพศเป็นเพศตรงข้าม
7.  ซาดิสสึมและมาโซคิสสึม (Sadism and masochism) การชอบสร้างความเจ็บปวดและชอบรับความเจ็บปวด
ซาดิสสึม (Sadism) หมายถึง การมีความสุข ความตื่นเต้น พอใจทางเพศจากการทำให้คู่ร่วมเพศเกิดความเจ็บปวดทรมานทางร่างกายและหรือทางด้านจิตใจ เช่น การตี โบย หรือใช้อาวุธของมีคมกรีดทำให้เกิดบาดแผล หรือการใช้คำพูด เสียดสี ดูถูกเหยียดหยามคู่ร่วมเพศ เป็นต้น สาเหตุที่ชอบความรุนแรงอาจมาจาก ถูกอบรมมาว่าเรื่องทางเพศเป็น สิ่งน่ารังเกียจ สกปรก เป็นบาป ฯลฯ ดังนั้นจึงต้องหาทางปลดปล่อยความโกรธแค้น ที่ตนจะต้องมาทำบาป หรือทำสิ่งน่ารักเกียจ ด้วยการลงโทษคู่นอนแทนที่จะลงโทษตัวเอง บางคนอาจเป็นเพราะว่าตัวเองมีความเกลียดชัง พ่อ แม่ ตั้งแต่เด็กๆ และมีบางคนที่ชอบความรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุอีกด้วย 
มาโซคิสสึม (Masochism) เป็นความสุข ความตื่นเต้น พอใจทางเพศจากการได้รับความเจ็บปวดทรมาน หรือความอัปยศอดสู ดูถูกเหยียดหยามจากคู่ร่วมเพศ นัก จิตวิทยาบางคนบอกว่าการที่คนเหล่านี้ ยอมถูกทารุณกรรมจากคู่นอน อาจมิใช่เพราะต้องการ แต่ที่ยอมก็เพราะต้องการเอาใจฝ่ายตรงข้าม เกรงว่าตนจะถูกทอดทิ้ง
แฟลกเจลเลชั่น (Flagellation)  คือการเฆี่ยนด้วยไม้ หรือแส้ ให้เกิดความเจ็บปวดเพื่อความสุขทางเพศ เช่น คนที่เป็นซาดิสท์ (Sadist) เฆี่ยนตีคนที่เป็นมาโซคิสท์ (Masochist) ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ จากการศึกษารายงานว่าชายร้อยละ 10 และหญิงร้อยละ 3 มีความรู้สึกทางเพศเมื่อถูกกระตุ้นโดยได้ฟังเรื่องแบบซาโดมาโซคิสสึม (Sadomasochism)
กาม วิตถาร ทั้ง 2 ประเภทนี้ (sadism+maso)อาจเกิดขึ้นในคนคนเดียวกัน ในขณะเดียวกันหรือคนละคราวก็ได้ จึงรวมเรียกว่า (Sadomasochism)ทั้งซาดิสสึมและมาโซคิสสึม แม้ฟังดูแล้วอาจเหมือนเป็นสิ่งทารุณโหดร้าย แต่พวกมาโซฯ และซาดิส ไม่เคยทำร้ายผู้อื่น หรือ ได้รับการทารุณจนเกิดอันตรายต่อตัวเอง การเข้าใจบุคคลทั้ง 2 ประเภท มักจะจำมาจากการพบเห็นในหนังหรือโทรทัศน์เสียมากเกินความเป็นจริง 

8.  เอ็กฮิบิชั่นนิซึม (Exhibitionism) การชอบอวดอวัยวะเพศ

พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศชนิดชอบอวดอวัยวะเพศ เรียกว่า exhibitionism มักเริ่มต้นเป็นตั้งแต่วัยรุ่นตอนต้น แต่จะปรากฏอาการชัดเจนในวัยรุ่นตอนปลายถึงผู้ใหญ่ตอนต้น และโดยทั่วไปอาการจะเป็นเรื้อรัง สาเหตุที่แน่นอนยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีข้อสันนิษฐานของโรคต่างๆกัน เช่น ผู้ป่วยถูกประทุษร้ายในวัยเด็ก เป็นอาการทางระบบประสาท เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่เป็นสารสื่อประสาท หรือในบางรายพบว่าเป็นลักษณะหนึ่งของโรคย้ำคิด  ย้ำทำ อาการของผู้ป่วยจะเป็นมากขึ้นเวลาเครียด หรือมีช่องทางและโอกาสที่จะแสดงพฤติกรรมได้โดยง่าย
ลักษณะที่สำคัญของโรคนี้ คือ ผู้ป่วยมีความสุข และความตื่นเต้นจากการได้เปิดเผยอวัยวะเพศของตนเองให้คนแปลกหน้าดู ผู้ป่วยจงใจเปิดเผยอวัยวะเพศของตนให้คนแปลกหน้าเห็นและเกิดความตกใจ โดยไม่มีการข่มขู่ ผู้เคราะห์ร้ายโดยมากเป็นเด็กหญิงวัยเยาว์ ผู้ป่วยจะไปสถานที่เดิมๆ ซึ่งอาจเป็นสถานที่เปลี่ยว หรือสถานีขนส่งมวลชน เมื่อได้เห็นภาพเด็กตกใจกลัว ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายใจ บางรายทำการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองไปด้วยพร้อมๆ กัน บุคลิกภาพของผู้ป่วยมักเป็นแบบเก็บกดความรู้สึก และมีความรู้สึกฝังใจว่าตนไม่มีความเป็นผู้ชาย ดูจากภายนอกจะเป็นคนเรียบร้อย ระมัดระวัง ประหม่าง่าย บางรายเป็นคนอ่อนโยน ทำงานจริงจัง มีความเป็นอยู่ปกติ เป็นผู้มีชื่อเสียง และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ปัญหาบุคลิกภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญในผู้ป่วยกลุ่มนี้

9.  วอยริสซึม (Voyeurism)

