วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559

ประเภทของความผิดปกติทางจิต (ต่อ)

กลุ่มบุคคลซึ่งถือได้ว่ามีความบกพร่องทางพฤติกรรม และพัฒนาการ (Asperger's Disorder)

หากจะกล่าวถึง แอสเพอร์เกอร์ (Asperger's Disorder)กลุ่มบุคคลซึ่งถือได้ว่ามีความบกพร่องทางพฤติกรรม และพัฒนาการ หลายคนคงยังไม่คุ้นชินกับคำนี้ซักเท่าไหร่ หากเทียบกับ ออทิสซึม หรือ ออทิสติก (Autistic Disorder) แท้จริงแล้วแอสเพอร์เกอร์ถูกจัดรวมอยู่ในกลุ่มเดียวกับออทิสติก หรือกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการแบบรอบด้าน (Pervasive Developmental Disorder -PDDs) :ซึ่งตามเกณฑ์วินิฉัยของ DSM-TV-TR กล่าวไว้ว่าประกอบไปด้วยโรคต่างๆดังต่อไปนี้
- Autistic Disorder (Autism)
- Rett's Disorder
- Childhood Disintegrative Disorder
- Asperger's Disorder
- Pervasive Development Disorser not otherwise specified
 แอสเพอร์เกอร์ ถูกรายงานเมื่อ ค.ศ. 1940 โดยนายแพทย์ ฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger) กุมารแพทย์ชาวออสเตรีย ที่พบว่าคนไข้ของเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชายมีความเฉลียวฉลาด มีระดับสติปัญญาอยุ่ในเกณฑ์ปกติ แต่กลับมีปัญหาในเรื่องของการเข้าสังคม มีพฤติกรรมหมกหมุ่น ชอบทำอะไรซ้ำซาก จำเจ ทักษะในการเข้าสังคมไม่ค่อยดีนัก แต่สามารถสนทนาสื่อสารกับผู้อื่นได้
ในปี พ.ศ. 2548 สถาบันวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่า ไอน์สไตน์ และ เซอร์ไฮเซค นิวตัน 2 นักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดัง อาจเข้าข่ายในกลุ่มอาการดังกล่าวด้วยเช่นกัน เพราะไม่ชอบการเข้าสังคม  การปฏิสัมพันธืกับผู้อื่นค่อนข้างต่ำ อีกทั้งพูดกับคนอื่นไม่ค่อยรู้เรื่อง ปัจจุบันในเชิงระบาดวิทยา พบผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์ ร่วมกับ PDDs ในอัตรา 1:1000 นับได้ว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นในด้านสาเหตุของการเกิดโรคนั้น ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ในทางการแพทย์มึผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า น่าจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ทั้งในด้านการทำงานที่ผิดปกติของสมองและระบบประสาท รวมทั้งพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม  มีผู้เชี่ยวชาญกลุ่มหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า น่าจะเกิดจากความบกพร่องของสารพันธุกรรม ซึ่งความบกพร่องทางพันธุกรรมนี้ก็ยังบอกไม่ได้อีกเหมือนกันว่า เกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่ร่น ที่ค่อยๆสะสมความผิดปกติแล้วจึงมาแสดงในรุ่นใดรุ่นหนึ่ง หรือเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่อาจยืนยันผลได้แน่ชัด ต้องใช้การศึกษาวิจัยอีกระยะหนึ่ง แต่ค่อนข้างให้น้ำหนักไปว่า ไม่น่าจะเกิดจากการเลี้ยงดู

ทั้งนี้จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ระบุว่า เด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ จะเริ่มแสดงอาการออกมาให้เห็นตั้งแต่ อายุ 3 ขวบ และจะสามารถสังเกตให้เห็นได้เด่นชัดในช่วงวัย ระหว่างอายุ 5-9 ปี โรคนี้จะไม่แสดงออกทางรูปร่างหน้าตา แต่จะแสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมที่มีความบกพร่อง 3 ด้าน คือ
1. ด้านภาษา
         - เด็กจะสามารถใช้ภาษาสื่อสารกับคนปกติได้เฉกเช่นเด็กปกติ แต่จะมีปัญหาบางในเรื่องที่เข้าใจในเรื่องที่พูด โดยเฉพาะคำพูดในเชิงเปรียบเปรย กำกวม มุขตลก คำประชดประชัน เสียดสี เด็กจะไม่ค่อยรู้สึกยินดียินร้ายกำคำเหล่านั้น เพราะเขาอาจไม่เข้าใจ ก็เป็นได้
        - จะชอบพูกเรื่องตัวเอง มากกว่าการพูดเรื่องผู้อื่น พูดในเรื่องนั้น ซ้ำๆ บ่อยๆ และใช้คำพูดที่ค่อนช้างเหมือนเดิม
       - ไม่รู้จักการทักทาย จะพูดอะไรค่อนข้างโพล่งผาง พูดโดยไม่มีการเกริ่นนำ ไม่มีที่มาที่ไป
       - มักมีปัญหาในทักษะด้านการเขียน การอ่าน และ ทักษะทางคณิศาสตร์
2. ด้านสังคม
     - ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่สนใจคนรอบข้าง
     - เข้ากับผู้อื่นไม่ค่อยได้
     -  มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับคนอื่นอย่างไม่เหมาะสมกับวัย ไม่รู้จักกาละเทศะ มารยาททางสังคมน้อย
     - เมื่อพูดกับผู้อื่นจะไม่ค่อยสบตา ไม่มองหน้า
    - ไม่แสดงออกถึงความรู้สึกอยากร่วมสนุก ไม่ยินดียินร้ายกับการเข้าร่วมงานกับผู้อื่น
   - ไม่มีอารมณ์ หรือการตอบสนองเชิงสัมพันธภาพกับผู้อื่น
   - ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เฉยชา และบางรายอาจมีพฤติกรรมสุดโต่ง หรือบางรายอาจมีความอ่อนไหวง่าย
3. ด้านพฤติกรรม
   - ชอบทำอะไรซ้ำๆ หมกมุ่น สนใจเฉพาะเรื่องที่ตนสนใจ โดยเฉพาะเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน อย่างเข่น แผนที่โลก วงจรไฟฟ้า ยี่ห้อรถ ไดโนเสาร์ ธงชาติประทศต่างๆ ดนตรีคลาสิก เป็นต้น ซึ่งถ้าเขาสนใจในเรื่องนั้นแล้ว จะสนใจอย่างเอาจริงเอาจัง และค่อนข้างรู้ลึกรู้จริง
  - เปลี่ยนแปลงความสนใจได้ง่าย ในบางรายมีความไวต่อสิ่งเร้าภายนอกค่อนข้างสูง สมาธิสั้น
 - ท่วงท่าในการเดิน งุ่มง่าม ไม่คล่องตัว
-  อาจมีการพูดหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ท่านข้าวร้านนี้แล้วไม่อร่อย เมือเด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ดังกล่าวเดินผ่านร้านนี้ ก็จะพูดออกมาโดยไม่สนใจ พูดออกมาตรงๆ ไม่อ้อมค้อม  ว่า "ข้าวร้านนี้ไม่อร่อย" เป็นต้น
                อย่างไรก็ดี เด็กที่มีภาวะของแอสเพอร์เกอร์ จะมีระดับสติปัญญาดี มีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองในเรื่องชีวิตประจำวันได้ในระดับที่น่าพอใจ เพียงแต่บางรายอาจมีสมาธิสั้น แต่โดยรวมในเรื่องสติปัญญาปกติ และ
ค่อนข้างดีกว่าปกติในบางรายด้วยซ้ำ