การชอบถ้ำมอง หมายถึงการมีความสุข ความพอใจทางเพศจากการแอบดูร่างเปลือย หรือการร่วมเพศของคนอื่น อาจมีได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย แต่ส่วนใหญ่พบในผู้ชายและมักจะเป็นวัยรุ่นหรือหนุ่มสาวมากกว่า โดยจะแอบดูตามรูห้องน้ำ  ห้องส้วม  ห้องนอนตามบ้าน  หรือเจาะรูตามฝาผนังห้องน้ำ  เมื่อได้แอบดูสมความตั้งใจแล้วจะเกิดความรู้สึกทางเพศอย่างรุนแรง และมักสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองขณะแอบดู รูปแบบของถ้ำมองมี 3 ประเภทได้แก่ 
ชอบถ้ำมอง (scoptoplilia) คนพวกนี้มีพฤติกรรมผิดปกติ ชอบแอบดูเวลาผู้อื่นมีเพศสัมพันธ์กัน แม้แต่ชอบแอบดูคนแก้ผ้า อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า เพราะทำแล้วจะมีความสุข ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ชาย สาเหตุอาจมาจากเมื่อสมัยเด็กเคยแอบเห็นพ่อกับแม่มีอะไรกัน หรือเห็นพี่สาวพี่ชายเปลือยกายอาบน้ำ เปลี่ยนเสือ้ผ้า บุคคลกลุ่มนี้มีลักษณะคล้ายกับพวกชอบโชว์ แต่ตรงข้ามกันคือ ชอบแอบดูคนอื่น
ชอบเปลือย(trolism)  พวกนี้มักเป็นพวกต่อต้านสังคม อาจะเคยเห็นพวกที่ แก้ผ้าประท้วง พวกเค้าไม่ต้องการตกอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์บางอย่าง หรือ ทำแล้วรู้สึกว่าตนเองมีอิสระเสรีภาพ ต่างประเทศจะมีพวกนิคมอาบแดด หรือ สถานที่สำหรับเปลือยกายเพื่อบุคคลประเภทนี้ และก็มีหลายคนอ้างว่าการเปลือยกายจะทำให้การมีเพศสัมพันธ์มีความสุขมากขึ้น 
พวกชอบให้ผู้อื่นดูตนเองมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่น พวกนี้จะชอบให้บุคคลที่ 3 เฝ้าดูขณะที่ตนเองกำลังมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอน บางครั้งให้ดูเฉยๆ แต่ส่วนมากจะให้เข้าร่วมด้วย จิตแพทย์บอกว่าคนประเภทนี้มีความผิดปกติ 2 แบบ อยู่ในตัวเอง คือ ชอบแอบดูคนอื่น และชอบที่จะให้คนอื่นแอบ

10.  โฟรเทริสซึม (Frotteurism)

การชอบถูอวัยวะเพศกับเพศตรงข้าม (Frotteurism) หมายถึงการมีความสุขความพอใจทางเพศ ด้วยการเบียด เสียดสี หรือถูไถกับร่างกายคนอื่น พบในชายมากกว่าหญิง เกิดขึ้นในขณะที่มีคนเบียดกันหนาแน่น เช่น งานวัด ตลาดนัด บนรถเมล์ ในลิฟท์ การกระทำดังกล่าวอาจทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศรุนแรงจนสำเร็จความใคร่ได้

11.  อินเซสต์ (Incest)

การมีเพศสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว (Incest) คือการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว หรือสายเลือดเดียวกัน เช่น ระหว่างพ่อกับลูกสาว แม่กับลูกชาย พี่ชายกับน้องสาว พี่สาวกับน้องชาย  เป็นต้น ส่วนพฤติกรรมรักร่วมเพศในสายเลือด (Homosexual incest) คือการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเพศเดียวกัน ในครอบครัวที่สืบสายเลือดเดียวกันระหว่างพ่อกับลูกชาย  พี่ชายกับน้องชาย  แม่กับลูกสาว  พี่สาวกับน้องสาว

12.   เพดโดฟิเลีย (Pedophilia)

ความต้องการทางเพศกับเด็ก (Pedophilia) เป็นภาวะของคนที่ได้รับความสุข ความพอใจทางเพศกับเด็ก  ที่เป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศก็ได้ ซึ่งจะพบในชายมากกว่าหญิง ผู้ชายที่เป็นเพ็ดโดฟิเลีย (Pedophilia) มักเป็นผู้มีปมด้อย ไม่ชอบหรือไม่สามารถมีความสุขทางเพศกับหญิงสาวได้ แต่มีความรู้สึกทางเพศกับเด็ก ๆ ที่ไร้เดียงสาที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี  จะไม่ทำอันตรายต่อเด็ก  มักจะล่อเด็กด้วยเงินหรือขนมตลอดจนของเล่นจนเด็กสนิทสนมด้วย  จึงจับหรือลูบคลำอวัยวะเพศเด็ก  หรือให้เด็กทำสำเร็จความใคร่ (masturbate) หรือเอาองคชาติของตัวเองถูไถภายนอกของอวัยวะเด็กจนสำเร็จความใคร่  หรือบางรายอาจจะมีการข่มขืนกระทำชำเรา หรือฆ่าปิดปากถ้ามีการขัดขืนผู้ป่วยมักมีความเชื่อในเรื่องของพรมจรรย์ ชอบดูถูกเพศหญิง อยากมีอะไรกับหญิงบริสุทธิ์เท่านั้น ซึ่งเป็นเด็กวัย 11-12 บางคนอาจมีความเชื่อว่าการมีอะไรกับเด็ก หรือสาวบริสุทธิ์ จะทำให้อายุยืน สำหรับเด็กที่เป็นเหยื่อไม่ว่าจะสมัครใจหรือไม่ มักเป็นเด็กที่มีปัญหาทางบ้าน เช่น พ่อแม่เลิกกัน หรือเป็นเด็กที่มีปัญหาทางจิต พวกขี้กลัว ตกใจง่าย ต้องการผู้ให้ความคุ้มครอง ความอบอุ่น ฯลฯ 

13.  เจอรอนโตฟิเลีย (Gerontophilia)