การประเมิน และคัดกรองโรค

                แม้จะกล่าวได้ว่าแอสเพอร์เกอร์เป็นโรคที่เป็นมาแต่กำเนิดก็ตาม แต่ในช่วงเด็กเล็กจะค่อนข้างที่จะประเมินได้ยาก อีกทั้งเป็นเรื่องยากที่พ่อแม่จะสังเกตเห็นความแตกต่างหากถ้าไม่คุ้นชิน หรือพบข้อแตกต่างที่ชัดเจน เพราะในช่วงเด็กเล็กๆ ก็ไม่มีสิ่งบ่งชี้ใดๆ เพราะแลเหมือนว่าเด็กปกติทั่วไป อาจมีเพียงข้อสงสัยบางประการที่อาจสังเกตได้เช่น เด็กไม่ค่อยอยากให้อุ้ม เด็กไม่ค่อยตอบสนอง ไม่ชอบสบตา ไม่ยิ้ม หรือแสดงทีท่าดีใจเวลามีคนมาเล่นด้วย บางครั้งพ่อแม่อาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติของเด็กบางคนที่อาจมีความแตกต่างจากเด็กอื่นในวัยเดียวกัน เว้นแต่จะเห็นความแตกต่าง หรือมองเห็นปัญหาอย่างชัดเจน และตั้งข้อสงสัยในความผิดปกตินั้นๆ จึงพามาพบแพทย์  แท้จริงแล้วเมื่อพ่อแม่พบเห็นความผิดปกติในด้านพฤติกรรม หรือมีข้อสงสัยในความผิดปกติของพัฒนาการ การนำเด็กมาขอคำปรึกษาจากแพทย์นั้น น่าจะเป็นท่าออกที่ดี เพราะแท้จริงแล้วเราสามารถพอจะคัดกรอง (screening) หรือ ให้การวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเเรกเริ่ม (early identification) ตั้งแต่ที่เราเริ่มสงสัยได้ โดยเเพทย์จะใช้วิธีการในการพิจารณาประวัติในทุกด้าน ตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ และสังเกตพฤติกกรรมบางอย่างประกอบกัน เพื่อพิจารณาว่าเข้าเกณฑ์ของแอสเพอร์เกอร์หรือไม่ประการใด เพราะหากใช่ก็จะได้รับการช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด พ่อแม่หลายคนกลัวการจะต้องรับรู้ว่าลูกเป็นอะไร จึงทำให้สูญเสียโอกาสในการให้การช่วยเหลือ ในกระบวนการประเมินเบื้องต้นนั้น เเพทย์อาจใช้วิธีการตรวจเพิ่มเติม โดยอาจไปรวมไปถึงการประเมินร่วมกับทีมสหวิชาชีพ อาทิ นักจิตวิทยาพัฒนาการ นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยหากพบความผิดปกติก็อาจประเมินให้เข้ารับการช่วยเหลือ ในด้านการฝึกสมาธิ การฝึกทักษะทางสังคม ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหย่ จากนักกิจกรรมบำบัด หรือการปรับพฤติกรรม หรือรับการกระตุ้นพัฒนาการ จากนักจิตวิทยา เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเด็ก

 หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคแอสเพอร์เกอร์

ในการวินิจฉัยโรแอสเพอร์เกอร์จะอาศัยลักษณะทางคลินิกเป็นหลัก โดยใช้หลักเกณฑ์การตรวจวินิจฉัยตามเกณฑ์ของสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder,4th edition, DSM-IV 1994) โดยมีหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคแอสเพอร์เกอร์ ไว้ดังนี้
          A. มีคุณลักษณะในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ผิดปกติ โดยแสดงออกอย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้
             1. บกพร่องอย่างชัดเจนในการใช้ท่าทางหลายอย่าง (เช่น การสบตา การแสดงสีหน้า กิริยา หรือท่าทางประกอบการเข้าสังคม)
             2. ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนในระดับที่เหมาะสมกับอายุได้
             3. ไม่แสดงความอยากเข้าร่วมสนุก ร่วมทำสิ่งที่สนใจ หรือร่วมงานให้เกิดความสำเร็จกับคนอื่น ๆ (เช่น ไม่แสดงออก ไม่เสนอความเห็น หรือไม่ชี้ว่าตนสนใจอะไร)
             4. ไม่มีอารมณ์ หรือสัมพันธภาพตอบสนองกับสังคม
          B. มีพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ซ้ำ ๆ เป็นแบบแผน โดยแสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อ ต่อไปนี้
             1. หมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำ ๆ (Stereotyped) ตั้งแต่ 1 อย่างขึ้นไป และความสนใจในสิ่งต่าง ๆ มีจำกัด ซึ่งเป็นภาวะที่ผิดปกติทั้งในแง่ของความรุนแรงหรือสิ่งที่สนใจ
             2. ติดกับกิจวัตร หรือย้ำทำกับบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีประโยชน์โดยไม่ยืดหยุ่น
             3. ทำกิริยาซ้ำ ๆ (Mannerism) (เช่น เล่นสะบัดมือ หมุน โยกตัว)
             4. สนใจหมกมุ่นกับเพียงบางส่วนของวัตถุ
          C. ความผิดปกตินี้ก่อให้กิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่น ๆ ที่สำคัญ บกพร่องอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์         
         D. ไม่พบพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า อย่างมีความสำคัญทางการแพทย์         
         E. ไม่พบพัฒนาการทางความคิดที่ช้าอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์ หรือมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง พฤติกรรมการปรับตัว และมีความอยากรู้เห็นในสิ่งรอบตัวในช่วงวัยเด็ก        
         F. ความผิดปกติไม่เข้ากับ พีดีดี ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านชนิดเฉพาะอื่น หรือโรคจิตเภท (Schizophrenia)


ภาวะติดสุรา และปัญหาสุขภาพจิตจากสุรา
(Alcohol-Related Disorder : DSM-IV-TR)

ความผิดปกติของพฤติกรรมการดื่ม (Alcohol Use Disorder) ƒ

·       ภาวะติดสุรา (Alcohol Dependence) ƒ
การติดสุรา คือสภาวะทางจิตใจซึ่งมักจะร่วมกับร่างกาย อันเป็นผลมาจากการดื่มสุรา โดยแสดงลักษณะทางพฤติกรรม หรือการตอบสนองบางอย่าง ได้แก่ การอยากดื่มซ้ำแล้วซ้ำอีกติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อให้จิตใจสบาย และบางทีเพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายกายจากการที่ไม่ได้ดื่มด้วย อาจมีการเพิ่มจำนวนสุราที่ดื่มขึ้นเรื่อยๆ หรือไม่เพิ่มก็ได้ การดื่มสุราจัดเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงแก่สุขภาพ สังคม ครอบครัว อาชีพ หรือกฎหมายของผู้ดื่ม ซึ่งเป็นสภาวะที่รักษายากหรือรักษาไม่ค่อยหาย มักเลวลงเรื่อยๆ เรื้อรัง และเป็นแล้วเป็นอีก เราเรียกสภาวะนี้ว่า สภาวะเป็นพิษจากสุรา (Alcoholism) สุรามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ethyl alcohol สูตรทางเคมีคือ C2H6Oการผลิตมักเริ่มด้วยการหมักอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ถ้าหม่กจากแป้งจะผ่านขบวนการ ๓ ขั้นตอนก่อนจะเป็นแอลกอฮอล์คือ ๑) แป้งถูกย่อยเป็นน้ำตาลมอลโตล (maltose) โดยเอนไซม์ไดแอสเทส (diastase) ๒) น้ำตาลมอลโตสถูกย่อยโดยเอนไซม์มอลเตส (maltase) จากตัวยีสต์ (yeast) ไปเป็นน้ำตาลกลูโคส (glucose) และ ๓) น้ำตาลกลูโคสถูกเปลี่ยนเป็น ethyl alcohol โดยเอน­ไซม์ไซเมส (zymase)จากตัวยีสต์ สุราที่หมักจากแป้งหรือน้ำผลไม้เรียกว่าเบียร์หรือไวน์ ซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำ เพราะในระยะหนึ่งของการหมักยีสต์จะถูกทำลาย ทำให้ขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์หยุดชะงักลง ถ้าต้องการให้ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์สูงขึ้นจะต้องนำเอามากลั่นอีกครั้ง สุราที่ได้จากการกลั่นแอลกอฮอล์นี้ ได้แก่ วิสกี้ บรั่นดี ยิน ว้อดก้า เหล้าสาเก และเหล้าโรง เป็นต้น

ประวัติการดื่มสุรา

กล่าวกันว่าสุรามีใช้ตั้งแต่สมัยหินเก่า (paleolithic- ๕๐๐,๐๐๐ ถึง ๑๐,๐๐๐ ปี ก่อนคริสตศักราช) โดยทำจากการหมักน้ำผลไม้ และใช้เป็นเครื่องดื่ม นอกจากนี้สุรายังถูกนำมาใช้ในการแพทย์และในพิธีทางศาสนามาหลายพันปี มีประวัติว่าก่อนคริสตกาลบรรพบุรุษของศาสนาคริสต์ (Noah) ก็เคยดื่มเหล้าองุ่นจนเมา สมัยอียิปต์โบราณก็มีหลักฐานว่ามีการเมาเหล้า (องุ่น) กัน และเมื่อโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา (ค.ศ. ๑๔๙๒) ก็พบว่าอเมริกันอินเดียนก็มีเบียร์ดื่มกันแล้ว นอกจากหลักฐานการเมาสุรายังมีหลักฐานการเตือนเกี่ยวกับการดื่ม เช่นในสมัยจักรพรรดิเจ็งกิสข่าน กล่าวว่า ทหารไม่ควรดื่มบ่อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง และจะดีถ้าไม่ดื่มเลย ในคัมภีร์เก่าของศาสนาคริสต์ก็ตำหนิการเมาสุรา แต่ไม่ได้ตำหนิการดื่มสุรา
ใน ค.ศ. ๘๐๐ มีการค้นพบการกลั่นสุราในอาระเบีย ซึ่งทำให้สุรามีความเข้มข้นขึ้น สุรากลั่นนี้แต่เดิมใช้ในทางการแพทย์ จนกระทั่งคริสตศตวรรษที่ ๑๗ จึงนำมาใช้ดื่มกันเพื่อความมึนเมาพิษจากสุราเริ่มถูกจัดเป็นโรคโดย Benjamin Rush แพทย์ชาวอเมริกันและ Thomas Trotter แพทย์ชาวอังกฤษเมื่อ ค.ศ. ๑๘๑๑ แต่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในหมู่แพทย์ในครึ่งหลังของคริสตศตวรรษที่ ๑๙ ตลอดจนมีการเปิดสถาบันเพื่อรักษาปัญหานี้ และในกลางคริสตศตวรรษที่ ๒๐ รัฐบาลสหรัฐได้เริ่มส่งเสริมการทำวิจัยเกี่ยวกับการติดสุรา รวมทั้งออกเงินช่วยเหลือการรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ด้วย

ระบาดวิทยา

อัตราการดื่มสุราของประชากรขึ้นกับวัฒนธรรมของแต่ละชาติชาวยุโรปโดยเฉพาะฝรั่งเศสและอิตาลีนิยมดื่มสุรา (เหล่าองุ่น) แทนน้ำ และชาวอเมริกันกว่าครึ่งดื่มสุรา แต่ในวัฒนธรรมตะวันออกดื่มน้อยกว่า ทั้งยังขึ้นกับศาสนา เช่น ชาวยิวซึ่งนับถือศาสนาฮิบรูดื่มน้อยกว่าพวกแบ๊บติสท์ (Baptists) และศาสนาอิสลามห้ามดื่มสุราเด็ดขาด ถ้าฝ่าฝืนก็มีการลงโทษผู้ดื่มสุราในที่สาธารณะเพื่อประจานด้วย นอกจากนั้นยังขึ้นกับเพศ อายุ ระดับการศึกษา และฐานะทาง เศรษฐกิจ ตลอดจนภูมิลำเนา เช่น เพศชายมีอัตราการดื่มมากกว่าเพศหญิงสัดส่วนประมาณ๕:๑ อายุที่ดื่มกันมากคือ ระหว่าง ๓๐-๕๕ ปี มักเป็นคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมและการศึกษาสูง และเป็นคนที่อยู่ในเมืองใหญ่มากกว่าชนบทและเมืองเล็ก
อัตราการดื่มสุราตามปกติ (normal drinking) ดื่มหนัก ซึ่งหมายถึงดื่มเกือบทุกวัน และเมาหลายครั้งใน ๑ เดือน และการติดสุรา มักจะไปด้วยกัน เช่น เพศชายมีอัตราการดื่มสุรามากกว่าเพศหญิง และอัตราการดื่มหนักก็มากกว่าด้วย ชาวตะวันออกซึ่งดื่มสุราน้อยกว่าชาวอเมริกันและชาวยุโรป ก็ติดสุราน้อยกว่า อย่างไรก็ตามไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป ตัวอย่างเช่น คนที่ดื่มสุรามักเป็นคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสูงและการศึกษาสูง แต่คนที่ดื่มหนักกลับเป็นพวกที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำและระดับการศึกษาต่ำ อันที่จริงแล้วการศึกษาเกี่ยวกับอัตราการติดสุราในแต่ละประเทศยังทำกันไม่เพียงพอ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังไม่ได้ตกลงกันแน่นอนถึงนิยามของปัญหานี้ ในอเมริกาและยุโรปคาดว่า มีประมาณร้อยละ ๓-๕ ของผู้ชาย และร้อยละ ๐.๑-๑ ในผู้หญิง ในบางประเทศคาดคะเนอัตราการติดสุราตามอัตราการเป็นโรคตับแข็ง และตามอัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลโรคจิตด้วยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา ประเทศฝรั่งเศสมีอัตราการป่วยด้วยโรคตับแข็งสูงที่สุดในใลก และประเทศอิตาลีก็มีอัตรารองๆ ลงมา จึงคาดว่าประเทศฝรั่งเศสและอิตาลีมีอัตราการติดสุราสูงมาก ยังไม่มีการศึกษาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเกี่ยวกับอาชีพกับการติดสุรา แต่ดูจากอัตราการเกิดโรคตับแข็งน่าจะแสดงว่าบุคคลบางอาชีพ เช่น นักผสมเหล้า นักดนฅรี และนักเขียน ติดสุรามากกว่าคนอาชีพอื่น

สาเหตุของการติดสุรา

๑. ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ จากการศึกษาพันธุกรรมของคนที่ติดสุรา พบว่ามีอัตราสูงในระหว่างญาติของคนที่ติดสุรามากกว่าประชากรทั่วไป คือพบว่าประมาณร้อยละ ๒๕ ของบิดาและพี่น้องผู้ชายของผู้ติดสุรา จะติดสุราด้วย (Goodwin ค.ศ. ๑๙๗๑) ในคู่แฝดที่มีการติดสุราอย่างมากก็พบว่า แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน ถ้าคนใคคนหนึ่งติดสุรา อีกคนจะมีโอกาสติดสุราร้อยละ ๕๐ แต่แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ ถ้าคนใดคนหนึ่งติดสุรา อีกคนจะมีโอกาสติดสุราด้วยในอัตราที่ต่ำกว่าและเท่าๆ กับอัตราที่เกิดกับพี่น้องของผู้ติดสุรา ยิ่งกว่านี้ยังพบว่าบุตรที่ขอมาเลี้ยงจากบิดามารดาที่ติดสุรา มีโอกาสติดสุราเป็น ๒ เท่าของบุตรที่ขอมาเลี้ยงจากบิดามารดาที่ไม่ติดสุรา และบุตรของผู้ที่ติดสุราแม้จะได้รับการเลี้ยงดูโดยคนที่ไม่ติดสุราก็มีโอกาสติดสุราได้เท่าๆ กับบุตรของคนที่ติดสุราซึ่งบิดามารดาเลี้ยงดูเอง (Goodwin และคณะ ค.ศ. ๑๙๗๓ และ ๑๙๗๔)
๒. ปัจจัยทางจิตใจ จากการศึกษาครอบครัวของคนที่ติดสุราพบว่า คนพวกนี้มีประวัติกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่อายุน้อย โดยบิดามารดาถึงแก่กรรมหรือหย่าขาดจากกันบ่อยกว่าคนที่ไม่ติดสุรา ในบางประเทศ ครอบครัวใหญ่ๆ ที่บิดาอายุมากและมีลูกชายมากกว่าลูกสาว ก็พบมีอัตราการติดสุรามากกว่าประชากรทั่วไป ในผู้หญิงที่แต่งงานแล้วและเริ่มต้นดื่มในวัยกลางคนอาจเป็นเพราะในวัยนี้เธอต้องเผชิญกับการจากไปของลูกๆ หรือความว้าเหว่ต่างๆ (Kolb ค.ศ. ๑๙๗๗)
การเลี้ยงดูในวัยเด็กก็พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดสุรา พบว่าคนที่ติดสุราจะได้รับการเลี้ยงดูแบบปกป้องและตามใจมากเกินไป อันทำให้เด็กมีความต้องการทางปากมากหรือติดแน่นอยู่ใน “ระยะปาก” ของการพัฒนาทางบุคลิกภาพ นอกจากนั้นการที่มโนธรรม (super-ego)ของคนคนนั้นไม่มั่นคง เนื่องจากขาดผู้ที่จะเป็นแบบอย่างสำหรับการลอกเลียนบุคลิกลกษณะ ก็พบว่ามีส่วนต่อการติดสุราเช่นกัน (Kolb ค.ศ. ๑๙๗๗) สุรามีฤทธิ์ลดความวิตกกังวลและความเศร้า เพราะฉะนั้นบุคคลที่มีปัญหาทางอารมณ์ดังกล่าวอาจถูกส่งเสริมให้ดื่มสุราบ่อย ๆ เนื่องจากความสบายใจทีได้รับขณะดื่ม นานเข้าก็เลยติดสุรา บุคลิกภาพแปรปรวนบางแบบ เช่น บุคลิกภาพแบบอันธพาล (sociopathy) พบว่ามีอัตราการติดสุราสูง โดยเฉพาะในผู้ชาย (schuckitและคณะ ค.ศ. ๑๙๖๙) พวกที่มีบุคลิกภาพ แบบชอบพึ่งผู้อื่น (dependence) และแบบ passive-aggressive ก็มักติดสุราได้ง่าย (McCord และ McCord ค.ศ. ๑๙๖๒, Jones ค.ศ. ๑๙๖๘) ในผู้หญิงการติดสุราพบร่วมกับโรค Primary affective disorders มากกว่าในผู้ชาย และในขณะมีอารมณ์เศร้า บางคนจะดื่มมากขึ้น แต่บางคนดื่มน้อยลง (schuckit และคณะ ๑๙๖๙) นอกจากนั้นยังพบว่าการติดสุราอาจเป็นอาการแสดงของโรคจิตเภทบางแบบได้
๓. ปัจจัยทางสรีรวิทยา
๓.๑ สุราเมื่อสลายตัวจะเกิดสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า acetaldchyde ซึ่งมีผลต่อการทำงานของสมองโดยทำให้เกิดการติดยา (dependence) ร่วมกับการทนยา (tolerance) ขึ้น สมมฅิฐาน อันหนึ่งที่อธิบายคือ acetaldehyde จะแข่งขันกับ aldehyde ซึ่งเป็น neurotransmitter ในสมอง ทำให้ aldehydeสะสมและรวมกับ neurotransmitter ตัวสำคัญๆ กลายเป็นสารซึ่งคล้ายอนุพันธ์ บางอย่างของมอร์ฟีนและมีฤทธิ์เสพติด คำอธิบายอีกอย่างคือ acetaldehyde เองรวมตัวโดยตรง กับ amine เป็นอนุพันธ์ของisoquinoline ซึ่งมีอิทธิพลต่อจิตใจ
๓.๒ สุรามีฤทธิ์ลดความวิตกกังวล ความตึงเครียด และความขมขื่นต่างๆ เนื่องจากสุราไปลดสารที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์เหล่านี้ เพราะฉะนั้นคนที่มีปัญหาทางอารมณ์จึงต้องการสุราบ่อยขึ้น ๆ เพื่อช่วยให้จิตใจสบาย นอกจากนั้นการดื่มสุรายังช่วยป้องกันอาการขาดสุราที่เกิดจากการหยุดดื่มด้วย เช่น อาการวิตกกังวล อาการกระหายสุรา อาการอ่อนเพลีย มือสั่น เหงื่อแตก เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน เป็นไข้ ใจสั่น ชัก ประสาทหลอน และเพ้อคลั่ง
๔. ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคม
ในสหรัฐอเมริกามีผู้พบว่าเมื่อรายได้ของประชากรเพิ่มขึ้น จำนวนสุราที่ใช้ดื่มก็เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าในระยะที่คนเรามีปัญหาทางเศรษฐกิจระยะสั้นๆ ก็ใช้สุรามากขึ้นเช่นกัน สำหรับกรณีหลังพบในคนกลุ่มน้อยที่มีโอกาสเกิดปัญหาเก็่ยวกับสุขภาพกาย สุขภาพจิต และปัญหากฎหมายได้ง่าย ประเภทของสุราที่ใช้มักเป็นสุรากลั่น (Kolb ค.ศ. ๑๙๗๗)