ความต้องการทางเพศกับคนแก่ (Gerontophilia) เป็นภาวะที่คนต้องการได้รับความสุข ความพอใจทางเพศกับคนสูงอายุ หรือคนแก่ ความผิดปกตินี้อาจเป็นผลมาจากความผูกพันทางอารมณ์กับปู่ย่า ตายาย หรือเกิดจากการมีบิดามารดาเป็นคนสูงอายุ อย่างไรก็ดีการแต่งงานระหว่างคนสูงอายุกับคนอายุน้อยอาจไม่ใช่ความวิปริตทางเพศ แต่เกิดขึ้นเพราะเหตุผลทางเศรษฐกิจก็เป็นได้

14.  เซเตอเลียซีส (Satyriasis)

ภาวะชายตัณหาจัด (Satyriasis) หมายถึง ภาวะที่ชายมีความต้อการทางเพศสูงมากจนไม่สามารถยับยั้งควบคุมอารมณ์เพศของตนได้ มีความต้องการทางเพศอยู่ตลอดเวลา

15.  นิมโฟเมเนีย (Nymphomania)

ภาวะหญิงตัณหาจัด (Nymphomania) หมายถึง ภาวะที่หญิงมีความต้องการทางเพศสูงมากจนไม่สามารถยับยั้งควบคุมอารมณ์เพศของตนเองได้ มีความต้องการทางเพศอยู่ตลอดเวลา บางครั้งสามารถมีอะไรกับชายได้หลายคน หลายครั้งติดต่อกัน สาเหตุอาจมาจากต้องการชดเชยความต้องการทางเพศของตน ซึ่งได้รับไม่เพียงพอเมื่อตอนที่เป็นวัยรุ่น หรือต้องการผ่อนคลายความตึงเครียดทางจิต หรืออาจกลัวว่าตนจะเป็นพวกกามตายด้าน รวมทั้งสมัยเด็กมีความเกลียดชังบิดา เลยต้องการแก้แค้นเพศตรงข้าม เป็นพฤติกรรมของคนที่มีสภาวะไม่ได้รับความรักที่สมบูรณ์ หรือมีความผิดปกติทางร่างกาย

16.  ค็อพโพรเลเลีย  (Coprolalia) โทรศัพทย์ลามก

การพูดลามก (Coprolalia) คำว่า coprolalia มาจากภาษากรีกว่า kopros แปลว่า อุจจาระ และlalia แปลว่า พูด ดังนั้น coprolalia หมายถึง การที่มีความสุขความพอใจทางเพศจากการได้พูดเรื่องลามกอนาจารให้เพศตรงข้ามฟัง โดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ จะพบในชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งอาจจะโทรศัพท์แล้วพูดลามก หรือขอร่วมเพศ หยาบคาย อนาจาร และมักจะสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองขณะพูดโทรศัพท์ด้วย การโทรศัพท์ที่ทำโดยชายเป็นส่วนใหญ่ก็เพื่อจะทำให้ตกใจและสร้างความรำคาญให้แก่เรา และบ่อยครั้งเป็นความสนุกสนาน แต่ที่กระทำโดยความจงใจเพราะความกดดันทางเพศ การได้รับโทรศัพท์ลามกอาจทำให้ตกใจและรำคาญ แต่ผู้กระทำก็มักใช้วิธีโทรศัพท์อย่างเดียวโดยไม่ติดต่อกับผู้รับด้วยวิธีอื่นผู้ชายบางคนไม่กล้าพูดคุยกับผู้หญิง เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอหรือไม่มีความสามารถที่จะทำให้ผู้หญิงคนใดสนใจในตัวเขา ดังนั้นเขาจึงอาจใช้วิธีพูดโทรศัพท์ลามกกับผู้หญิงที่เขาสนใจ ซึ่งอาจเป็นผู้หญิงที่ทำงานแห่งเดียวกันหรือคนที่เห็นกันบ่อยๆ เช่น เพื่อนบ้าน แต่ถ้าไม่มีผู้หญิงคนใดที่เขาสนใจเป็นพิเศษ เขาอาจโทรศัพท์ถึงผู้หญิงคนใดคนหนึ่งที่เขาค้นพบเลขหมายจากสมุดโทรศัพท์

17.  ค็อพโรฟิลเลียหรือ ค็อพโรแล็กเนีย (Coprophilia หรือ Coprolagnia)

เวจกาม (Coprophilia หรือ Coprolagnia) หมายถึง ภาวะที่คนได้รับความสุข ความพอใจทางเพศ โดยมีอุจจาระเป็นองค์ประกอบ เช่น การถ่ายอุจจาระบนร่างของคู่ร่วมเพศ หรือให้คู่ร่วมเพศถ่ายอุจจาระบนร่างของตน หรือ อาจกินอุจจาระ (Coprophagia) ของคู่ร่วมเพศด้วย ด้วยความรู้สึกบูชานับถือ การกระทำเช่นนี้มีอันตรายต่อสุขภาพกายด้วยยังไม่ทราบสาเหตุหรือแรงจูงใจที่แน่ชัดของผู้ป่วย สันนิษฐานว่าอาจมีรากฐานมาจากการที่ทวารหนักเป็นช่องที่อยู่ใกล้กับอวัยวะเพศ และมีประสาทที่ไวต่อการสัมผัส จึงอาจดึงดูดใจทางเพศ และสำหรับคนบางคนส่งที่ออกมาจากทวารหนักก็พลอยดึงดูดใจทางเพศไปด้วย เหตุผลอีกประการหนึ่งคือ อุจจาระของคนถือว่าเป็นสิ่งสกปรก และการล้างอุจจาระเป็นหน้าที่ของคนที่ต่ำกว่า ดังนั้นคนที่ชอบทำร้ายตนเองหรือให้ผู้อื่นทำร้ายเพื่อความ สุขทางเพศอาจพอใจที่จะกระทำสิ่งเหล่านี้ การชำระล้างอุจจาระหรือทาร่างกายด้วยอุจจาระจะทำให้คนพวกนี้ รู้สึกว่าตนเองต่ำและอัปยศพร้อมกับมีความสุขทางเพศ

18.  ยูโรแล็กเนีย  (Urolagnia)