ผลของสุราต่อสรีรวิทยาของร่างกาย

เมื่อดื่มสุราเข้าไปสุราเกือบทั้งหมดจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก แต่การดูดซึมที่ลำไส้เล็กจะเร็วและสมบูรณ์กว่าการดูดซึมที่กระเพาะอาหาร ดังจะเห็นได้จากการดื่มสุราในระหว่างรับประทานอาหารจะเมาช้าเพราะสุราถูกดูดซึมช้า อาหารที่ทำให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะช้าลงจะทำให้เมาสุราช้า เพราะสุราจะเข้าสู่ลำไส้เล็กและถูกดูดซึมช้าลง น้ำช่วยให้การดูดซึมสุราช้าลงเช่นกันเพราะทำให้แอลกอฮอล์เจือจางลง แต่น้ำโซดาทำให้การดูดซึมสุราเร็วขึ้น เพราะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารทำให้สุราผ่านไปสู่ลำไส้เล็กได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นการดื่มวิสกี้กับโซดาจะเมาเร็วกว่าดื่มวิสกี้กับน้ำเปล่า และแชมเปญก็ทำให้เมาเร็วกว่าเหล้าองุ่นซึ่งมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์เท่ากัน สุราที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะกระจายไปตามส่วนที่เป็นน้ำของร่างกาย เพราะฉะนั้นคนที่น้ำหนักมากซึ่งมีน้ำในร่างกายมาก จึงมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในร่างกายต่ำกว่าคนที่น้ำหนักน้อย ผู้หญิงมีไขมันมากกว่าผู้ชายและมีน้ำน้อยกว่า ดังนั้นหญิงและชายที่มีน้ำหนักเท่ากัน ถ้าดื่มสุราขนาดเท่ากัน หญิงจะมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในร่างกายมากกว่าผู้ชาย แอลกอฮอล์สามารถผ่านรก เพราะฉะนั้นทารกในครรภ์ที่แม่ดื่มสุราจะได้รับสุราด้วย และอาจได้รับสุราขนาดสูงจนเป็นอันตรายต่อชีวิตของทารกได้แอลกอฮอล์จะถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกายโดยเอนไซม์ alcohol dehydrogenase และให้พลังงาน แต่แอลกอฮอล์ไม่ใช่อาหาร มันไม่ถูกเก็บสะสมในร่างกาย เพราะฉะนั้นจึงไม่ทำให้อ้วน แอลกอฮอล์ถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกายในอัตราที่ตายตัวและไม่เพิ่มอัตราตามความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือด ดังนั้นถ้าดื่มจัดหรือดื่มเร็วเกินไปร่างกายจะขับออกไม่ทัน ทำให้ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกินไปจนเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ สุรามีผลต่อสรีรวิทยาของร่างกายรวมทั้งสมอง ถ้าดื่มจัดโดยเฉพาะดื่มจัดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดพยาธิสภาพแก่ร่างกายและการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม ได้แก่
๑. สุราทำให้การทำงานของสมองผิดปกติไป เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม เช่น ทำให้ขาดการยับยั้งชั่งใจ ฮึกเหิมมีความมั่นใจในตัวเองมาก ไม่เกรงกลัวสิ่งใดๆ และขาดความละอาย หลงลืม ขาดสมาธิ ขาดความสนใจสิ่งแวดล้อม และตัดสินใจผิด นอกจากนั้นยังมีผลต่อสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้การเดินผิดปกติ เสีย coordination และกดการทำงานโดยทั่วไปของสมองทำให้ความรู้สึกต่างๆ ลดลง จึงมีผู้ใช้สำหรับลดความเจ็บปวดและทำให้หลับ ในกรณีที่ดื่มมากๆ สุราจะกดศูนย์ควบคุมการหายใจที่สมองส่วน medulla ทำให้การหายใจหยุดและถึงตายได้
๒. สุราทำให้ปัสสาวะบ่อยและกระหายน้ำ เพราะสุราไปยับยั้งการหลั่ง antidiuretic hormone จากต่อม pituitary ทั้งยังดึงน้ำจากในเซลล์ออกนอกเซลล์ ทำให้ปริมาณน้ำในร่างกาย และในเซลล์น้อยลง
๓. สุราทำให้เกิดอาการ hangover” ซึ่งประกอบด้วยอาการกระหายน้ำ ปั่นป่วนในกระเพาะอาหาร และปวดศีรษะ อาการกระหายน้ำเกิดจากสาเหตุในข้อ ๑ อาการปั่นป่วนในกระเพาะอาหารเกิดจากสุราไประคายเยื่อบุของกระเพาะ ส่วนอาการปวดศีรษะไม่น่าจะเกิดจากสุราโดยตรง แต่จาก congeners มากกว่า
๔. สุราอาจทำให้มีการตกเลือดอย่างเฉียบพลันของตับอ่อน ทำให้เกิดอาการอักเสบ ของกระเพาะอาหาร หรือเป็นแผลที่กระเพาะอาหาร และท้องเสีย เพราะฉะนั้นการย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารจะเสียไป ยิ่งกว่านั้นสุรายังมีฤทธิ์ทำลายตับเนื่องจากมีการเพิ่มไขมันในตับ และทำให้เมตาบอลิสม์ต่างๆ ที่เกิดจากตับผิดปกติไป อันเป็นผลโดยตรงจาก metabolytes บางอย่าง ของสุราที่สะสมอยู่ที่ตับและจากการที่ตับถูกทำลาย ตัวอย่างของความผิดปกติในเมตาบอลิสม์อันหนึ่งคือ pyruvate แทนที่จะเปลี่ยนเป็น glucose ก็เปลี่ยนเป็น lactate เนื่องจากในตับมีhydrogen ซึ่งเป็น metabolite ของ alcohol มากเกินไป
๕. ไตถูกรบกวนจากสุราเช่นกัน ในคนที่ดื่มสุรามากอาจจะเกิด lactic acidosis อันเป็นผลจากระดับ hydrogen ในตับสูงเกินไป สภาวะนี้จะรบกวนการขับถ่าย uric acid ของไตทำให้ระดับ uric acid ในเลือดสูงและอาการของโรค gout กำเริบขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีการขับmagnesium ออกทางปัสสาวะมากทำให้ระดับ magnesium ในเลือดต่ำ
๖. สุรามีผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ทำให้ขาดอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ของ ร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินบีโดยตรงคือสุราทำให้การดูดซึมอาหารและวิตามินต่างๆ เลวลง และโดยอ้อมคือ ผู้ที่ติดสุรามักไม่อยากรับประทานอาหาร เพราะแอลกอฮอล์มี แคลอรี่สูงอยู่แล้ว นอกจากนั้นการที่สุรารบกวนการทำงานของตับและไตก็ทำให้จำนวนสาร และแร่ธาตุบางอย่างในร่างกายผิดปกติไปด้วย

ลักษณะทางคลีนิคของการติดสุรา

ในตอนแรกผู้ดื่มทั่วไปมักจะดื่มเฉพาะตอนบ่าย ในวันหยุด และกับเพื่อน แต่เมื่อการทนสุราเพิ่มขึ้นเขาก็จะดื่มมากขึ้นและเพิ่มระยะเวลาที่ดื่มด้วย บางครั้งจะดื่มตามลำพังและมีการปิดบังแอบซ่อนขวดเหล้าหรือแอบดื่ม เพื่อไม่ให้คนรู้ว่าตนดื่มสุรา ลักษณะเช่นนี้จะทำให้เขารู้สึกผิด เสียใจ วิตกกังวล และอาจมีอาการอื่นเกิดร่วมด้วย เช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิด ใจสั่น เจ็บหน้าอก และหายใจหอบ อันทำให้เขาดื่มมากขึ้นอีกเพื่อให้ความรู้สึกดังกล่าวหายไปชั่วคราว แต่เมื่อยิ่งดื่มก็ยิ่งเศร้าและกังวล เป็นวงจรอยู่เช่นนี้ ความรู้สึกเสียใจนี้อาจจะรุนแรงในตอนเช้า เมื่อเขาขาดสุราหลายๆ ชั่วโมง ทำให้เขาต้องดื่มในตอนเช้า หรือในระยะนี้ผู้บ่วยมักจะดื่มจัดจน เกิดอาการเมา (intoxication) ในตอนเย็นบ่อยๆ ทำให้เกิดอาการ hangover ในตอนเช้า และต้องดื่มซ้ำในตอนเช้าเพื่อให้อาการหมดไป จากนั้นก็จะดื่มเรื่อยๆ ไปตลอดวัน ในระยะที่ดื่มติดต่อกันตลอดทั้งวัน ผู้ดื่มจะทำงานเลวลง ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ และขาดงานบ่อยๆ จนอาจต้องออกจากงานหรือถูกไล่ออก เมื่อเขายังดื่มมากขึ้นๆ เนื่องจากการทนต่อสุรา (tolerance) เพิ่มขึ้น สุขภาพร่างกายของเขาก็จะเสื่อมลง โดยเฉพาะรายที่เวลาดื่มแลวไม่รับประทานอาหาร และปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ของสุราก็จะตามมา คนที่ติดสุรามักจะเคยพยายามหยุดดื่ม และอาจหยุดดื่มได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่แล้วก็มักกลับมาดื่มอีกเป็นส่วนใหญ่ บางรายอาจจะพยายามหยุดหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดก็จะ รู้สึกหมดหวังเลยดื่มต่อไปเรื่อยๆ กว่าผู้ป่วยจะมาพบแพทย์หรือจิตแพทย์ก็มักจะมีปัญหาแทรกซ้อนทั้งทางร่างกายและจิตใจมากมายจนยากที่จะแก้ไข

ปัญหาแทรกซ้อนของการติดสุรา

๑. ปัญหาสมรส พบว่าคนที่ติดสุรามีอัตราการแยกหรือหย่าร้างในชีวิตสมรสสูง โดยเฉพาะในวัฒนธรรมตะวันตก สำหรับคนไทยปัญหานี้อาจไม่มากเท่า เพราะหญิงไทยที่เป็นภรรยา ดูจะทนสภาวะนี้ได้ดีกว่าชาวตะวันตก แต่อย่างไรก็ตามพบว่าครอบครัวของคนที่ติดสุรามักขาดความสุข มีปัญหาความไม่ปรองดองระหว่างคู่สมรส และปัญหาสุขภาพจิตของบุตร
๒. ปัญหาเรื่องงาน ประสิทธิภาพการทำงานของคนที่ติดสุรามักต่ำลง เช่นทำงานช้า ไม่ละเอียดลออ และผิดพลาดง่าย ทั้งความรับผิดชอบในงานก็ลดลงด้วย ทำให้เป็นที่เพ่งเล็งของผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชา เขามักไม่ได้รับการส่งสริมให้มีตำแหน่งสูงขึ้นเท่าๆ คนอื่น และถ้าประสิทธิภาพของการทำงานต่ำลงมากๆ ก็อาจถูกไล่ออกจากงานด้วย

๓. ปัญหาอุบัติเหตุ ในประเทศตะวันตก โรคสุราเป็นพิษ (Alcoholic intoxication) เป็นสาเหตุของการตายและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่สำคัญ โดยเฉพาะอุบัติเหตุทางรถยนต์ มีผู้
พบว่าคนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์จำนวนมากมีแอลกอฮอล์ในเลือดลงกว่า ๐.๑ เปอร์เซ็นต์ จำนวนแอลกอฮอล์ในเลือด ๘๐ มิลลิกรัมต่อเลือด ๑๐๐ มิลลิลิตรจะทำให้การปรับสายตาต่อความมืดเสีย รวมทั้งการตัดสินใจเกี่ยวกับการแซง เกี่ยวกับการเข้าใจความหมายของสัญญาณไฟระวัง การเข้าใจสิ่งเร้าหลายๆ อย่างที่เข้ามาในขณะเดียวกัน และสมาธิในการขับรถนานๆ ก็จะเลวลงด้วย ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุจะเพิ่มขึ้นเมื่อจำนวนแอลกอฮอล์ในเลือดอยู่ระหว่าง ๕๐-๑๐๐ มิลลิกรัมต่อเลือด ๑๐๐ มิลลิลิตร และในระดับ ๑๐๐ มิลลิกรัมต่อเลือด ๑๐๐ มิลลิลิตร อัตราการเกิดอุบัติเหตุ จะสูงเป็น ๑๐ เท่าของคนที่ไม่ดื่ม
๔. ปัญหาอาชญากรรม สมัยก่อนกล่าวกันว่าส่วนใหญ่ของผู้ที่ก่ออาชญากรรมติดสุรา แต่ปัจจุบันพบว่าการติดสุราและอาชญากรรมมีสาเหตุทางสังคมและจิตวิทยาคล้ายๆ กัน พวกที่มีอารมณ์ไม่มั่นคงและพวกที่เข้ากับคนอื่นลำบาก จะแสดงลักษณะได้ทั้งการทำผิดกฎหมายซ้ำแล้วซ้ำเล่าและการติดสุรา เพราะฉะนั้นการติดสุราและอาชญากรรมจึงน่าจะมีสาเหตุเหมือนๆ กัน มากกว่าจะเป็นเหตุและผลของกันและกัน (Kolb ค.ศ. ๑๙๗๗)
๕. ปัญหาการฆ่าตัวตาย การฆ่าตัวตายพบบ่อยในคนที่ติดสุรา ส่วนใหญ่ของคนพวกนี้มีอารมณ์เศร้าร่วมกับการติดสุรามานาน และมักจะฆ่าตัวตายหลังดื่มจัดอยู่หลายสัปดาห์ หลังการพยายามฆ่าตัวตายหลายคนจะเศร้า รู้สึกผิด หรือรู้สึกละอายน้อยลง จากการศึกษาของ Barra- clough และคณะ (ค.ศ. ๑๙๗๔) พบว่าร้อยละ ๘๐ ของคนพวกนี้จะดื่มจัดจนกระทั่งเกิดปัญหาทางร่างกาย จิตใจ และหมดความสามารถทางสังคม ร้อยละ ๙๓ จะมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณของการดื่มในระยะใกล้ๆ กับการพยายามฆ่าตัวตาย คือดื่มมากขึ้นหรือน้อยลง และร้อยละ ๘๗ ดื่มจัดมานานระหว่าง ๑๐-๓๙ ปี
๖. ปัญหาสุขภาพ  เนื่องจากสุรามีผลโดยตรงต่อการทำงานของร่างกาย จึงอาจเกิดความผิดปกติได้ถ้าดื่มจัดหรือดื่มจัดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากสุราแบ่ง
ได้เป็น ๓ พวกคือ
๖.๑ ผลเฉียบพลันที่เกิดจากการดื่มหนัก ได้แก่
ก. การตาย การดื่มสุราจัดมากๆ อาจทำให้ตายได้ เพราะสุรากดศูนย์หายใจที่สมองส่วน medulla
ข. Acute hemorrhagic pancreatitis