ปัสสาวะกาม (Urolagnia) หมายถึง ภาวะที่คนได้รับความสุขทางเพศโดยมีปัสสาวะเป็นองค์ประกอบ เช่น การถ่ายปัสสาวะบนร่างของคู่ร่วมเพศ หรือให้คู่ร่วมเพศปัสสาวะบนร่างตนการพอใจในปัสสาวะอาจมาจากรากฐานที่ว่า การถ่ายปัสสาวะเกี่ยวข้องกับอวัยวะเพศ และเป็นการกระทำที่เป็นส่วนตัว ดังนั้นการกระทำดังกล่าวของคู่นอนจึงอาจทำให้ตื่นเต้นทางเพศ หรือมิฉะนั้นก็อาจเกี่ยวข้องกับชีวเคมีเช่นเดียวกับในสัตว์ กล่าวคือ กลิ่นน้ำปัสสาวะของสัตว์จะดึงดูดคู่ของมันให้มาหา อีกประการหนึ่งปัญหานี้อาจเป็นผลของการติดแน่นอยู่กับการพัฒนาทางบุคลิกภาพในวัยเด็ก ซึ่งมีช่วงอายุหนึ่งที่เด็กจะพอใจการเล่นเกมส์ที่เกี่ยวกับปัสสาวะ เช่น เด็กชายอาจแข่งขันกันว่าใครจะปัสสาวะได้สูงหรือไกลที่สุด และอาจพอใจที่สามารถแอบดูผู้หญิงปัสสาวะได้ หรือเกิดจากความพอใจในจิตไร้สำนึกที่จะทำให้ตัวเองต่ำทราม เหมือนกับพวกเมโซคิส์ม

19.  เน็คโรฟิลเลีย (Necrophilia)

การชอบมีเพศสัมพันธ์กับศพ (Necrophilia) หมายถึง ภาวะที่คนได้รับความสุขความพอใจทางเพศจากการได้ร่วมเพศกับซากศพ พวกนี้มักจะทำงานที่เกี่ยวกับศพ บางคนอาจมีความต้องการร่วมเพศกับศพที่ตายใหม่ ๆ จึงฆ่าเหยื่อของตนให้ตายเสียก่อนแล้วจึงร่วมเพศกับศพ โดยเชื่อว่าความผิดปกติชนิดนี้ เกิดจากความพยายามที่จะมีอำนาจเหนือคนอื่นแฝงอยู่ในจิตใจในสมัยอียิปต์โบราณ เมื่อหญิงสาวในตระกูลสูงและผู้หญิงที่สวยเป็นพิเศษตายจะเก็บศพไว้ก่อน ประมาณ 3 หรือ 4 วัน ก่อนที่จะให้สัปเหร่อนำไปดำเนินการต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้สัปเหร่อมีเพศสัมพันธ์กับศพ

20.  เบ็สทิแอ็ลลิทิ หรือ โซฟิลเลีย (Bestiality หรือ Zoophilia)

การชอบสมสู่กับสัตว์ (Bestiality หรือ Zoophilia) หมายถึง ภาวะที่คนมีความสุข ความพอใจทางเพศจากการร่วมเพศกับสัตว์ ซึ่งอาจเป็นการร่วมเพศด้วยองคชาติและช่องคลอดตามปกติ การร่วมเพศทางทวารหนัก การดูดอมอวัยวะเพศผู้ หรือการเลียอวัยวะเพศเมีย รวมทั้งอาจมีความสุขทางเพศจากการถูกสัตว์ (ที่ฝึกไว้สำหรับการนี้) เลีย หรือถูอวัยวะเพศของตนก็ได้  จากการศึกษาข้ามวัฒนธรรมปรากฏว่ามีกรณีที่คนมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์อยู่จำนวนมาก ซึ่งมีทั้งการสมสู่ระหว่าง คนกับสุนัข วัว ควาย แกะ ม้า และไก่ พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง โดยปกติจะเป็นการทดลองการมีเพศสัมพันธ์ และภาวะคับข้องใจเนื่องจากการขาดคู่ร่วมเพศ มักจะเกิดในชนบทห่างไกลไม่มีโอกาสปลดปล่อยความต้องการทางเพศกับเพศตรงข้ามหรือมีน้อย ไม่จำเป็นเสมอไปว่าคนที่มีพฤติกรรมสมสู่กับสัตว์จะต้องเป็นโรคจิต  แต่ก็อาจจะพบในผู้ป่วยทางจิต (psychosis) หรือปัญญาอ่อน (mental retardation) ก็ได้
โดยมากผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับสัตว์แบ่งออกเป็น 2 จำพวก คนจำพวกแรกที่นิยมทำเช่นนี้คือ พวกที่ทำงานเกี่ยวกับปศุสัตว์หรือผู้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งไม่ใคร่มีโอกาสร่วมเพศกับผู้หญิง คนพวกนี้เคยชินกับการดูแลสัตว์และกำจัดมูลสัตว์ จึงอาจฉวยโอกาสผ่อนคลายอารมณ์ทางเพศของตนกับสัตว์ที่ตนเลี้ยง พฤติกรรมนี้เกิดบ่อยในระยะเข้าสู่ พวกที่สองมักเป็นบุคคลจำพวกที่สองเป็นผู้ที่อยู่ในวงสังคมชั้นสูง ซึ่งส่วนมากจะเป็นสตรี คนพวกนี้จะใช้สุนัขขนาดเล็ก ซึ่งได้รับการฝึกหัดให้ร่วมเพศโดยใช้ปากกับอวัยวะเพศ หรือใช้สุนัขตัวผู้ขนาดใหญ่ เช่น อัลเซเชียนและสแปนเนียลให้ร่วมเพศกับเจ้านาย โดยทั่วไปการกระทำดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดอันตราย สัตว์บางตัวอาจเพียงข่วนหรือกัดในขณะบรรลุจุดสุดยอด แต่มักไม่ทำให้บาดเจ็บรุนแรง และการติดเชื้อแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย
สาเหตุของความผิดปกติชนิดนี้เชื่อว่าอาจเกิดจากความกลัวการ ล้มเหลวในการร่วมเพศกับเพศตรงข้าม หรือเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงความตึงเครียดทางอารมณ์จากการร่วมเพศกับผู้หญิง ซึ่งในจิตไร้สำนึกคิดว่าเป็นการร่วมเพศกับแม่ สำหรับผู้ป่วยบางคนการกระทำดังกล่าวอาจเป็นการแสดงออกของความก้าวร้าวหรือการดูถูกผู้หญิง โดยเปรียบเธอเสมอกับสัตว์ หรือโดยการเลือกสัตว์แทนที่จะเลือกเธอ และบางคนพฤติกรรมนี้เป็นผลมาจากการขาดคู่ร่วมเพศ หรือเป็นความต้องการที่จะทำอะไรให้แปลกไปจากธรรมดา ในวัยรุ่น ความผิดปกติชนิดนี้จะหายไปเองเมื่อเขาสามารถมีความสัมพันธ์กับเพศตรงกันข้ามได้ แต่ถ้าอาการนี้ยังอยู่จนถึงวัยผู้ใหญ่ ควรจะต้องรักษาความผิดปกติทางจิตที่อยู่ภายใต้อาการนี้