๖.๒ ผลเรื้อรังที่เกิดจากการดื่มหนักเป็นระยะเวลานานก. กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) และท้องเสียพบได้บ่อย แต่รักษาหายได้
ข. โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer)
ค. โรคของตับ เช่นตับอักเสบ (Hepatitis) ตับแข็ง (cirrhosis)
ง. โรคของระบบประสาท ได้แก่ Wernike-Korsakov’s syndrome, Peripheral neuropathy, Retrobulbar neuropathy และ Anterior lobe cerebellar degeneration ในจำพวกโรกดังกล่าว peripheral neuropathy พบบ่อยที่สุด เกิดจากการขาดวิตามินหลายตัว และมักจะรักษาหายถ้าได้รับอาหารพอเพียง สำหรับ Wernicke-Korsakov’s syndrome เป็นผลมาจากการขาดวิตามินบี B (thiamine)
จ. โรคของกล้ามเนื้อ ได้แก่ Cardiomyopathy, Myopathx
ฉ. โรคของโลหิต ได้แก่ thrombocytopenia, anemia
ช. โรคอื่น ๆ ได้แก่ ความดันโลหิฅสูงชนิดที่ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงง่าย และวัณโรคปอด
๖.๓ ผลที่เกิดจากการหยุดดื่มสุรา การดื่มจัดเป็นระยะเวลานานๆ เมื่อหยุดดื่มมัก จะมีอาการของการขาดสุรา เช่นโรค Delirium tremens ซึ่งมักจะเกิดใน ๒-๓ วัน หลังหยุดดื่ม และหายไปภายใน ๑-๕ วัน กับโรค Alcoholic hallucinosis.. .ซึ่งมักจะเกิดหลังจากอาการขาดสุราอื่นๆ หายดีหมดแล้ว

การวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค

การวินิจฉัยการติดสุรานั้นไม่ยาก เพราะมักจะวินิจฉัยได้ตั้งแต่ซักประวัติแล้ว แต่ที่เป็นปัญหาคือการวินิจฉัยอาการที่เกิดร่วมกับสุรา เช่น
๑. ถ้าผู้ป่วยดื่มสุราจัดและไม่รับประทานอาหารก็อาจเกิดสภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ได้ง่าย ซึ่งมีลักษณะคล้ายอาการขาดสุรา
๒. คนที่ดื่มสุราจัดมักมีปัญหาเกี่ยวกับตับ ได้แก่ตับอักเสบ (Alcoholic hepatitis) ตับแข็ง (cirrhosis) และการทำงานของตับล้มเหลว (Hepatic failure) สภาวะหลังอาจให้อาการคล้ายโรคทางสมองจากพิษของสุรา ที่เรียก Delerium tremens
๓. ผู้ป่วยที่ดื่มสุราจัดนานๆ อาจเกิดโรค Alcoholic hallucinosis ซึ่งมีอาการคล้ายโรคจิตเภทแบบหวาดระแวง ทำให้แยกยากเพราะผู้ป่วยโรคจิตเภทบางคนอาจไม่แสดงอาการ นอกจากจะถูกกระตุ้นด้วยสุรา
๔. ในคนติดสุราที่อายุมากๆ (เกิน ๖๐ ปี) ถ้ามีการเสื่อมของเชาน์ปัญญาเนื่องจากพิษของสุรา จะเป็นปัญหาในการแยกจากโรคหลงในวัยชรา (senile dementia) และโรค Cerebral artereosclerosis
นอกจากนั้นคนที่ติดสุรามักจะใช้หรือติดยาอย่างอื่นด้วย เช่น barbiturates, ampheta­mines ฯลฯ ซึ่งอาจจะแยกได้ยากว่าอาการนั้นเกิดจากสุราหรือจากยาอื่น

การรักษา

การรักษาปัญหาการติดสุรา ต้องรักษา ๒ สภาวะ
๑. รักษาสภาวะขาดสุรา คือการรักษาอาการขาดสุราซึ่งมักจะเกิดอยู่เพียงไม่กี่วัน ได้แก่ อาการนอนไม่หลับ หงุดหงิด กระสับกระส่าย และอาการสั่น เป็นต้น โดย
ก. ยา เพื่อลดอาการสั่น หงุดหงิด และนอนไม่หลับ ปัจจุบันนิยมใช้ยากล่อมประสาทอย่างอ่อนได้แก่ ยากลุ่มbenzodiazepines เช่น diazepam และ chlordiazepoxide ทั้งนี้ เพราะยาจำพวกนี้เสริมฤทธิ์กับสุราน้อยกว่าพวก barbiturates และ paraldehyde ทั้งยังมีโอกาสเสพติดน้อยกว่าด้วย สำหรับยารักษาโรคจิต (antipsychotics) มีหลักฐานบางอย่างแสดงว่าอาจเป็นอันตรายถึงตายจากความดันโลหิตต่ำและHepatic encephalopathy
ข. วิตามินในขนาดสูง โดยเฉพาะวิตามินบี เพื่อป้องกัน Peripheral neuropathy และWernicke-Korsakov’s syndrome
ค. น้ำ การให้น้ำทางเส้นโลหิตดำ อาจไม่จำเป็นทุกราย ให้เฉพาะรายที่มีอาการแสดงของการขาดน้ำ หรือรายที่อาเจียนหรือท้องเสีย
ง. ระยะแรกๆ ที่หยุดสุราผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจหอบ (hyperventilation) ทำให้เกิดrespiratory alkalosis และมี hypomagnesemia ร่วมด้วย ซึ่งมีผู้รายงานว่าทำให้เกิดอาการ ชัก ในรายที่มีประวัติการชักเวลาหยุดสุราอาจต้องให้ diphenylhydantion (Dilantin) แม้จะไม่มีหลักฐานว่าป้องกันการชักจากการขาดสุราได้
จ. ถ้ามีอาการ delirium อาจเป็นอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเองและผู้อื่น จำเป็นต้องรีบรักษา หรือรับไว้ในโรงพยาบาล ให้ผู้ป่วยสงบโดยยากล่อมประสาท และในบางกรณีอาจจำเป็นต้องจับมัด แต่ที่สำคัญกว่าคือถ้ามีอาการ delirium จำเป็นต้องตรวจร่างกายใหม่ เพื่อแยกโรคทางกายที่ร้ายแรงออกไปก่อน
ฉ. รักษาปัญหาแทรกซ้อนทางกาย ที่พบบ่อยคือโรคปอคบวม(pneumonia) ตับอักเสบ และโรคขาดอาหาร
๒. รักษาการติดสุรา เริ่มเมื่ออาการขาดสุราหมดไปแล้ว การรักษาสภาวะนี้จำเป็นต้องตั้งเป้าหมาย
ก. ให้หยุดดื่มตลอดไป การให้ผู้ป่วยหยุดดื่มตลอดไป หรือหยุดดื่มเป็นระยะเวลานานๆ นั้นเป็นเรื่องยากมาก และในปัจจุบันยังนับว่าล้มเหลว ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหยุดดื่มได้ชั่วระยะเวลาไม่นานแล้วก็กลับไปดื่มอีก เป็นเช่นนี้หลายครั้งจนผู้ป่วยเองก็สิ้นหวังที่จะหาย และแพทย์ผู้รักษาเองก็โกรธและเบื่อที่จะดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ การรักษาในปัจจุบันที่ทำกันมีหลายวิธี แต่ยังไม่พบว่าวิธีใดจะได้ผลดีหรือดีกว่ากัน ได้แก่
๑. จิตบำบัด
๒. การให้ยากล่อมประสาทและยาแก้อารมณ์เศร้า
๓. พฤติกรรมบำบัด ชนิด Aversive conditioning โดยใช้ apomorphine, succinyl- choline, disulfiram (Antabuse) หรือการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าให้เจ็บร่วมกับการดื่มสุรา
๔. การเข้าร่วมประชุมกลุ่มผู้ติดสุรา เป็นวิธีการหนึ่งที่แพทย์สนับสนุนผู้ป่วยในสหรัฐอเมริกา กลุ่มผู้ติดสุรานี้เรียกว่า Alcoholic Anonymous หรือ AA