21. ชอบแลกเปลี่ยนคู่นอน

 ความ จริงพฤติกรรมเช่นนี้เป็นเรื่องธรรมดามากในวัฒนธรรมชองชาวเอสกิโม เพราะพวกเขาจะยกภรรยาของตนเองให้หลับนอนกับแขกผู้มาเยือน คาดว่าสาเหตุอาจมาจากพวกเอสกิโมอาศัยอยู่ในถิ่นที่มีอากาศหนาวเย็นจนเป็นน้ำ แข็งตลอดปี ต้องอาศัยอยู่ในกระท่อมที่ทำด้วยน้ำแข็ง ดังนี้ การที่จะแสดงน้ำใจไมตรีต่อผู้มาเยือนก็คือ ยกภรรยาให้ไปนอนกกกอดและมีอะไรกับแขก เพื่อให้เกิดความอบอุ่นทางร่างกาย อย่างไรก็ดี พฤติกรรมนี้นิยมมากขึ้นกว่าเดิมโดนเฉพาะในกลุ่มสังคมชั้นสูงของชาวตะวันตก อาจมีสาเหตุมาจากเบื่อหน่ายคู่สมรส เลยต้องการแสวงหาความสุขที่แปลกใหม่ 


22. ออโต้อีโรติก (Autoerotic asphyxiation) ซึ่งเป็นพฤติกรรมความเบี่ยงเบนของการสำเร็จ ความใคร่ด้วยตนเอง เพื่อเพิ่มความพึงพอใจด้านเพศ ผ่านการมีความสุขจากการทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน โดยการรัดคอหรือแขวนคอ ซึ่งจะไปเพิ่มความเข้มข้นของการบรรลุจุดสุดยอด ในการสำเร็จความใคร่ให้ตนเอง  อาจเป็นเพราะกลัวผู้หญิง รังเกียจเพศตรงข้าม ชอบมีจินตนาการคนเดียว การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองจะไม่เรียกว่า ออโต้อีโรติก จะต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ ประกอบกามกิจด้วย เช่น อวัยวะเพศเทียม ก้อนเนื้อ แล้วแต่รสนิยม บางคนต้องการความเจ็บปวดก็จะใช้เชือก ที่ผ่านมาเคยมีคนไข้ผู้หญิง เป็นผู้หญิงโสด เรียนจบมาจากต่างประเทศ มาเข้ารับการบำบัดรักษาด้วยอาการนี้ โดยเวลากลางคืนจะเปลือยกายเอาเชือกมาพันตามตัว ตั้งแต่ต้นขาจนถึงระดับอก โดยจะรัดบริเวณอวัยวะเพศและหัวนมแน่นเป็นพิเศษ แล้วไปนั่งแกว่งชิงช้าอยู่หน้าบ้าน ซึ่งเข้าข่ายพฤติกรรมออโต้อีโรติ
การดูแลรักษา

 เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีปัญหาทางเพศ ต้องพยายามพิจารณาว่าเป็นอาการที่เกิดจากโรคทางกายได้ หรือไม่โดยมีแนวทางดังนี้ หากได้ประวัติว่ายังสามารถมีกิจกรรมทางเพศได้ตามปกติในบางสถานการณ์ (situational) เช่น ยังมีการแข็ง ตัวขององคชาติในขณะหลับหรือเวลาเพิ่งตื่นนอนสามารถสำเร็จความใคร่ด้ว ยตนเองได้หรือสามารถมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นได้โอกาสที่จะเป็นโรคทางกายก็จะน้อยลง แต่หากมีปัญหา ทางเพศในทุกสถานการณ์ (generalized) อาจเป็นปัญหาที่เกิดจากร่างกายหรือจิตใจก็ได้ เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีปัญหาทางเพศควรตรวจร่างกายโดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศทุกราย โดย เฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีปัญหาเรื่องความเจ็บปวดเวลามีกิจกรรมทางเพศ (dyspareunia) ส่วนการตรวจพิเศษอื่นๆควรพิจารณาข้อบ่งชี้เป็นรายๆไป เมื่อเห็นว่าผู้ป่วยน่าจะไม่มีปัญหาทางกายที่เป็นสาเหตุของปัญหาทางเพศ
ขั้นตอนต่อไปคือ ซักประวัติความสัมพันธ์ทั่วไประหว่างผู้ป่วยกับคู่สมรส เนื่องจากปัญหาทางเพศอาจเกิดจาก ปัญหาระหว่างคู่สมรสได้และการรักษาจะได้ผลไม่ดีหากปัญหาระหว่างคู่สมรสยังคงอยู่ ความ เครียดในเรื่องอื่นๆที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน ขั้นตอนต่อไปคือพยายามค้นหาและแก้ไขความเข้าใจของผู้ป่วยที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศ ศึกษา ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษาที่พบบ่อยมีมากมาย การแก้ไขความเข้าใจที่ไม่ ถูกต้องจะสามารถแก้ปัญหาทางเพศของผู้ป่วยไปได้จำนวนหนึ่ง ขั้นตอนต่อไปคือ การฝึก sensate focus exercise การฝึกนี้เป็นพื้นฐานในการรักษาปัญหา ทางเพศทุกชนิด แบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะแรก (non-genital sensate focus exercise) จะไม่อนุญาตให้มีการสัมผัสอวัยวะเพศ และเต้านมของคู่สมรส และไม่ให้มีการร่วมเพศ ทั้งนี้เพื่อให้คู่สมรสได้เรียนรู้ว่านอกจากอวัยวะ เพศและเต้านมแล้ว การสัมผัสเล้าโลมส่วนอื่นๆของร่างกายก็สามารถทำให้เกิดอารมณ์และ ความสุขทางเพศได้เช่นกัน และยังเป็นการลดความกังวลเกี่ยวกับการสัมผัสอวัยวะเพศและ การร่วมเพศอีกด้วย ถ้าระหว่างฝึกคู่สมรสมีความต้องการทางเพศสูงมากให้สำเร็จความใคร่ ด้วยตนเองแทน
ระยะต่อไป (genital sensate focus exercise) จะอนุญาตให้มีการสัมผัสอวัยวะเพศและเต้า นมได้ เพื่อให้เริ่มเรียนรู้ว่าจะกระตุ้นอวัยวะเพศและเต้านมอย่างไรจึงจะเป็นที่พอใจ ในระยะนี้ ยังไม่อนุญาตให้คู่สมรสร่วมเพศเช่นกัน เมื่อปฏิบัติได้ดีจึงจะอนุญาตให้มีการร่วมเพศจริงๆหลังจากมีการเล้าโลมตามวิธีที่ได้ฝึกปฏิบัติ มาจนเกิดความตื่นตัวทางเพศดีแล้ว นอกจากการฝึก sensate focus exercise แล้วการฝึกอีกอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์กับปัญหา ทางเพศทุกชนิดคือการฝึกขมิบกล้ามเนื้อหูรูด (pubococcygeal or PC muscle exercise; Kegel’s exercise) เพื่อให้กล้ามเนื้อนี้แข็งแรงซึ่งจะทำให้ช่องคลอดกระชับและ เกิดความรู้สึกดีขึ้น ส่วนในผู้ชายก็จะทำให้การแข็งตัวดีขึ้นและความรู้สึกสุดยอดรุนแรงขึ้น หลังจากได้แก้ไขความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา ฝึกหัด sensate focus exercise และฝึกขมิบกล้ามเนื้อหูรูดแล้ว จะแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามวิธีการจำเพาะในการ รักษาปัญหาทางเพศแต่ละชนิด

ความบกพร่องในการเรียนรู้  (Learning Disorder)

LD หมายถึง ความผิดปรกติในพื้นทางทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจและการใช้ภาษาทำให้บกพร่องตั้งแต่ การพูด การคิด การอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ บางครั้งเรียกว่า "เด็กเรียนยาก"หรือ Learning Difficulty เกิดความบกพร่องทางด้าน สติปัญญา อารมณ์ สังคม เด็กกลุ่มนี้จะมี IQ ปรกติ หรืออาจมากกว่าปรกติ มีสภาพร่างการปรกติแต่ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เพราะไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ลำบาก เราจึงเรียกเด็กกลุ่มนี้เรียกว่าเด็ก Learning Disabilities หรือเด็ก LD
       การแก้ไขต้องหาทางให้เด็กกลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องและไม่เป็นอุปสรรคด้วยการหาวิธีชดเชยปมด้อย ส่งเสริมปมเด่น เด็ก LD บางคนเป็นเด็กปัญญาเลิศ (Gifted) ประสบความสำเร็จสร้างความเจริญให้แก่ชาวโลก เช่น โทมัส เอดิสัน เป็นต้น
       ความบกพร่องในการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
1. ความบกพร่องด้านการอ่าน (Reading Disorder) คืออ่านหนังสือไม่ออกเลย หรืออ่านหนังสือได้ไม่เหมาะสมตามวัย เช่น สะกดไม่ถูก อ่านตกหล่น อ่านทีละตัวอักษรได้แต่ผสมคำไม่ได้ แยกแยะพยัญชนะที่คล้ายกันไม่ออก (ก - ถ - ภ) ทั้งๆที่เด็กดูมีความ ฉลาดรอบรู้ในด้านอื่นๆ ถ้ามีใครเล่าเรื่องให้ฟังจะเข้าใจดี เรียนรู้จากการเห็นภาพ และการฟัง จะทำได้ดี แต่ถ้าให้อ่านเองจะไม่ค่อยรู้เรื่อง จับใจความไม่ได้
 2. ความบกพร่องด้านการเขียน (Disorder of Written Expression) คือมีปัญหาในด้านการเขียนหนังสือ ตั้งแต่เขียนหนังสือไม่ได้ทั้งๆที่รู้ว่าอยากจะเขียนอะไร เขียนตกหล่น สลับตำแหน่ง หรือผิดตำแหน่ง เขียนไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์ ใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง เว้นวรรคตอนหรือย่อหน้าไม่ถูกต้อง จนทำให้ผู้อ่านไม่สามารถเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้ถูกต้อง
 3. ความบกพร่องด้านการคำนวณ (Mathematics Disorder) คือ มีปัญหาในด้านการคำนวณ ตามระดับความรุนแรง หลากหลายรูปแบบ เช่น มีความสับสนเกี่ยวกับเรื่องตัวเลข ไม่เข้าใจเรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ไม่สามารถแปลโจทย์ปัญหาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ มีการคำนวณที่ผิดพลาด ตกหล่นเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขเป็นประจำ
สาเหตุของภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD : Learning Disability)

เด็กแอลดี (LD : Learning Disability) หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกันโรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร พบว่ามักจะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หรือสมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ เป็นต้น
เด็กแอลดีไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ และไม่ได้พิการใดๆ ทั้งสิ้น สาเหตุจะต้องมาจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การอยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการดูแล หรือ เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน อาจเกิดจากระบบการสอนที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัย อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการเรียนได้ เช่น การเร่งให้เด็กเขียนหนังสือในขณะที่พัฒนาการกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่พร้อม เป็นต้น จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กแอลดี
โรคแอลดีเป็นโรคที่ติดตัวเด็กไปจนโต การรักษาในวัยเด็กระยะแรกจะสามารถช่วยได้ เพราะเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจประสบความสำเร็จในด้านการเรียนและด้านอื่นๆ ได้ แต่กความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นเสมือนโรคที่ซ่อนเร้น บางครั้งพบว่าเด็กไม่แสดงอาการชัดแจ้ง แต่ควรสังเกตและตรวจสอบตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่ว่าเข้าข่ายเหล่านี้หรือไม่
      • พ่อแม่ คนในครอบครัว หรือญาติผู้ใหญ่ มีประวัติเป็นแอลดี
      • แม่มีอายุน้อยมาก
      • เด็กมีน้ำหนักแรกเกิดเท่าไร น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มากไหม
      • เด็กมีภาวะความบาดเจ็บทางสมองจากการคลอดก่อนหรือหลังกำหนด
      • เด็กเคยเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะ เช่น หู ซึ่งสามารถสร้างความกระทบกระเทือนไปถึงสมองบางส่วนหรือไม่
      • เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ เช่น มลพิษจากสารตะกั่ว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสังเกตได้จากพัฒนาการของเด็กว่า เป็นไปตามปกติหรือไม่ โดยเฉพาะด้านสติปัญญาที่จะส่งผลสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านอื่นๆ เช่น
วัยอนุบาล
      • เด็กสามารถพูดคุยออกเสียงได้ชัดเจน สื่อสารได้ เข้าใจนิทานหรือเรื่องอิงจินตนาการที่พ่อแม่เล่าให้ฟัง
      • ความเข้าใจเรื่องมิติสัมพันธ์ รู้จักด้านซ้าย ด้านขวา ไม่ใส่รองเท้าสลับข้าง เขียนอักษรได้ถูกต้อง ไม่สลับทิศทาง เป็นต้น
      • การทำงานประสานกันระหว่างตาและมือ และการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
      • สามารถนับเลขจำนวนง่ายๆ ได้ เช่น นับ 1-10 ได้ เป็นต้น
วัยประถม
      • เด็กมีความสนใจหรือใส่ใจมากน้อยแค่ไหน พ่อแม่ผู้ปกครองควรดูที่โจทย์การบ้านว่ามีความยากง่ายอย่างไร แล้วเปรียบเทียบว่าเด็กใช้เวลาทำการบ้านนานเกินไปหรือไม่
      • เด็กมีความเข้าใจในบทเรียนต่างๆ มากน้อยแค่ไหน เมื่อถูกซักถาม สามารถอธิบายได้หรือไม่
      • เด็กวัยประถมควรอ่านสะกดคำได้ อ่านแล้วสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์ความเป็นมาก่อนหรือหลังได้อย่างเข้าใจ
      • มีความเข้าใจเรื่องการคิดคำนวณ บวก ลบ คูณ หารเลขลักหน่วย หลักสิบ เป็นต้น

ข้อสังเกตและอาการบ่งชี้ของภาวะความบพร่องในการเรียนรู้ (LD : Learning Disability)

เด็กแอลดีอาจแสดงออกมาเป็นความบกพร่องทางการฟัง การพูด การเขียน การคำนวณ เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนทำให้เรียนไม่ได้ตามศักยภาพที่มีอยู่ เด็กพวกนี้ถึงแม้จะเรียนพร้อมกับเด็กคนอื่น แต่ก็เรียนรู้ไม่ได้ แบ่งออกเป็น กลุ่ม ดงนี้
1. ด้านการอ่าน (Dislexia)
      • อาจจะอ่านไม่ออกหรืออ่านได้บ้าง สะกดคำไม่ถูก ผสมคำไม่ได้ สลับตัวพยัญชนะ สับสนกับการผันสระ อ่านตกหล่น ข้ามคำ อ่านไม่ได้ใจความจนถึงขั้นอ่านไม่ออกเลย
      • อ่านช้า ลำบากในการอ่าน จะต้องสะกดคำก่อนจึงจะอ่านได้
      • อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
      • อ่านเดาจากอักษรตัวแรก เช่น บาท เป็นบทที่เมื่อนั้น เป็น บัดนั้น
      • อ่านข้าม อ่านเพิ่ม อ่านสลับคำ เช่น กรน อ่านเป็น นรกกลม เป็น กมล เพราะความสามารถในการรับตัวหนังสือเข้าไปแล้วแปลเป็นตัวอักษรเสียไป
      • ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
      • อ่านแล้วจับใจความสำคัญหรือเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านไม่ได้
      • สำหรับเด็กที่มีความสามารถในการคำนวณ แต่มีปัญหาในการอ่าน ก็ไม่สามารถทำคะแนนได้ดีเวลาสอบ เนื่องจากโจทย์ที่ให้ต้องอ่านเพื่อตีความหมาย
2. ด้านการเขียนและการสะกดคำ (Disgraphia)
§  รู้ว่าจะเขียนอะไร แต่เขียนไม่ได้ เขียนตก เขียนพยัญชนะสลับกัน บางคนเขียนแบบสลับซ้ายเป็นขวาเหมือน ส่องกระจก เกิดจากมือและสายตาทำงานไม่ประสานกัน เขียนกลับหลัง เขียนพยัญชนะ สระวรรณยุกต์ สลับตำแหน่งกัน (เด็กกลุ่มนี้มักจะเริ่มสังเกตเห็นปัญหาได้ชัดเจนตอนเริ่มเข้าเรียน) เช่น ก ไก่ เขียนหันหัวไปทางขวาแทนที่จะเป็นทางซ้าย
§  ลากเส้นวนๆ ซ้ำๆ ไม่แน่ใจว่าจะเขียนหัวเข้าหรือหัวออก เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น น เป็น มภ เป็น ถด เป็น ค, bเป็น d, 6 เป็น เป็นต้น
§  เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
§  เขียนเรียงลำดับ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนทีละตัวได้
§  เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวหนังสือเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ไม่มีช่องไฟ
§  จับดินสอแน่นมาก ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายๆ ครั้ง
§  สะกดคำผิด เช่น บดบาด (บทบาท) แพด (แพทย์)
3. ด้านการคำนวณ (Discalculia) อาจจะคำนวณไม่ได้เลย หรือทำได้แต่สับสนกับตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข ไม่สามารถจับหลักการ บวก ลบ คูณ หารได้
      • เขียนตัวเลขผิด ไม่เข้าใจเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ค่าของตัวเลขหลักต่างๆ หรือไม่เข้าใจวิธีการคำนวณตัวเลข
      • นับเลขไปข้างหน้าหรือนับย้อนหลังไม่ได้
      • จำสูตรคูณไม่ได้
      • จะคำนวณเลขจากซ้ายไปขวา แทนที่จะเป็นจากขวาไปซ้าย
      • ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
      • เขียนเลขสลับตำแหน่งกัน เช่น จาก 12 เป็น 21
      • เอาตัวเลขน้อยลบออกจากตัวเลขมาก เช่น 35-8 =27 เด็กจะเอา ลบออก เพราะมองว่า เป็นเลขจำนวนน้อย แทนที่จะมองว่า เป็นตัวแทนของ 15