           ข. การรักษาปัญหาทางจิตเวชที่เกิดร่วมกับการติดสุรา เช่น Alcoholic jealousy, Korsakovs psychosis, Alcoholic dementia เป็นต้น

การพยากรณ์โรค

ส่วนใหญ่การพยากรณ์โรคไม่ดี ผู้ป่วยมักจะเลิกดื่มได้ชั่วระยะหนึ่งแล้วกลับไปดื่มอีก ในปัจจุบันยังไม่มีคำนิยามที่แน่นอนของการ “หาย” จากการติดสุรา โดยทั่วไปถือว่าต้องหยุดดื่มตลอดไป การดื่มบ้างเป็นครั้งเป็นคราวก็ยังไม่ถือว่าหาย เพราะฉะนั้นจึงหาคนที่จะหายจากสภาวะนี้ได้ยาก อย่างไรก็ดีถ้าจะอนุโลมให้การดื่มเป็นครั้งเป็นคราวถือว่าหายก็ยังเป็นเรื่องที่กล่าวได้ลำบาก เพราะผู้ติดสุราส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นการติดสุราใหม่ด้วยการดื่มทีละน้อยเป็นครั้ง
ความผิดปกติทางพฤติกรรมและจิตใจที่เกิดจากสุรา (Alcohol Induced Disorder)
โรคทางกายที่สัมพันธ์กับสุรา (Alcohol Related Physical Illness)


โรคแพนิค (panic disorder)

                โรคแพนิค หรือ panic disorder จัดเป็นภาวะทางจิตเวชที่พบได้บ่อยเป็นลำดับต้นๆ
แต่ปัญหาโรคแพนิคก็คือ มันไม่มีชื่อภาษาไทยอย่างเป็นทางการจึงมีการเรียกชื่อไปหลายๆ แบบ เช่น“โรคตื่นตระหนก” “โรคหัวใจอ่อน” “โรคประสาท(ลง)หัวใจ” “โรคใจบ่ดี (ภาษาเหนือ)”
 เป็นต้น 


ระบาดวิทยา

     * พบได้ร้อยละ 2-5 ในประชากรทั่วไป โดยส่วนใหญ่มักจะพบในช่วงวัยรุ่นจนถึงผู้ใหญ่ตอนต้น
     * พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2.3 เท่า

สาเหตุ

        โรคแพนิคเป็นผลจากทั้งปัจจัยทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยปัจจัยทางด้านร่างกายพบว่า เกิดจากความผิดปกติของระดับสารสื่อประสาท ได้แก่ norepinephrine และ serotonin ในระบบประสาท รวมทั้งพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของพันธุกรรม ส่วนสาเหตุทางด้านจิตใจมักพบว่า สัมพันธ์กับเรื่องของความวิตกกังวล (anxiety) โดยเฉพาะความวิตกกังวลจากการแยกจากคนสำคัญ (separation anxiety) โดยผู้ป่วยแต่ละรายก็จะให้น้ำหนักความสำคัญของแต่ละปัจจัยแตกต่างกันไป เช่น บางรายอาจจะไม่มีความกังวลใดๆ เลย แต่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นหลายคน ก็อาจจะมีอาการได้ เป็นต้น

ลักษณะอาการ

     ลักษณะอาการของโรคแพนิคคือ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก รู้สึกหายใจขัด เวียนหัว (หรือรู้สึกว่าหัวเบาๆ) ถ้าอาการมากๆ จะมีเหงื่อแตก มือเย็นเท้าเย็น (หรือชา) ด้วย โดยอาการจะเป็นขึ้นมาแบบทันทีทันใด ชนิดอยู่ดีๆ ก็เป็นขึ้นมา และจะเป็นมากอยู่ประมาณ 10-15 นาที จากนั้นก็จะค่อยๆ ดีขึ้น และมักจะหายไปในเวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมง ด้วยอาการที่จะเป็นแบบทันทีและรุนแรงนี่เอง ทำให้ผู้ป่วยหลายๆ คนตกใจกลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจ หรือเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ หรือกลัวว่าจะตายได้ โดยผู้ป่วยจะมีอาการแบบนี้ซ้ำๆ กันหลายครั้ง บางคนอาจเป็น 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนบางคนที่เป็นมากอาจจะเป็นวันละหลายๆ ครั้ง ซึ่งผลจากการที่มีอาการแบบนี้บ่อยๆ จึงทำให้มีผู้ป่วยหลายคนเกิดความกังวลตามมา เช่น กังวลว่าจะมีอาการขึ้นมา

อาการของโรคแพนิค

จะสามารถเกิดขึ้นที่ไหนหรือเมื่อไรก็ได้ ไม่สามารถคาดเดาได้ แต่ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจจะเชื่อมโยงอาการกับสถานที่หรือกิจกรรมบางอย่าง ทำให้ไม่กล้าทำกิจกรรมนั้น หรือไปในสถานที่ที่เคยเกิดอาการ ยกตัวอย่างเช่น บางคนไม่กล้าออกไปไหนข้างนอกคนเดียว เพราะเคยมีอาการตอนออกไปนอกบ้าน จึงกลัวว่าหากเป็นอีกจะไม่มีใครช่วย หรือบางคนไม่กล้านั่ง(ขับ)รถ เพราะครั้งแรกที่มีอาการแพนิคเป็นตอนนั่งรถ เป็นต้น
               ผู้ป่วยส่วนใหญ่ เวลาที่เกิดอาการแพนิคครั้งแรกๆ มักจะไปโรงพยาบาล โดยมากแล้วมักเป็นห้องฉุกเฉิน ซึ่งแพทย์ก็จะตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ (ซึ่งถูกต้องแล้ว เพราะโรคแพนิคไม่ใช่โรคหัวใจ) แพทย์จึงอาจจะสรุปไปว่าเกิดจากความเครียด กังวล หรือบางทีก็บอกว่าเป็นโรคประสาทหัวใจ หัวใจอ่อน (ซึ่งฟังแล้วงงกว่าเดิมว่าคืออะไร?) ทำให้พบว่ากว่าจะได้มาพบจิตแพทย์ ผู้ป่วยหลายคนเคยไปรักษาที่ห้องฉุกเฉินมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3-4 ครั้ง และไปตรวจทางด้านโรคหัวใจอีกหลายครั้ง จึงไม่แปลกที่ที่โรงพยาบาลของผู้เขียน เกือบร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคแพนิคจะถูกส่งต่อมาจากแผนกโรคหัวใจอีกที ใกล้เคียงกับผลการศึกษาวิจัยหลายๆ ชิ้นที่พบว่า ร้อยละ 40-50 ของผู้ป่วยโรคแพนิคจะเคยไปรับการตรวจรักษาที่แผนกอื่นมาแล้วหลายครั้งทั้งสิ้น (กว่าจะได้มารักษาถูกแผนก)

การตรวจเพิ่มเติม

               โดยทั่วไปแล้วหากมีอาการแบบโรคแพนิคนี้ แพทย์อาจจะให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)เพื่อดูว่ามีเรื่องหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่ เพราะอาจจะมีอาการคล้ายภาวะแพนิคได้ กับตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ (thyroid hormone) เนื่องจากโรคไทรอยด์เป็นพิษก็อาจจะแสดงอาการคล้าย ๆ กับโรคแพนิคได้เช่นกัน 

การรักษา

                 เวลาที่มีอาการแพนิค (อาการใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจขัด และอื่นๆ นั่นแหละครับ) สิ่งแรกที่ควรทำคือนั่งพัก จากนั้นให้หายใจเข้าออกช้าๆ เหมือนเวลานั่งสมาธิ เพราะว่าหากยิ่งหายใจเร็ว (หายใจสั้น แต่ถี่) จะยิ่งทำให้อาการที่เป็นรุนแรงมากขึ้น โดยทั่วไปถ้าสามารถควบคุมการหายใจได้ (หายใจเข้าออกช้าๆ ยาวๆ) ไม่เกิน 15-20 นาที อาการก็มักจะดีขึ้นเอง ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจจะให้ยาสำหรับรับประทานเวลาที่มีอาการมาด้วย ก็สามารถกินยาไปด้วยได้

การรักษาโดยการใช้ยา

โดยทั่วไปแล้วยาที่แพทย์ให้จะมี 2 กลุ่มหลักๆ คือ
     * ยาเพื่อลดอาการ
     ยากลุ่มนี้จะรับประทานเพื่อลดอาการขณะที่เป็น โดยมากแพทย์มักจะให้มารับประทานในช่วงระยะแรกๆ ที่มารับการรักษา เนื่องจากยาที่ป้องกันไม่ให้เป็น (ยาข้อถัดไป) ยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ แต่ยาเพื่อลดอาการจะเป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว จึงให้รับประทานในเวลาที่มีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจขัด เพื่อช่วยลดอาการเหล่านี้ และทำให้อาการหายไป (หรือพูดง่ายๆ คือยาในกลุ่มนี้ให้รับประทานเฉพาะเวลามีอาการ ถ้าไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องรับประทาน) ยาที่นิยมใช้ในกลุ่มนี้ได้แก่ Alprazolam และClonazepam

     * ยาเพื่อป้องกันและรักษา
     ยาในกลุ่มนี้ถือเป็นยาตัวหลักที่ใช้ในการรักษา ยาจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็น ทำให้ความถี่ในการเกิดอาการแพนิคเป็นน้อยลง และอาการไม่รุนแรงมาก จนค่อยๆ หายไป รวมทั้งช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ แต่ยาในกลุ่มนี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ถึงจะเริ่มเห็นผล ดังนั้นในอาทิตย์แรกๆ จะยังไม่เห็นผลชัดเจนนัก แพทย์จึงมักให้รับประทานยาเพื่อลดอาการไปด้วย
      ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยารักษาซึมเศร้า (antidepressant) ซึ่งมีหลายตัว เช่น fluoxetine หรือ sertralineเป็นต้น
      โดยทั่วไปแล้ว ยาเพื่อป้องกันนี้แนะนำให้รับประทานอย่างน้อย 8 เดือน แม้ว่าเมื่อรักษาไปสักเดือนสองเดือนผู้ป่วยอาจจะไม่ค่อยมีอาการแล้วก็ตาม แต่ควรรับประทานยาต่อให้ครบ เพราะจากการศึกษาพบว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยหยุดยาเร็ว มักมีอาการกลับมาเป็นซ้ำได้บ่อย


โรคกลัวที่โล่ง(Agoraphobia)

จัดอยุ่ในกลุ่ม โรควิตกกังวลชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากความกลัวที่จะเกิดอาการตื่นตระหนก (panic attack) ในสถานที่ที่หนีออกไปลำบาก  หรือไม่มีคนช่วยเหลือ

สาเหตุของการเกิดโรค

                 อาการกลัวที่โล่งยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด คาดว่าอาการกลัวที่โล่งเกี่ยวข้องกับอาการวิตกกังวลอื่นๆสภาพแวดล้อมที่เคร่งเครียดและการใช้สารเสพติด อาการนี้พบมากในเพศหญิง  การใช้ยากดประสาทและยานอนหลับ เช่น เบนโซไดอะซีพีน (benzodiazepines) อย่างต่อเนื่อง จัดเป็นเหตุให้เกิดอาการกลัวที่โล่งเพราะการหยุดใช้ยาและการรักษาอาการติดยาดังกล่าว ทำให้อาการกลัวที่โล่งทุเลาลง งานวิจัยยังได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างอาการกลัวที่โล่งและความลำบากในการรับรู้เชิงสถานที่ (spatial orientation)  คนปกติสามารถรักษาสมดุลของข้อมูลรวมจากระบบการรักษาสมดุล (vestibular system) ระบบการรับภาพ (visual system) และการรับรู้อากัปกิริยา (proprioception) แต่ในผู้ที่มีอาการกลัวที่โล่งจะพึ่งพาระบบการรับภาพและการรับรู้อากัปกิริยามากขึ้นเพราะระบบการรักษาสมดุลทำหน้าที่ลดลง ทำให้เสียการรับรู้ได้ง่ายเมื่อการมองเห็นกระจัดกระจาย เช่น ในที่โล่งแจ้งหรือท่ามกลางฝูงชน และอาจจะมีอาการสับสนเมื่อประสบกับความลาดเอียงหรือพื้นผิวที่ไม่สม่ำเสมอเช่นเดียวกัน ในการศึกษาความจริงเสมือน (virtual reality) ผู้กลัวที่โล่งโดยเฉลี่ยสามารถจัดการข้อมูลภาพและเสียงที่เปลี่ยนไปได้แย่กว่ากลุ่มควบคุม

อาการ

             วิตกกังวลนี้มักจะประกอบด้วยความกลัวการขายหน้าต่อประชุมชน เพราะอาการกลัวที่โล่งเป็นอาการนำของอาการตื่นตระหนกที่ทำให้ผู้ป่วยคลุ้มคลั่งต่อหน้าผู้อื่น ผู้ที่มีอาการกลัวที่โล่งจะมีอาการตื่นตระหนกในสถานการณ์ที่ตนเองอึดอัด รู้สึกไม่ปลอดภัย ควบคุมไม่ได้ หรือห่างไกลจากสิ่งที่สามารถช่วยเหลือเขาได้ ในรายที่มีอาการมากจะอยู่แต่กับบ้านไม่ออกไปไหนเป็นปีๆ ผู้มีอาการจำนวนมากชอบที่จะมีผู้มาเยี่ยมอยู่ในบริเวณที่พวกเขาควบคุมได้และ ชอบที่จะทำงานในที่ๆรู้สึกว่าปลอดภัย ถ้าผู้กลัวที่โล่งออกไปจากเขตปลอดภัยของตน อาจจะเกิดอาการตื่นตระหนกได้ ความชุกของอาการกลัวที่โล่งในสหรัฐอเมริกาคือประมาณร้อยละ 5 ต่อปี

วิธีการรักษา

         คือการทำจิตบำบัดแบบประคับประคองโดยให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความกังวล ความคับข้องใจ ความรู้สึกอับอาย โดยไม่ถูกตำหนิ อาจมีการชี้แนะให้ผู้ป่วยได้เห็นมุมมองอื่นที่ต่างไปจากที่ผู้ป่วยคิดเองคนเดียว ซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วยมีการปรับตัวที่ดีขึ้น สามารถทำได้โดยให้ผู้ป่วยเข้าไปเผชิญกับสิ่งที่ตนกลัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป (graded exposure) จนผู้ป่วยเกิดความชินชากับสิ่งนั้นเช่นในผู้ป่วยที่กลัวความสูงเราอาจให้ผู้ป่วยขึ้นไปนั่งริมระเบียงชั้น 2 วันละ 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเกิดอาการกลัว เมื่อเริ่มไปนั่งแต่อาจจะกลัวไม่มากนักเพราะอยู่แค่ชั้น 2 ความกลัวจะค่อยๆลดลงเมื่อเวลาผ่านไป และแทบจะไม่กลัวเลยเมื่อหมดเวลา 1 ชั่วโมง วันต่อมาให้ทำแบบเดิมอีกผู้ป่วยก็จะกลัวอีกเมื่อเริ่มออกมานั่งแต่จะกลัวน้อยกว่าและจะหายเร็วกว่าเมื่อวาน ทำทุกวันจนผู้ป่วยหายกลัวความสูงระดับชั้น 2 ก็ให้ขึ้นไปทำแบบเดียวกันกับชั้น 3 และเลื่อนชั้นไปเรื่อยๆจนถึงระดับที่ผู้ป่วยพอใจ
ชื่อยา  ในรายที่เป็น social phobia, generalized type (กลัวหลายๆสถานการณ์) ที่ไม่สามารถทำการรักษาแบบที่กล่าวมาเราอาจรักษาด้วยยาSSRIs (sepecific-serotonin reuptake inhibitors ) ในรายที่เป็น social phobia, performance type (กลัวเฉพาะการต้องทำอะไรต่อหน้าคนอื่น) เราอาจรักษาด้วยยา betablocker ได้
 SSRIs (sepecific-serotonin reuptake inhibitors )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น