การวินิจฉัยทางการแพทย์ของภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD : Learning Disability)

ปัญหาบกพร่องด้านการเรียนรู้ แพทย์จะซักประวัติโดยละเอียดก่อน เพื่อตรวจสอบว่าการบกพร่องด้านการเรียนรู้นี้เป็นปัญหาที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมส่งผลต่อการเรียนหรือไม่
ปัญหาสภาวะแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเรียน
      • มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน เป็นผลทำให้ต้องขาดเรียนบ่อย เรียนไม่ทันเพื่อน
      • กินยารักษาโรคบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วง
      • ครอบครัวหย่าร้าง พ่อแม่ทะเลาะกัน ทำร้ายร่างกาย ตบตี กระทำทารุณ
      • ครูไม่เอาใจใส่เด็ก
      • ถูกเพื่อนแกล้ง
หากพบว่าการบกพร่องด้านการเรียนรู้ ไม่ได้เกิดจากปัญหาสภาวะแวดล้อมเหล่านี้ ก็จะทำการทดสอบไอคิว ถ้าผลออกมาว่า การอ่าน การเขียน การฟัง ไม่สัมพันธ์กับไอคิว เด็กอาจจะเป็นโรคแอลดี และอาจมีปัญหาที่สมองของเด็กจริง
การช่วยเหลือทางจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว
      • พ่อแม่จะต้องช่วยให้เด็กผ่านช่วงวัยเรียนไปให้ได้ เพราะเมื่อผ่านได้แล้ว เด็กไม่ได้ต้องสอบ ปัญหาต่างๆ ก็จะลดน้อยลงไปตามวัย
      • สร้างให้ช่วงวัยเรียนของเด็กมีความสุขที่สุด มีปัญหาน้อยที่สุด ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ คิดว่าตนเองมีคุณค่า นับถือตัวเอง และภาคภูมิใจในตนเอง
      • พ่อแม่ต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องของ อีคิว (EQ)มากกว่าผลการเรียนดีเลิศของเด็ก
      • พ่อแม่ต้องใจเย็น ใช้ความอดทนสูง ให้ความรักและเข้าใจเด็ก ไม่ดุด่า ไม่หยิก ไม่ตี
      • พ่อแม่ต้องไม่คาดหวังมาก สร้างให้เด็กสามารถมีชีวิตได้เองโดยลำพัง ไม่เป็นภาระของผู้อื่น สามารถอยู่ในสังคมได้
      • ปลอดภัยจากสารพิษ เล่นเด็กเล่นอยู่ในสถานที่ปลอดภัย ห่างไกลมลพิษ ไม่ให้อยู่ในสถานที่ๆ มีสารตะกั่วนานเกินไป อย่างริมถนนที่รถพลุกพล่าน ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง
      • เวลาทองของครอบครัว คุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสำคัญในการจัดสรรเวลาของครอบครัว มีกิจกรรมทำร่วมกัน เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การอ่านหนังสือ เล่านิทาน สอนให้เด็กมีทักษะการคิด การคำนวณ ขีดเขียนวาดภาพ หรือเล่นเกมสังเกตและทายสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น
      • งานบ้านฝึกสมอง ให้เด็กช่วยทำงานบ้านง่ายๆ ที่ส่งเสริมทักษะการใช้ความคิด และกระตุ้นพัฒนาการของสมองอย่างสม่ำเสมอ ช่วยจัดช้อนส้อม เก็บจานชามเข้าที่ หรือช่วยจัดโต๊ะอาหาร เป็นต้น
การช่วยเหลือทางด้านการเรียน


      • แพทย์จะประสานกับโรงเรียน แจ้งผลการตรวจแก่ครู และขอความร่วมมือในการปรับวิธีการเรียนการสอนให้เหมาะสม
      • เรียนในโรงเรียนที่ครูเข้าใจและพร้อมจะช่วยเหลือ ถือเป็นหัวใจสำคัญ หากครูเข้าใจและให้ความร่วมมือ เด็กจะรู้สึกดีต่อตัวเองและรู้ตัวว่าสามารถเรียนหนังสือได้
      • พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู จะต้องเข้าใจ พยายามช่วยเหลือเด็ก สร้างให้เด็กมั่นใจในตัวเอง รวมกลุ่ม และทำงานกับเพื่อนได้
      • การอ่าน ครูต้องช่วยอ่านโจทย์ให้ฟังเวลาสอบ เด็กจะสามารถเข้าใจและตอบข้อสอบนั้นได้
      • ปรับวิธีการสอน การอ่านคำ เช่น แทนที่จะสอนให้รู้จักการผสมคำ ต้องสอนให้ใช้วิธีจำเป็นคำๆไป
      • กระตุ้นสมองด้วยจินตนาการ ด้วยการเล่น โดยเฉพาะการเล่นจากการใช้จินตนาการ ฟังนิทาน ต่อบล็อก และอื่นๆ ที่จะให้เด็กใช้จินตนาการ หลีกเลี่ยงการให้เด็กเล่นเกม คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ เพราะจะเป็นการปิดการจินตนาการของเด็ก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น